ประเทศที่ต้องคำสาป (ตอน 1)

การที่รัฐบาลศรีลังกา ส่งสัญญาณเลวร้ายว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ประกาศเบี้ยวหนี้ หรือระงับการชำระหนี้ภายนอกที่ถึงเวลาเส้นตายงวดนี้จำนวนทั้งหมด 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ชั่วคราว ณ เมื่อวานนี้ โดยกล่าวว่าประเทศไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาได้อีกต่อไป เนื่องจากฐานะการเงินการคลังที่ย่ำแย่จากผลกระทบทั้งภายนอกและภายใน


การที่รัฐบาลศรีลังกา ส่งสัญญาณเลวร้ายว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ประกาศเบี้ยวหนี้ หรือระงับการชำระหนี้ภายนอกที่ถึงเวลาเส้นตายงวดนี้จำนวนทั้งหมด 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ชั่วคราว ณ เมื่อวานนี้ โดยกล่าวว่าประเทศไม่สามารถทำตามคำมั่นสัญญาได้อีกต่อไป เนื่องจากฐานะการเงินการคลังที่ย่ำแย่จากผลกระทบทั้งภายนอกและภายใน

รัฐบาลศรีลังกายังเรียกร้องอย่างไร้ยางอาย ให้พลเมืองของตนในต่างประเทศส่งเงินกลับบ้านเพื่อช่วยจ่ายค่าอาหารและเชื้อเพลิงที่จำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งที่ภารกิจดังกล่าวเคยถูกผูกขาดให้รัฐบาลทำหน้าที่

การล่มสลายทางการเงินและการคลังชนิด ตูดขาดของรัฐบาลประเทศ ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของเมืองร้อนอาจจะไม่น่าแปลกใจเพราะกว่าจะเดินทางมาพบชะตากรรมที่เลวร้ายถึงที่สุดเช่นนี้ เป็นประเด็นที่คาดเดาได้ล่วงหน้ามานานหลายปีแล้ว

ในหน้าประวัติศาสตร์ของลังกา หรือศรีลังกา (ไม่ใช่ สีหลังคา ตามคำพูดในโฆษณาของไทยว่าด้วยสีทาผนังยี่ห้อหนึ่ง) มีความยาวนานสืบย้อนหลังมากกว่า 3,000 ปีก่อนยุครามายนะหรือรามเกียรติ์ที่พวกลิงนำทัพโดยพระรามกับพระลักษณ์พากันทำถนนข้ามทะเลไปแย่งทวงนางสีดากลับคืน หลายเท่า และหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบว่ามีมนุษย์ตั้งถิ่นที่อยู่เป็นสังคมยืนยาวกว่า 1.25 แสนปีเลยทีเดียว  เนิ่นนานกว่าพุทธศาสนามหายานจะแพร่เข้าไปจากอินเดียในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเอกสารการค้าของจีน ยืนยันว่าเป็นหนึ่งในจุดแวะเทียบท่าของเส้นทางสายไหมทางทะเล ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นนักล่าอาณานิคมตะวันตกยาวนาน…

นี้คือจุดตกต่ำสุดของชาตินี้ครั้งที่สาม (สองครั้งแรกคือการล่มสลายของราชวงศ์อนุรัฐปุระ และ การตกเป็นอาณานิคมตะวันตกบางส่วนจนถึงปี ค.ศ.1815 กว่า 400 ปีก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมทั่วทั้งเกาะหลังปี ค.ศ. 1815) และอาจจะถือเป็นครั้งแรกนับแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491

การล่มสลายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาครั้งนี้ เป็นผลพวงของประวัติศาสตร์ระยะใกล้ที่ผสมผสานกับความสิ้นไร้ปัญญาในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่เรื้อรังกว่า 7 ปี ซึ่งหากแยกแยะออกมา จะแบ่งเป็นหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

* ความขัดแย้งทางการเมืองเรื้อรังระหว่างชาวสิงหลกับทมิฬอันยาวนานกว่า 30 ปีถึงปัจจุบันในประเทศจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองเรื้อรังที่แม้จะสงบลงไปบ้าง ก็ทำลายเอกภาพทางนโยบายต่อเนื่องมีผลต่อการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่ขาดเอกภาพ

* การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ทำลายธุรกิจท่องเที่ยวอันเป็นรายได้หลักทางธุรกิจและเศรษฐกิจ

* สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบรุนแรงในฐานะรัสเซียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของศรีลังกาในการส่งออกชา และภาคการท่องเที่ยวของศรีลังกาพึ่งพาทั้งสองประเทศมากกว่า 50% ของนักท่องเที่ยวเข้ามาจากรัสเซียและยูเครน สงครามในยูเครน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งรัสเซียและยูเครนได้หยุดชะงักไปกะทันหัน นอกเหนือจากออร์เดอร์นำเข้าชาที่ลดฮวบฮาบกะทันหันจากตลาดทั้งสองแห่ง

* ประเด็นซึมลึกที่สำคัญสุด ว่าด้วยการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดทั่วด้านถึง 5 ด้าน  นับตั้งแต่ 1) วิกฤตการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2) การเพิ่มปริมาณเงินอย่างสิ้นคิดโดยธนาคารกลางเร่งภาวะเงินเฟ้อรุนแรง3) รัฐสภาแทรกแซงอำนาจบริหารผ่านนโยบายห้ามการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่อต้านเคมีของโดยออกกฎหมายไม่จ่ายงบอุดหนุนนการใช้ปุ๋ยเคมีอีกต่อไป ทำลายรากฐานพลังการผลิตทางการเกษตรเรื้อรัง 4) ล้มเหลวในการควบคุมการกระจายจายสินค้าบริโภค จนทำให้สินค้าขาดแคลนทั่วหน้า และไฟฟ้าดับเป็นประจำ 5) การดื้อรั้นปฏิเสธที่จะขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไร้เหตุผล

ในด้านการบริหารนโบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว เกิดขึ้นพื้นหลังตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ที่มีการยุติสงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐบาลจากการเลือกตั้งกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬ อีแลม ซึ่งเริ่มต้นด้วยการที่อัตราส่วนหนี้สินต่อสินเชื่อรัฐบาลศรีลังกาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่การตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทำให้กลายเป็นปมปัญหาหลัก

รัฐบาลปัจจุบันที่เข้ามามีอำนาจผ่านการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 ได้รับรู้เรื่องนี้และได้รับการเตือนจากสถาบันนโยบายการศึกษาศรีลังกาว่ามีความเสี่ยงจำนวนมากรอจัดการแก้ไขอยู่ แต่ในขณะนั้นรัฐบาลกำลังหมกมุ่นในการนำเสนอ นโยบายเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เพื่อเสริมความมั่นคงของรัฐบาลผสมที่ต้องเน้นเรื่องรัฐนโยบายที่ผลักดันผ่านรัฐสภา แทนที่จะเน้นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เฉพาะหน้า เช่น การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ และ การปฏิรูปสถาบันการศึกษาและการเยียวยากลุ่มพลังที่รับผลกระทบจากสงครามกลางเมือง

ผลลัพธ์ของการให้ความสำคัญกับอนาคตมากกว่าปัจจุบัน ส่งผลทำให้กระบวนการตัดสินใจทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งถูกผลักดันให้เน้นหนักไปที่การเพิ่มรายจ่ายในงบประมาณ อาทิเช่น งบว่าด้วยการกู้ยืมการยืมชั่วคราวเพื่อการศึกษาการบริหาร (ก่อนหน้านี้ยังร่างใบเรียกเก็บเงินธนาคารกลางปี 2019 เพื่อให้ธนาคารกลางเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง โดยการห้ามเลขาธิการธนารักษ์และสมาชิกของรัฐบาลใด ๆ จากการเป็นสมาชิกของคณะกรรมการการเงิน

กระบวนการตัดขาดจากเรื่องทางการเมือง ทำให้การพิมพ์เงินก็ถูกแบนจากรัฐบาล แต่เพิ่มอำนาจให้กับเทคโนแครตจากธนาคารกลางแทน โดยมีการออกกฎหมายใหม่ให้ ธนาคารกลางจะไม่ซื้อหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลโดยหน่วยงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานสาธารณะอื่น ๆ ในตลาดหลักจากนั้นผู้ว่าการธนาคารกลาง (นำโดย ดร.อะจิดห์ นิวาด คาบราอัล) ยังออกข้อกำหนดที่ ปลอดการเมือง แยกตนเองจากอำนาจรัฐทางการเมืองเป็นอำนาจรัฐจากเทคโนแครต ตั้งข้อตกลงการชำระเงินเพิ่มอัตราเงินเฟ้อและฟองสบู่สินทรัพย์เป็นเหตุผลของการห้ามพรรคศรีลังกา ป็อด เจน่านำโดยราชภัฏราชศาลาคัดค้านธนาคารกลางอิสระและทิ้งบิลทันทีที่พวกเขามาถึงอำนาจ

หารยึดอำนาจรัฐโดยเทคโนแครต ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเปรียบเทียบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเลบานอนกับศรีลังกาและเตือนว่าศรีลังกา จะเริ่มต้นการผิดนัดกับพันธบัตรหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล

Back to top button