4 จี กับอนาคตของโลก (ตอน 5)แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

ว่าด้วยเรื่อง 4G+LTE ต่อจากตอนที่ 4 มองยังไงก็เห็นแต่ประโยชน์ เพราะแต่ละประเทศในเอเชียเขาได้ใช้กันไปแล้ว...แต่หากประเทศไทยจะมอง โลกแคบว่าการมี 4G ยังไม่มีความจำเป็นมากนักต่อประเทศไทย คงต้องบอกว่าถึงเวลาต้องเปิดหูเปิดตาออกมาจาก "กะลาแลนด์" กันเสียที


ว่าด้วยเรื่อง 4G+LTE ต่อจากตอนที่ 4 มองยังไงก็เห็นแต่ประโยชน์ เพราะแต่ละประเทศในเอเชียเขาได้ใช้กันไปแล้ว…แต่หากประเทศไทยจะมอง โลกแคบว่าการมี 4G ยังไม่มีความจำเป็นมากนักต่อประเทศไทย คงต้องบอกว่าถึงเวลาต้องเปิดหูเปิดตาออกมาจาก “กะลาแลนด์” กันเสียที 

อีกทั้งประเทศในเอเชียก็ล้ำหน้าไปถึงไหนๆ กันแล้ว นี่ประเทศไทยไม่เดินหน้าที่จะรับมันคงกระไรนะ…ดูอย่างประเทศที่กล่าวมาก่อนหน้า และประเทศต่อจากนี้

มัลดีฟส์ บริษัทอูเนดู หรือเดิมชื่อ วาทานิยา เป็นผู้แนะนำเทคโนโลยี 4 จี เป็นรายแรกในมัลดีฟส์  โดยบริษัททำเครือข่ายสี่จีทั้งในย่านความถี่ 700 MHZ และ 1800 MHZ

ซาอุดีอาระเบีย ในกลางเดือนกันยายน 2554 บริษัทโมบิลี ประกาศว่าเครือข่าย 4 จี LTE พร้อมให้บริการแล้วหลังจากทดสอบและประเมินมาเป็นเวลาหลายเดือน

โอมาน  บริษัท โอมานเทล เปิดตัวเครือข่าย 4 จี LTE ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนกรกฎาคม  2555 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 บริษัทนอว์ราสก็เคลื่อนไหวตาม

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เดือนธันวาคม 2555 บริษัทอีทิซาลัต เปิดตัวบริการ 4 จี LTE ในเชิงพาณิชย์โดยให้บริการครอบคลุมกว่า 70% ของเขตเมือง แต่ในเดือนพฤษภาคม 2556  มีบริการครอบคลุมเพียงไม่กี่ที่

เลบานอน ในปี 2555 บริษัทอัลฟา แอนด์ ทัช ประกาศว่าพร้อมให้บริการเครือข่าย 4 จี LTE และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน 2556

กาตาร์ บริษัทคิวเทล ซึ่งในขณะนี้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อูเรดู เปิดตัวเครือข่าย 4 จี LTE ในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556 และหลังจากที่บริษัทอูเรดูเปิดตัว 4 จี พลัส เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557  บริษัทโวดาโฟนก็เปิดตัวบริการ 4 จี ในโดฮา

อิหร่าน บริษัท เอ็มทีเอ็น อิหร่านเซลล์ เปิดตัวเครือข่าย 4 จี LTE ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2557 หลังจากได้รับอนุญาตได้ไม่นาน

จอร์แดน บริษัทแซน จอร์แดน เปิดตัว 4 จี LTE เชิงพาณิชย์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558

ปากีสถาน  วันที่ 7 กรกฎาคม 2556 รัฐบาลปากีสถานประกาศว่าจะเปิดประมูลเครือข่าย3 จี/4 จี และในการประมูลใบอนุญาตเพื่อให้บริการเครือข่าย 3 จี และ 4 จี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2557 รัฐบาลสามารถประมูลได้ 1,182 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทซอง เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวของปากีสถานที่ได้รับใบอนุญาต 4 จี

            บริษัทโมบิลิงค์ และซอง ขอประมูลย่านความถี่ ”ซูพีเรียร์” 10MHz ขณะที่บริษัทเทเลนอร์ และยูโฟน ประมูลย่านความถี่ 5 MHz ซึ่งมีราคาถูกกว่า แม้ว่าโมบิลิงค์มีคุณสมบัติที่จะได้รับใบอนุญาต 4 จี เช่นกัน หลังจากที่ได้ย่านความถี่ 10 MHZ แล้ว แต่ก็เลือกที่จะไม่ทำ

                วันที่ 2 พฤษภาคม 2557 องค์การโทรคมนาคมปากีสถานอนุญาตให้บริษัทวาริด เทเลคอมให้บริการ 4 จี LTE

ฟิลิปปินส์ บริษัทโกลบได้เปิดตัวบริการ 4 จี LTE สำหรับมือถือและบรอดแบนด์ ตามส่วนหนึ่งของการพัฒนาเครือข่ายครั้งใหญ่ จนถึงขณะนี้ โกลบมีไซต์เครือข่าย 4 จี LTE กว่า 2,700 ไซต์ โดยคาดว่าจำนวนไซต์จะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 4,000 ภายในปลายปี 2555

                ในเดือนกันยายน โกลบเปิดตัวเครือข่าย 4 จี LTE ซึ่งครอบคลุมพื้นที่การค้าและที่อยู่อาศัยสำคัญๆ ในย่านมาติกาและมีไซต์มากขึ้นหลังจากนั้นไม่นานก็ให้บริการในกรุงมะนิลา ซีบู  ดาเวา และภูมิภาคอื่นๆ

บริษัทสมาร์ท คอมมิวนิเคชั่น เป็นบริษัทแรกที่ทำเครือข่าย 4 จี LTE ในฟิลิปปินส์ โดยมีเซลล์ ไซต์กว่า 900 แห่งให้บริการทั่วประเทศร่วมกับบริษัทหุ้นส่วน  โดย บริษัทเชอร์รี่ โมบาย เป็นแบรนด์แรกในท้องถิ่นที่เปิดตัวโทรศัพท์มือถือที่พร้อมใช้เครือข่าย LTE ในฟิลิปปินส์

เกาหลีใต้ วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เกาหลีใต้ประกาศแผนการที่จะใช้เงิน 60,000 ล้านวอน หรือ 58,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 4 จี และแม้แต่ 5 จี โดยมีเป้าหมายที่จะครองส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือให้สูงสุดภายในปี 2555 และหวังว่าจะกลายเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ

ศรีลังกา  บริษัทไดอะล็อก บรอดแบรนด์ เน็ตเวิร์กส์ เปิดตัวบริการ TD-LTE สำหรับโทรศัพท์พื้นฐานครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2555

วันที่ 2 เมษายน 2556 บริษัทไดอะล็อก  เอเชียต้า ให้บริการ FD-LTE ในศรีลังกาซึ่งเป็นครั้งแรกของเอเชียใต้

วันที่ 2 มิถุนายน 2556 บริษัทโมบิเทล ให้บริการ FD-LTE ในศรีลังกา

 วันที่ 19 มกราคม 2557 บริษัทศรีลังกาเทเลคอม สาธิตและเปิดตัวบริการ 4 จี LTE ของประเทศเป็นผลสำเร็จ

ไทย คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดสรรย่านความถี่ 1.8 GHz และ 2.3 GHZ เพื่อให้บริการ 4 จี โดยจะประมูลย่านความถี่ 1.8 GHz ประมาณไตรมาสสี่ของปี 2557 เมื่อใบอนุญาตเพื่อให้บริการจีเอสเอ็มหมดอายุลง

ขณะนี้บริษัททีโอทีเป็นเจ้าของย่านความถี่ 2.3 GHz และกำลังมีการเจรจากันอยู่

บริษัททรูมูฟ เอช ได้เปิดตัวบริการ 4 จี LTE ในเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 โดยใช้ย่านความถี่ 2100 MHz ส่วนดีแทคใช้คลื่นความถี่ 2100, 1800

เติร์กเมนิสถาน  วันที่ 18 กันยายน 2556 บริษัททีเอ็ม เซลล์  เปิดตัวบริการ 4 จี

ขอย้ำกับประเทศไทยแล้วกันว่านี่มันไม่ใช่ยุคสมัยล้าหลังโลกเต่าล้านปีอีกแล้ว แต่เป็นโลกใหม่ที่วิวัฒนาการของเทคโนโลยีในโลกจะวันไม่มีวันหยุดนิ่ง

Back to top button