
ใครจะนั่งผู้ว่า ธปท.
วานนี้ “พิชัย ชุณหวชิร” ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยอมรับว่าได้ลงนามเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว
วานนี้ “พิชัย ชุณหวชิร” ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยอมรับว่าได้ลงนามเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว
และพร้อมจะชงให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันนี้ (15 ก.ค.)
หากอ้างอิงตามกระแสข่าวก่อนหน้านี้
มีบุคคลที่ได้รับคัดเลือก (จากจำนวน 7 คน) เหลือ 2 คน คือ
1.ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.
2.นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
จำนวนสองคนที่ว่านี้ ทางรัฐมนตรีคลังเลือกที่จะเสนอชื่อเพียง 1 คน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
อาจจะมีคำถามว่า ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ว่า ธปท. นั้นเป็นอย่างไร
คำตอบ คือ เริ่มจากรัฐมนตรีคลังจะแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (แทน ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบันที่จะครบวาระวันที่ 30 ก.ย. 68)
กรรมการจะมีจำนวน 7 คน และอีก 1 เลขานุการ ประกอบด้วย
1.ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประธาน
- ศรีรัตน์ รัษฐปานะ อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์
- วิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
4.วรวิทย์ จำปีรัตน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
5.อัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
6.ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
7.สุทธิพล ทวีชัยการ อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
และมี “พรชัย ฐีระเวช” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นเลขานุการ
เมื่อตั้งกรรมการคัดเลือกฯ แล้วเสร็จ
ทางกรรมการฯ จัดเปิดรับสมัครบุคคลที่สนใจ พร้อมกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ
ในขั้นตอนการคัดเลือกครั้งนี้ มีผู้สมัครจำนวน 7 คน และทั้ง 7 คนที่ว่านี้ไม่ต้องนำเสนอรายงานอะไร แต่จะถูกเรียกมา “สัมภาษณ์” โดยจะมี “ซองคำถาม” จำนวน 7 ซอง ให้บุคคลที่มาถูกสัมภาษณ์เลือก 1 ซอง
เมื่ออ่านคำถามที่อยู่ในซองแล้ว ก็สามารถเริ่มพรีเซนเทชันได้ จะมีกรรมการทั้ง 7 คน รับฟังอยู่
ช่วงพรีเซนฯ กำหนดเวลาไว้คนละ “5 นาที”
หากเกินจากนั้น จะตัดจบทันที หากใครพรีเซนฯ ได้เท่าไหนคือเท่านั้น ไม่มีต่อเวลาให้
ดังนั้น บุคคลนั้นจะต้องมีไหวพริบ การนำเสนอที่ดีมาก ๆ พูดจาต้องฉะฉาน เรียบเรียงข้อมูลให้อยู่ภายในกรอบเวลาให้ได้ จะมาเอ้อ ๆ อ้า ๆ ขอเวลาคิด ขอเวลาตั้งตัวไม่ได้
เมื่อรับฟังการพรีเซนฯ (ตอบคำถาม) ครบทุกคนแล้ว
ทางกรรมการฯ จะให้คะแนน และคัดเลือกผู้ได้รับการคัดเลือกเหลือเพียง 2 คน แล้วส่งให้ รมว.คลังพิจารณา เพื่อนำเสนอต่อ ครม.เห็นชอบเพียง 1 คน
ทีนี้มาถึงบุคคล 2 คนที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งจากกระแสข่าวนั้นคือ “ดร.รุ่ง” กับ “วิทัย”
จะว่าไปแล้ว ทั้ง 2 คน ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถด้านการเงินด้วยกันนั่นแหละ
อีกคนหากจะบอกว่าเป็นลูกหม้อของแบงก์ชาติก็อาจไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะเคยทำงานอยู่กับธนาคารกรุงไทย (KTB) มาก่อน
ส่วนอีกคนอยู่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งอย่างที่รับทราบกันว่าระหว่าง คลังกับแบงก์ชาติ “เป็นไม้เบื่อไม้เมา” กันมาทุกยุคสมัยเกี่ยวกับนโยบายด้านการคลัง และการเงิน
แล้วหวั่นว่าการคลังจะมาครอบการเงิน หรือการเมืองจะมาแทรกแซงแบงก์ชาติ
ซึ่งบุคคลที่มานั่งบริหารงานตรงนี้ คงไม่ยอมให้ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นแน่
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือ “หม่อมเต่า” ก่อนจะมานั่งเก้าผู้ว่าแบงก์ชาติ ก็เคยเป็นปลัดกระทรวงการคลังมาก่อน (ถูกย้ายไปประจำสำนักนายกฯ สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วลาออกจากราชการ) จากนั้นจึงมาลงสมัครผู้ว่าแบงก์ชาติ ซึ่งสามารถทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ดี
วันนี้แล้วที่เราจะรู้ชื่อผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่
และแน่นอนว่า จะมีผลเชิงเซนติเมนต์ไปยังตลาดเงินและตลาดหุ้นพร้อม ๆ กัน
มาลุ้นกันว่าจะเป็นใคร