ไม่ใช่…สมรักษ์ คำสิงห์แฉทุกวัน ทันเกมหุ้น

นานมาแล้ว ที่นักลงทุนไม่ได้เห็นราคาหุ้นของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC สูงกว่า 5.00 บาท แถมเส้นทางก็คดเคี้ยวกว่าเนื้อเพลงเก่าๆThe Long and Winding Road ของ The Beatles หลายเท่า


นานมาแล้ว ที่นักลงทุนไม่ได้เห็นราคาหุ้นของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC สูงกว่า 5.00 บาท แถมเส้นทางก็คดเคี้ยวกว่าเนื้อเพลงเก่าๆThe Long and Winding Road ของ The Beatles หลายเท่า

เอาเป็นว่านับตั้งแต่มีการจัดการให้ ปตท. ธนาคารออมสิน และกองทุน กบข. เข้ามาเป็นพันธมิตรถือหุ้นใหญ่ แทนกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์เดิมเป็นหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติเมินมายาวนาน จะเป็นหุ้นพิมพ์นิยมก็เฉพาะรายย่อยเป็นหลัก ซึ่งทำให้ราคาไปไหนไม่เป็น

หุ้นบริษัทปิโตรเคมีคัลใหญ่ที่สุดของประเทศ แต่ราคาวิ่งอยู่ระหว่าง 2.50-4.50 บาท (บางครั้งต่ำกว่าบุ๊ค) ช่างน่าละอายใจไม่น้อย แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะอัตราส่วนกำไรสุทธิรวมของบริษัทนี้ ต่ำเตี้ยน่าใจหาย เมื่อเทียบกับรายได้หลายแสนล้านบาทในแต่ละปี

แถมบางปียังมีขาดทุนโผล่มาให้เห็นเป็นปรากฏการณ์ที่ทำเอาขวัญหนีดีฝ่อ

หุ้น IRPC จึงเป็นหุ้นนอกสายตา และนอกจอเรดาร์ของนักลงทุนมายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ

พนักงานที่ถือหุ้นของบริษัทมานานปี ด้วยความภักดีอยู่ (เพราะทั้งติดหุ้น ทั้งกลัวขายขาดทุน และกลัวขายหมู) พากันถอนหายใจเฮือกๆ แบบตลกฝืด เมื่อพูดถึงราคาหุ้น IRPC ของตนเอง

จากนี้ไป สุกฤตย์ สุรบถโสภณ เอ็มดีใหญ่ ออกมาบอกว่า จะไม่มีปรากฏการณ์แบบอดีตอีก เพราะ IRPC กำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่กำไรเป็นกอบเป็นกำ

ฟังอย่างผิวเผิน อาจรู้สึกว่าโม้เก่งไม่เบา หรือกินยาผิดซอง  หรือเชื่อมั่นตัวเองเกินตามประสาผู้บริหารสติเฟื่อง

แต่ถ้าดูจากความเคลื่อนไหวราคาหุ้นที่กลับมาทำนิวไฮ และบทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ที่ไปซักไซ้ไล่เรียงข้อมูลกันมาวงใน ก็พอจะมองออกว่า สุกฤตย์พูดเอาจริงเอาจัง

ไม่ใช่ สมรักษ์ คำสิงห์ แน่นอน...แต่เป็น “โหงวเฮ้งทองคำ” ตะหาก

สุกฤตย์เก่งมาจากไหนหรือ  ก็คงเก่งพอตัวแหละสำหรับองค์กรใหญ่อย่างนี้ แต่ก็ไม่ใช่เทวดา…เพราะว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ได้ IRPC ผ่านขวากหนามมาสารพัดหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ในการรักษาบาดแผลเรื้อรังยาวนานในช่วง ”เปลี่ยนผ่านสำคัญ”

เปลี่ยนผู้บริหารมาไม่น้อยกว่า 5 คน เผชิญวิบากกรรมขึ้นศาลกับตระกูลเลี่ยวไพรัตน์โชกโชน ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการภายในหลายรูปแบบ และผ่านการระดมความคิดผ่าทางตันสารพัดแบบลองผิดลองถูก ก็ต้องมีวันที่จะเกิด “แสงสว่างปลายอุโมงค์”

หลายคนบอกว่า สุกฤตย์อาจจะเป็นผู้บริหารที่โชคดี เพราะเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเวลาที่ไม่ต้องแบกรับภารกิจซับซ้อนมากมายเหมือนผู้บริหารคนก่อนๆ หน้า ก็ไม่ผิด แต่ไม่ถูกเสียทั้งหมด เพราะในแง่ของระบบบริหารจัดการธุรกิจแล้ว “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” ได้ แต่ ”วีรบุรุษต้องรู้จัดสร้างสถานการณ์” ด้วยเช่นกัน

คนบัญชา มิอาจสู้ฟ้าลิขิต ก็จริง แต่ถ้าฟ้าลิขิตแล้ว คนไม่ยอมบัญชา ก็ป่วยการ…

ปรากฏการณ์โดดเด่นในช่วงการดำรงตำแหน่งของสุกฤตย์มี 2 เรื่องใหญ่ คือ 1) การที่คณะกรรมการบริษัทตัดสินใจยุติคดีความ กับคดีความมากมายกับกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์สำเร็จ ปรับโครงสร้างกิจการให้หายรกเรื้อจำหน่ายหุ้นบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกและยังสามารถ ”แปลงศัตรูเป็นมิตรคู่ค้า” กับกลุ่มทีพีไอ โพลีน หรือ TPIPL โดยไร้รอยตะเข็บ 2) เร่งดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพภายในองค์กรในลักษณะ organic growth programme ซึ่งค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่ลึกซึ้ง

สิ่งที่สุกฤตย์และทีมผู้บริหารลงมือกระทำกับ ‘โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด หรือ Delta’ และ ‘โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หรือ UHV’ ภายใต้กรอบลงทุนตามโครงการฟีนิกส์ซึ่งดูจากภายนอกอาจจะเข้าใจว่าเขียนขึ้นมาให้โก้ๆ เข้าไว้ แต่คนที่เคยอ่านตำราบริหารเกี่ยวกับ Toyota Way ของค่ายรถยนต์โตโยต้า และ Six Sigma ของ GE ในยุคของแจ็กเวลช์ อันโด่งดัง จะเข้าใจว่าปฏิบัติการเชิงลึกของสุกฤตย์และทีมงาน สำคัญแค่ไหน

ผลลัพธ์รูปธรรมของโครงการทั้งสองคือ ทำให้ IRPC ลบปมด้อยเรื่อง ‘ความสามารถในการแข่งขันต่ำ’ ที่เคยถือเป็น ‘จุดตำหนิเรื้อรัง’ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้อยกว่าหลายๆ บริษัทที่อยู่ในครอบครัว ปตท.

ความสำเร็จดังกล่าว สะท้อนออกมาในผลประกอบการ ซึ่งไปเข้าสูตรสำเร็จ let profit run เพราะนักลงทุนจะได้เห็น IRPC ไม่ต้องพึ่งตัวเลข “กำไรพิเศษ” มาอุดงบสิ้นงวดซ้ำซากอีก เพราะจะมี “กำไรจากการดำเนินงาน” โชว์เนื้อๆ

ใครบอกว่า สุกฤตย์ โชคดีอย่างเดียว ไม่น่าให้อภัย

ปฏิบัติการ “ตีเหล็กเมื่อร้อน” ล่าสุดของสุกฤตย์ และทีมงาน ที่นำเสนอโครงการเอเวอร์เรสต์ (Everest Programme) เพิ่มอีก โดยเน้นวัตถุประสงค์ “Delta เน้นระบบ Everest เน้นคน” เพื่อหวังเพิ่ม ”จิ๋ม” (GIM) ให้ใหญ่ขึ้น

ราคาหุ้นของ IRPC ยามนี้ หากมีคนอกว่าถูกเกิน…ก็ไม่แปลก

X
Back to top button