TIDLOR สำรองสูงเพิ่มคุณภาพ

TIDLOR โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 4/2566 1.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 62% 2.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถบรรทุก 25%


คุณค่าบริษัท

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โครงสร้างพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 4/2566 1.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 62% 2.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถบรรทุก 25% 3.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ 13% โครงสร้างรายได้ ณ สิ้นไตรมาส 4/2566 1.รายได้จากธุรกิจให้สินเชื่อและให้เช่าซื้อ 89.09% 2.รายได้จากธุรกิจนายหน้าประกันภัย 10.91%

TIDLOR รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2566 มีกำไรสุทธิ 901.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.27% จากไตรมาส 4/2565 แต่ลดลง 10.49% จากไตรมาส 3/2566 ที่มีกำไรสุทธิ 1,006.84 ล้านบาท กำไรไตรมาส 4 สอดคล้องกับคาดการณ์ของตลาด กำไรที่ลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 3/2566 โดยหลักมาจากผลขาดทุนด้านเครดิต (ECL) ที่สงขึ้นมาที่ 1 พันล้านบาท ในไตรมาส 4/2566 จาก 681 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2566 จากการตัดจำหน่ายหนีเสียทีสูงขึ้น

แม้ว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (non-NII) จะเติบโตแข็งแกร่งจากไตรมาส 3/2566 กำไรที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบไตรมาส 4/2565 ได้แรงหนุนจาก NII และ non-NII ที่ดีขึ้น จากการขยายสาขาและยอดขายประกันภัยที่ดีขึ้น และอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลงจากไตรมาส 4/2565 จากการประหยัดต่อขนาดที่มากขึ้น ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2566 เพิ่มขึ้น 4% จากปี 2565 มาอยู่ที่ 3.79 พันล้านบาท

กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรอง (PPOP) เพิมขึ้น 9% จากไตรมาส 3/2566 และ 28% จากไตรมาส 4/2565 มาที่ 2.1 พันล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการของบล.กสิกรไทย 9% การเติบโตของ PPOP ได้แรงหนุนจาก NII ที่แข็งแกร่งขึ้นจากการเติบโตของสินเชื่อที่ 6% จากไตรมาส 3/2566 และ 20% จากไตรมาส 4/2565 และรายได้ค่าธรรมเนียมทีสูงขึ้น 23% จากไตรมาส 3/2566 และ 22% จากไตรมาส 4/2565 อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ จัดการได้ดีอยู่ที่ 55% คงที่เมื่อเทียบกับ 55% ในไตรมาส 3/2566 และลดลงจาก 58% ในไตรมาส 4/2565

อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ลดลง 0.10% จากไตรมาส 3/2566 และไตรมาส 4/2565 มาอยู่ที่ 1.4% ซึ่งต่ำกว่าที่บล.กสิกรไทย คาดไว้ 0.20% อย่างไรก็ตามตามประมาณการของบล.กสิกรไทย การก่อตัวใหม่ของ NPL ในไตรมาส 4/2566 เพิ่มขึ้น แต่ NPL ratio ลดลงจากการตัดจำหน่ายหนีเสียทีสูงขึ้นในไตรมาส 4/2566 ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ (credit cost) สูงกว่าที่คาดมาอยู่ที่ 4.22% เทียบกับประมาณการของบล.กสิกรไทย ที่ 3.50% ส่งผลให้อัตราสำรองต่อหนี้สูญ (coverage ratio) เพิ่มขึ้นมาที่ 282% จาก 264% ในไตรมาส 3/2566

ผู้บริหาร TIDLOR ตั้งเป้าหมายการเติบโของสินเชื่อปี 2567 ที่ 10-20% จากปี 2566 (เทียบกับการขยายตัว 20% ในปี 2566) และการเติบโตของยอดขายประกันวินาศภัยที่ 10-20% (เติบโต 25% ในปี 2566) TIDLOR ตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่ 100 แห่ง ในปี 2567 (เปิดเพิ่ม 50 สาขาในปี 2566) โดยจะมุ่งเน้นที่การปรับปรุงประสิทธิภาพของสาขา ขณะที่ NIM มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบปี 2566 เนื่องจากต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้น 0.30-0.40%

ข้อมูลจาก Refinitiv Consensus สำหรับ TIDLOR ระบุว่า ประมาณการรายได้รวมปี 2567 ที่ 20,121.57 ล้านบาท และประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 4,710.98 ล้านบาท โดยมีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 27.82 บาท จาก 17 โบรกเกอร์

บล.กสิกรไทย ปรับลดประมาณการกำไรปี 2567-2568 ลง 9.8% และ 5.7% เป็น 4.47 พันล้านบาท และ 5.26 พันล้านบาท สาเหตุหลักมาจากสมมติฐาน credit cost ทีเพิมขึ้นเป็น 3.19% และ 3.00% ในปี 2567-2568 จาก 2.90% และ 2.80% และลดประมาณการ NIM ปี 2567 ลง 0.07% แต่ปรับสมมติฐาน NIM ปี 2568 ขึ้น 0.03% เนื่องจากคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

สำหรับการประเมินมูลค่า (Valuation) หุ้น TIDLOR ราคาปัจจุบัน (ราคาปิดวันที่ 5 มี.ค. 2567 ที่ 22.10 บาท) ซื้อขายกันที่ P/E 16.38 เท่า ต่ำกว่า P/E กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ที่ 17.42 เท่า ส่วนค่า P/BV ของหุ้น TIDLOR อยู่ที่ 2.18 เท่า สูงกว่า P/BV กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ที่ 1.56 เท่า

Back to top button