MTC โดน (กับเขา) ไปด้วย.!?

พลันที่ “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561” เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 ทำให้ “หุ้นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ” แตกตื่นตกใจกันยกใหญ่ นัยว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากประกาศฉบับดังกล่าว


แฉทุกวันทันเกมหุ้น

พลันที่ “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 ทำให้ “หุ้นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ” แตกตื่นตกใจกันยกใหญ่ นัยว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากประกาศฉบับดังกล่าว

แต่ที่เลวร้ายกว่านั้น หุ้นบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC ถูกผสมโรงแรงขายทำกำไรออกมาด้วยเช่นกัน ทั้งที่ MTC ให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถและสินเชื่อส่วนบุคคล ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับประกาศดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย..!!

จึงเกิดคำถามว่า ตกลงประกาศฯ ที่ว่ามีเนื้อหาบ่งบอกหรือมีกฎเกณฑ์อะไรบ้าง ถึงทำให้นักลงทุนขวัญผวา แห่ขายหุ้นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์จนเสมือนว่า “ประกาศฉบับนี้” จะนำความหายนะมาสู่ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้ออะไรทำนองนั้น

เมื่อเข้าไปดูเนื้อหาใจความประกาศดังกล่าว..มีเพียง 2 ประเด็นเท่านั้น ที่พอให้คิดเคลือบแคลงได้ว่า จะมีผลต่อหุ้นกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ นั่นคือ..

1) ต้องมีการระบุรายละเอียดการคิดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างชัดเจนว่า อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทคิดกับผู้ซื้อ (ลูกค้า) มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง..!? (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)

2) เบี้ยปรับกรณีมีการผิดนัดชำระค่างวดจะต้องคิดได้ไม่เกิน 15%

แต่..ทว่าภาพจำของนักลงทุนไปโฟกัสว่า “ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% จึงเป็นความคลาดเคลื่อนในเชิงการรับข้อมูลข่าวสาร เพราะข้อเท็จจริงคือ “เบี้ยปรับไม่เกิน 15% นั่นจึงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็นปัญหาเรื่องการตีความมากกว่า..!!

ที่น่าตกใจ คือ กรณีหุ้น MTC ไม่รู้อีโหน่อีเหน่..แต่ถูกจับเป็นตัวประกัน “หุ้นลีสซิ่ง” จนได้

ที่ผ่านมา “ชูชาติ เพ็ชรอำไพ” ซีอีโอใหญ่ MTC ประกาศว่าMTC ไม่ใช่หุ้นลีสซิ่ง” ขนาดถึงขั้นเปลี่ยนชื่อจาก “เมืองไทย ลิสซิ่ง” มาเป็น “เมืองไทย แคปปิตอล” มาแล้ว..!!

หากมองผลประกอบการไตรมาส 2/2561 มีโอกาสเติบโตต่อเนื่อง จากไตรมาส 1/2561 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 2,340 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 834 ล้านบาท จากความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลและนาโนไฟแนนซ์ พร้อมขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 2,810 สาขา..

อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของ MTC อยู่ที่ “พ.ร.บ.การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน” ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะประกาศและมีผลบังคับใช้เมื่อใด เพราะนั่นหมายถึง “การกำกับผู้ให้บริการทางการเงิน” ในวงกว้าง แน่นอนว่า MTC อยู่ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ด้วย

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า..กฎหมายดังกล่าวจะประกาศและมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่..!? ที่สำคัญ MTC รับมือกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร..!!??

…อิ อิ อิ…

Back to top button