ข่าวร้ายทุบอนาคต GL

สำหรับคนที่ติดและยังคงถือหุ้น GL หรือ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) คงต้องขออภัยที่ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า ถ้าไม่อยากทิ้งเพราะขาดทุนมาก ก็คงต้องทำใจว่าอนาคตของหุ้นรายนี้ ที่อยู่ในอาการโคม่าทุกขณะยามนี้ ยากจะเห็นทางออกใด ๆ ในระยะสั้น เพราะมีข่าวร้ายชนิดที่พูดได้คำเดียวว่า รอวันตอกตะปูปิดฝาโลงเท่านั้นเอง


พลวัตปี 2020 : วิษณุ โชลิตกุล

สำหรับคนที่ติดและยังคงถือหุ้น GL หรือ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) คงต้องขออภัยที่ต้องบอกกันตรง ๆ ว่า ถ้าไม่อยากทิ้งเพราะขาดทุนมาก ก็คงต้องทำใจว่าอนาคตของหุ้นรายนี้ ที่อยู่ในอาการโคม่าทุกขณะยามนี้ ยากจะเห็นทางออกใด ๆ ในระยะสั้น เพราะมีข่าวร้ายชนิดที่พูดได้คำเดียวว่า รอวันตอกตะปูปิดฝาโลงเท่านั้นเอง

การที่ล่าสุด หุ้นตัวนี้ ยังไม่ถูกห้ามซื้อขายเพราะยังมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวกอยู่ แต่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C กำกับเอาไว้ ให้ต้องซื้อขายด้วยบัญชีเงินสดอย่างเดียว เป็นเวลาประมาณ 30 วันทำการตั้งแต่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเหตุผลว่ามีกำไรสะสมติดลบไปแล้ว ก็คงบอกอะไรได้เยอะพอสมควร

เหตุผลที่ต้องเตือนกันเพราะมีข่าวร้ายเต็มไปหมด สำหรับหุ้นที่เมื่อ 5 ปีก่อน มีมาร์เก็ตแคปมากกว่า 8.73 หมื่นล้านบาทแต่ปัจจุบันลดลงไปเหลือแค่ล่าสุดเมื่อสิ้นสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ที่ 1.73 พันล้านบาท เท่านั้น

นอกจากนั้นยังมีข่าวร้ายจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมาหลายประการนั่นคือ

-ผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทแม่ในญี่ปุ่น กลุ่มเอพีเอฟ ได้ลดการถือครองหุ้นจากระดับ เกิน 36% เหลือแค่ 26% เศษ โดยบริษัทในกลุ่มคือ เอ พี เอฟ โฮลดิ้งส์ จำกัด ของพี่น้องตระกูลโคโนชิตะ ขายหุ้นและโอนให้ผู้อื่นในมือทิ้งเกือบทั้งหมดเหลือต่ำกว่า 1% แต่ยังเหลืออีกที่ถือในนาม

– เปลี่ยนม้ากลางแม่น้ำ โดยซีอีโอคนเดิมนาย โคโนชิตะหลบเรดาร์ หาหุ่นเชิดใหม่ แม้ว่าจะครองสิทธิในการเซ็นรับมอบอำนาจแทนบริษัทเช่นเดิม แต่ลดฐานะลงเป็นแค่รองซีอีโอเท่านั้น

– แพ้คดีในศาลที่สิงคโปร์ให้กับคู่ปรับรายเดิมคือค่า เจทรัสต์ของญี่ปุ่น จำต้องเสียค่าปรับกว่า 2.18 พันล้านบาทในข้อหาถูกฟ้องว่าให้ข้อมูลหลอกลวงให้ซื้อหุ้นในราคาเกินจริง แล้วศาลสั่งเป็นเด็ดขาดตัดสิทธิ์ในอุทธรณ์คำวินิจฉัย

-ราคาหุ้นร่วงทำต่ำสุดเรื่อย ๆ มีโอกาสหลุดใต้ 1.00 บาท หากตัวเลขผลประกอบการไตรมาสต่อ ๆ ไปยังคงขาดทุนต่อเนื่อง และจำต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก อาจจะส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินได้ในระยะต่อไปแม้ว่ายังคงเหลือส่วนผู้ถือหุ้นเกิน 4 พันล้านบาท

กรณีแรกสุด เกิดขึ้นเมื่อ มีประกาศจาก ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 แจ้งว่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ได้รับแจ้งจากบริษัท เอ.พี.เอฟ. โฮลดิ้งส์ จำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ GL ได้ทำการขายจำหน่ายหลักทรัพย์จำนวน 0.4588% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ส่งผลมีจำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่าย คิดเป็น 9.8923% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมด

ขณะที่ในวันเดียวกัน เอพี เอฟ โฮลดิ้งส์ ก็โอนหุ้นเกือบทั้งหมด รวม 157,911,191 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.35% ให้กับนายโคจิ อิโตะ ชาวญี่ปุ่นที่อ้างว่า ความสัมพันธ์ที่ดีมาอย่างยาวนาน

การขายและโอนหุ้นทิ้ง แม้จะยังคงรักษาฐานะการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ต่อไป แต่ก็ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ไปต่อยากเต็มที ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังมีกรณีที่สองเกิดขึ้นไปแล้วสองสัปดาห์เท่านั้นเอง

กรณีที่สาม เป็นเรื่องเก่ายืดเยื้อมานานหลายปีตั้งแต่ วันที่ 26 ธันวาคม 2560 ที่บริษัท JTrust  Asia Pte. Ltd (“JTA”) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หุ้นกู้-ผู้ถือหุ้นรายสำคัญได้ยื่นฟ้อง GLH บริษัทย่อยที่ GL ถือหุ้นทั้งหมดต่อศาลแห่งประเทศสิงคโปร์กล่าวหา ว่า GLH และจำเลยอื่นร่วมกันหลอกลวงทำให้ JTA เชื่อว่าสถานะทางการเงินของบริษัท ดีกว่าความเป็นจริงจึงตกลงเข้ามาลงทุนใน GL พร้อมกับเรียกให้ GLH จ่ายค่าเสียหายจำนวนประมาณ 7,183 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย

ศาลชั้นต้นของสิงคโปร์มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ยกฟ้องแต่ทาง JTA ได้ยื่นขออุทธรณ์ต่อเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 แล้วล่าสุด ศาลอุทธรณ์สิงคโปร์ได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาสั่งให้ GLH และจำเลยอื่น ๆ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นบางส่วนจากการลงทุนของ JTA ในวงเงิน ประมาณ 1,527 ล้านบาท โดยท้ายคำพิพากษาระบุว่า คู่กรณีไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้อีก

แน่นอนว่า ผลกระทบจากคำพิพากษานี้จะส่งผลต่อคดีที่ค้างคาในศาลไทยอีก 3 คดี ที่ฟ้องร้องกันไปมา

คดีที่แพ้ไปแล้วนี้ เป็นส่วนหนึ่งของภาระหนี้ระยะยาวกว่า 5.5 พันล้านบาทที่ GL ต้องเผชิญอยู่อย่างเลี่ยงไม่พ้น

ก่อนหน้านี้ศาลชั้นอุทธรณ์ของไทยเพิ่งยกคำร้อง JTA ขอฟื้นฟูกิจการ ส่งผลคดีสิ้นสุด โดยในวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา ศาลล้มละลายกลางได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษ แผนกคดีล้มละลาย ศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษพิพากษายืนตามศาลล้มละลายกลาง โดยให้ยกคำร้องขอฟื้นฟูกิจการบริษัท ตามที่ JTrust Asia Pte. Ltd (JTA) ได้ยื่นคำร้อง

ในขณะเดียวกัน ทั้ง GL และ APF Holdings ก็ได้ฟ้องคดีในไทย เรียกค่าเสียหายจาก JTA และกรรมการเป็นวงเงินค่อนข้างสูง

กรณีที่สาม นายทัตซึยะ โคโนชิตะ ที่ขึ้นเป็นซีอีโอแทนพี่ชายมานานหลายปี ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง แล้วลดตัวลงไปเป็นรองซีอีโอแทน โดยให้ GL แต่งตั้งตัวแทนคือนาย ริกิ อิชิกามิ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่มีผล 15 ต.ค. หรือแค่ 1 สัปดาห์หลังจากที่แพ้คดีในศาลสิงคโปร์

ทั้งหมดนี้ มีคำถามมากมาย แต่คำตอบจาก GL คงหาไม่ได้ง่าย ๆ

Back to top button