4 จี กับอนาคตของโลก (ตอน 1)แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

เวลาที่คนส่วนใหญ่พูดถึง 3 จี หรือ 4 จี มักจะลืมไปว่า ชื่อที่ถูกต้องของมันคือ 3G+LTE กับ 4G+LTE


เวลาที่คนส่วนใหญ่พูดถึง 3 จี หรือ 4 จี มักจะลืมไปว่า ชื่อที่ถูกต้องของมันคือ 3G+LTE กับ 4G+LTE

ความเข้าใจไขว้เขวนี้ ไม่ควรจะดำเนินต่อไป หากเราต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง เพื่อจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของอนาคต

ก่อนอื่น ต้องมุ่งไปที่ LTE ซึ่งเป็นแกนกลางของเทคโนโลยี

LTE เป็นเส้นทางพัฒนาตามธรรมชาติสำหรับโทรคมนาคมไร้สาย ที่มีทั้งเครือข่าย GSM/UMTS และเครือข่าย CDMA2000 แบนด์

ความถี่ของ LTE ที่แตกต่างกันตามการใช้ในแต่ละประเทศย่อมหมายถึงว่า โทรศัพท์ที่มีหลายคลื่นความถี่เท่านั้น จึงจะสามารถใช้ LTE ในแต่ละประเทศที่มีใช้ได้

แม้การทำตลาดของผู้ประกอบการ LTE ปัจจุบัน จะยังคงมีปัญหาขาดมาตรฐานชัดเจนที่กำหนดโดย องค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU แต่แรงกดดันด้านการตลาดและมีความก้าวหน้าที่สำคัญซึ่ง WiMAX, Evolved HSPA และ LTE นำมาให้กับเทคโนโลยี 3 จี เดิม  ทำให้ต่อมา ITU ยอมรับว่า LTE สามารถเรียกว่าเทคโนโลยี 4G ได้ และได้กำหนดนิยามให้มันว่าเป็นๆ “4 จี อย่างแท้จริง”

LTE ย่อมาจากคำว่า Long Term Evolution สถาบัน ETSI (European Telecommunications Standards Institute) เป็นเจ้าของทะเบียนการค้าเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลไร้สายและการพัฒนามาตรฐาน GSM/UMTS เป้าหมายของ LTE ก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเร็วของเครือข่ายข้อมูลไร้สายที่ใช้โมดูลและเทคนิคใหม่ เพื่อออกแบบใหม่และลดเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลลง ในกรณีที่เทคโนโลยี  3 จี เข้ากันไม่ได้กับเครือข่าย 2 จี 

บริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่นเป็นผู้เสนอเทคโนโลยี LTE เป็นรายแรกเมื่อปี 2547 และเริ่มตั้งพันธมิตรที่เป็นผู้ประกอบการทั่วโลก เพื่อตรวจสอบและส่งเสริมมาตรฐานใหม่ จนได้ข้อสรุปมาตรฐาน LTE ในเดือนธันวาคม 2551 และเปิดตัวบริการเป็นครั้งแรกในกรุงออสโลและสตอกโฮล์ม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2552

จากนั้น การนำเสนอ LTE เชิงพาณิชย์ก็แพร่กระจายเหมือนไฟลามทุ่ง รวมทั้งการผลิตเครื่องลูกข่ายรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มโดยกลุ่ม Samsung ในปลายปี  2553 ตามมาด้วยรายอื่นๆ จนในที่สุด  วิวัฒนาการของ LTE คือ LTE Advenced จึงกลายเป็นมาตรฐานในเดือนมีนาคม 2554 และเริ่มให้บริการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ในปี 2556

คุณสมบัติเฉพาะของ LTE คือ อัตราดาวลิงค์สูงสุด 300 Mbit/s, อัตราอัพลิงค์สูงสุด 75 Mbit/s และมี QoS ที่ทำให้ระยะเวลาในการโอนข้อมูลต่ำกว่า 5 นาทีในเครือข่าย radio access   ไม่นับความสามารถเชิงเทคนิคอื่นๆ

จาก 3 G+LTE พัฒนามาสู่ 4G+LTE ที่ถูกออกแบบมาทดแทน เครือข่ายโทรคมนาคมเก่าๆ รวมทั้งช่วยให้ไม่มีรอยกระตุกในการส่งทั้งเสียงและข้อมูลไปยังเครื่องลูกข่ายที่ยังใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเก่าอยู่ด้วย อย่างเช่น GSM, UMTS และ CDMA2000  ทำให้ค่าการดำเนินงานต่ำ

เป็นเหตุผลว่า เหตุใด 4G+LTE จึงกลายเป็นคำตอบของอนาคตโทรคมนาคมในยุคดิจิตอลครองโลก

                                (ยังมีแฉต่อ)

……………..

            กลุ่มประเทศที่มีการใช้ LTE 4G ซึ่งวัดโดย OpenSignal.com ในเดือนมิถุนายน 2558

 

อันดับ     ประเทศ                        ความหนาแน่น

 

 

 

1

 เกาหลีใต้

97.0%

2

 ญี่ปุ่น

90.0%

3

 ฮ่องกง

86.0%

4

 คูเวต

86.0%

5

 สิงคโปร์

84.0%

6

 อุรุกวัย

84.0%

7

 คาซัคสถาน

81.0%

8

 เนเธอร์แลนด์

80.0%

9

 บาห์เรน

79.0%

10

 สหรัฐ

78.0%

11

        สวีเดน

78.0%

12

 จีน

76.0%

13

        กาตาร์

75.0%

14

 ออสเตรเลีย

74.0%

15

 เอสโตเนีย

74.0%

Back to top button