Shortfall ผลพวงก๊าซขาดตอน.!

อีกประเด็น (ใหม่) ที่ “ร้อนฉ่า.!” ไม่แพ้อากาศช่วงนี้..หนีไม่พ้น กกพ. ได้ส่งหนังสือคำสั่งถึง บมจ. ปตท. หรือ PTT ช่วงปลายสัปดาห์ก่อน


อีกประเด็น (ใหม่) ที่ “ร้อนฉ่า.!” ไม่แพ้อากาศช่วงนี้..หนีไม่พ้นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ส่งหนังสือคำสั่งถึงบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ช่วงปลายสัปดาห์ก่อน

เพื่อให้คืนเงิน Shortfall (เงินที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่สามารถส่งก๊าซฯ ให้ผู้ซื้อได้ตามกำหนดให้ส่งก๊าซฯ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ) ภายใต้ DCQ (Daily Contract Quantity) จำนวน 4,300 ล้านบาท จากการขาดส่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยช่วงปลายปี 2564 มาจนถึงต้นปี 2565

วงในจากปตท.คอนเฟิร์มได้รับจม.แล้ว..พร้อมส่งซิกว่า..กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาและเตรียมชี้แจงกับกกพ. เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องตีความว่า “เงินส่วนนี้เป็นเงินแบบไหน..!?”

ที่ผ่านมา ปตท.มีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติที่ผูกพันกับลูกค้า และปตท.ไม่ได้ทำอะไรที่บกพร่อง แต่ขอดูรายละเอียดก่อน ทั้งนี้หากปตท.ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งกกพ.ที่ให้ส่งคืนเงิน 4,300 ล้านบาท ก็มีกระบวนการยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

ดูจากชั้นนี้…ปตท.มีอันต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งกกพ.แหง ๆ..!!

มูลเหตุเรื่อง Shortfall เกิดจากช่วงเปลี่ยนสัมปทานแหล่งเอราวัณ จากผู้ดำเนินการ (Operator) เดิมคือบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด..มาเป็นบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ภายใต้สัญญา PSC ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. 2565

ที่กำหนดปริมาณส่งมอบก๊าซฯ ตามสัญญา DCQ อัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่หลังจาก PTTEP เข้าพื้นที่ล่าช้า 2 ปี ทำให้ไม่สามารถติดตั้งแท่นและผลิตก๊าซฯ ได้ตามแผน

คำสั่งกกพ.มีการอ้างถึงพ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อให้ปตท.คืนเงินที่จัดเก็บจากเชฟรอนฯ กรณีผลิตก๊าซธรรมชาติตามสัญญาสัมปทานจากแหล่งเอราวัณช่วงปลายสัญญา

แต่เชฟรอนฯ ไม่สามารถผลิตได้ตามสัญญา และต้องจ่ายค่า Shortfall ให้แก่ปตท.ตั้งแต่ประมาณกลางปี 2564 จนถึงช่วงหมดสัญญาสัมปทาน

เงินค่า Shortfall ดังกล่าว กกพ.เห็นว่า ปตท.ควรนำเงินดังกล่าวเข้ามาคืนเป็นการคำนวณค่าไฟฟ้า Ft หากคิดเพียงเอฟทีงวดเดียว จะเป็นวงเงินประมาณ 6 สตางค์ต่อหน่วย

แต่ปตท.เห็นแย้งว่ากรณีนี้เป็นสัญญาค่าสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่างผู้ผลิตและผู้ขาย เป็นเรื่องความเสี่ยงที่ต้องบริหารจัดการ..

ดังนั้น เงินส่วนนี้..จึงไม่มีการนำมาคำนวณในค่าไฟฟ้า และเป็นส่วนที่บริหารจัดการสัญญาของเอกชนในส่วนสัญญาสัมปทานในอ่าวไทยเช่นนี้มาโดยตลอด

นี่เป็นอีกปมปัญหา “ก๊าซแหล่งเอราวัณ” ที่สะดุด..ไม่เป็นไปตามแผนและเงื่อนไข..!??

แต่ใครล่ะ..ที่ทำให้สะดุด “เชฟรอน”..ใช่ไหม..!?

หรือด้วยเงื่อนไขจากหน่วยงานรัฐ (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)..หรือเปล่า..!?

เรื่องนี้ไม่ว่าใครจะเป็น “ตัวการ” ก็ตาม..

แต่ประชาชนคนใช้ไฟฟ้าคือ “ผู้รับกรรม” อยู่ดี..!?

เฮ้อ..!! เกิดเป็นคนไทย..ต้องอดทน..นะ..!!!

…555…

Back to top button