GUNKUL โชว์กำไรปี 63 เลิศ! รายได้ก่อสร้างหนุน – บุ๊กขายโซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่น 1.98 พันลบ.

GUNKUL โชว์กำไรปี 63 โต 3.41 พันลบ. หนุนจากรายได้จากการก่อสร้างและบริการเพิ่มขึ้น 101% พร้อมบุ๊กกำไรขายโซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่น 1.98 พันลบ. ขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทำได้ดี


บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL รายงานผลการดำเนินงาน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ปรากฏว่า บริษัทมีรายได้รวมขยับขึ้นมาอยู่ที่ 10,974.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.52% เมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนมีรายได้ 7,195.26 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิขยับขึ้นมาอยู่ที่ 3,412.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.61% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 2,147.33 ล้านบาท

ส่วนรายละเอียดจากผลการดำเนินที่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 2563 อนึ่งเกิดจากรายได้จากการก่อสร้างและบริการขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2,146.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101.06% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 1,067.68 ล้านบาท สืบเนื่องจากการเข้าทำสัญญาก่อสร้างให้กับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน โดยเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างผ่านบริษัทย่อยในกลุ่ม (บริษัท ฟิวเจอร์ อีเล็คทริคอล คอนโทรล จำกัด ปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) จนถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 8,500 ล้านบาท ทั้งงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า งานระบบไฟฟ้า งานก่อสร้างสายส่งบนดินและได้ดิน ซึ่งเป็นไปตามการที่คาดการณ์ไว้ตามแผนงานของบริษัท

ตามด้วยในส่วนที่มีการบุ๊กเข้ามาหนุน อย่างรายได้ตามสัญญาเช่าเงินทุนเข้ามาจำนวน 913.48 ล้านบาท จากการปรับของมาตรฐานทางบัญชี (TFRS 16) ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกิดจากรายได้ในส่วนของการทำสัญญาเช่าที่ดินและอาคารสำหรับโครงการทำสัญญากับโครงการโลตัส และส่วนของรายได้จากการขายไฟฟ้าบนหลังคาให้กับภาคเอกชนซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว 10-15 ปี

นอกจากนี้ยังมีกำไรจากการต่อรองราคาซื้อเข้ามาจำนวน 259.27 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศเวียดนามจำนวน 4 โครงการ ขนาดรวม 160 เมกะวัตต์

รวมถึงกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยเข้ามาจำนวน 1,977.60 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการขายโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 โครงการขนาด 141.78 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Utsunomiya ขนาด 66.78 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ lwakuni ขนาด 75 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563

“ส่งผลให้บริษัทมีสภาพคล่องและมีความสามารถในการก่อหนี้ เพื่อใช้สำหรับการหมุนเวียนและการลงทุนใหม่ด้านพลังงานทดแทนและอื่นๆเพื่อสร้างอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาพรวมของรายได้ในส่วนของการขายไฟฟ้าลดลง แต่หากแยกย่อยในส่วนของธุรกิจไฟฟ้า ด้านในส่วนของรายได้จากการขายไฟฟ้าพลังงานแสดงอาทิตย์เพิ่มขึ้นปี 2563 อยู่ที่ 1,995.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.64% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 1,681.96 ล้านบาท โดยแยกออกในประเทศขยับขึ้นมาอยู่ที่ 888.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.49% เมื่อเทียบช่วงกับปีก่อน 875.81 ล้านบาท ขณะที่ต่างประเทศขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1,106.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.26% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 806.15 ล้านบาท

ผลจากมีรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศรวม 224.50 เมกะวัตต์ โดยมีรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เซนได ประเทศญี่ปุ่นขนาด 31.8 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์คิมิทสึ ประเศษญี่ปุ่นขนาด 33.5 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเริ่มรับรู้รายได้ทันทีตั้งแต่ทำการเข้าซื้อกิจการจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานอาทิตย์ Tri Viet 1 และ Bach Khoa A Chau 1 ขนาดรวม 60 เมกะวัตต์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โรงไฟฟ้าพลังงานแสดงอาทิตย์ ธTan Chau ขนาด 50 เมกะวัตต์ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Phong Dien ll ขนาด 50 เมกะวัตต์ในเดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา

ส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าพลังงานลม 3 โครงการรวม 170 เมกะวัตต์ลดลงเหลือ 2,097.95 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 2,822.44 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2562 ฤดูมรสุมที่เข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างเร็วกว่าปี 2563 จึงมีผลให้กระแสลมที่ผลิตได้ช่วงเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อนมีปริมาณลดลง

Back to top button