“บลจ.วี” เปิดขายไอพีโอ “WE-VIETGROWTH” เน้นลงทุนหุ้นศักยภาพเติบโตสูง

“บลจ.วี” ชวนสร้างโอกาสเติบโตพร้อมเศรษฐกิจเวียดนาม เปิดขายไอพีโอ “WE-VIETGROWTH” เน้นลงทุนหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตสูง ระหว่างวันที่ 21 -28 เม.ย.65


นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด เปิดเผยว่า การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเวียดนามมีความโดดเด่นและเป็นที่สนใจของนักลงทุนอย่างมาก โดยในปี 2563 GDP เวียดนามเติบโตที่ 2.9% ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถรักษาการเติบโตของ GDP ในเชิงบวกได้ ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของ Covid-19 (ที่มา: General Statistics Office (GSO) / Asia Development Bank as of September 2021)

โดยปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้ในช่วงที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่เติบโตระดับสูงต่อไป คือ การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) หลังการระบาด Covid-19 ซึ่ง FDI จะยังคงไหลเข้าประเทศเวียดนามต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนภาคธุรกิจ ทั้งเรื่องต้นทุน ประโยชน์ด้านภาษี การเป็นเขตการค้าเสรี

รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งไตรมาสแรกของปี 2022 FDI ของเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 8.9% มีเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน รวมถึงจีนที่เข้าไปลงทุนเป็นหลัก ทำให้เวียดนามมีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางของ Supply chain ในอนาคต เห็นได้จากบริษัทระดับโลกมองการย้ายโรงงานผลิตไปยังเวียดนามมากขึ้น

อีกทั้งข้อตกลงทางการค้าต่างๆ ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว มีสัดส่วนการค้าต่อจีดีพี (Goods trade of GDP) ประมาณ 200% ใกล้เคียงกับประเทศสิงคโปร์ (ที่มา: CEIC, ITC Trade Map as of May 2021 / General Statistics Office (GSO), Broker Forecasts as of November 2021)

โดยปัจจัยต่อมาคือ การบริโภคอยู่ในระดับสูง (Consumption Boom)  จากการขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) และโครงสร้างประชากรที่มีกลุ่มคนวัยทำงานอายุ 25-49 ปี ในสัดส่วนกว่า 60% เป็นตลาดแรงงานสำคัญที่มีการศึกษาและมีทักษะเพิ่มขึ้น ดึงดูด FDI เพิ่มขึ้น เกิดการจ้างงานและกระตุ้นการบริโภคจากภาคเอกชนของเวียดนามที่มีสัดส่วนเกือบ 70% ของ GDP

นอกจากนี้ การบริโภคภายในประเทศช่วยหนุนอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของเวียดนาม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1% ในปี 2022 และ 3.5% ในปี 2023 แต่ยังคงต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 4% (ที่มา: CEIC, UN: World Population Prospects 2019 / CEIC, Krungsri Research, May 2021 / General Statistics Office (GSO) as of November 2021)

ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยสำคัญเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ที่เน้นการบริโภคในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยี นโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจ การลงทุนในพลังงานสะอาด (Green energy) รวมถึงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น

โดยตั้งเป้าการเติบโตของ GDP ในปี 2021-2025 ที่ระดับ 6.5-7.0% (ที่มา: Krungsri research: Reginal economic, Vietnam, May 2021 / Granthonton.com: Vietnam economic outlook, Jan 2022)

นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ เช่น การขนส่ง การศึกษา เพื่อให้มีการเติบโตในสัดส่วน 20% ของ GDP ภายในปี 2025 และ 30%ของภายในปี 2030 ให้เติบโตสอดคล้องกับความมั่งคั่งของผู้บริโภค และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มประชากรอายุน้อย คาดว่าขนาดของ Digital Economy เวียดนามจะอยู่ที่ประมาณ 52 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 (ที่มา: The e-Conomy SEA 2020 report by Google, Temasek and Bain & Company)

ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีปัจจัยสนับสนุนดังกล่าว ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามมีความน่าสนใจ มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยระดับราคาของตลาดหุ้นเวียดนามปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่ระดับ Forward P/E 15 เท่าในปี 2022 และคาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรต่อหุ้นประมาณ 20% และคาดว่าในปี 2023 จะเติบโตประมาณ 15% ถือเป็นจังหวะดีที่จะเข้าไปลงทุนตลาดหุ้นเวียดนามในช่วงนี้” นายอิศรา กล่าว (ที่มา: KIM Research, Bloomberg as of 21 March 2022)

ทั้งนี้ บลจ.วี จึงเปิดเสนอขาย IPO กองทุนเปิด วี เวียดนาม โกรท (WE-VIETGROWTH) ระหว่างวันที่ 21-28 เมษายน 2565 กองทุนมีระดับความเสี่ยงระดับ 6 (ความเสี่ยงสูง) ลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท โดยมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในประเทศเวียดนาม และ/หรือบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศอื่นแต่มีกิจกรรมทางธุรกิจหลักอยู่ในเวียดนาม ผ่านกองทุนหลัก KIM Vietnam Growth Fund ที่มีทีมจัดการลงทุนและวิเคราะห์ในประเทศเวียดนาม มีประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมายาวนาน และเน้นบริหารการลงทุนเชิงรุก (Active Management) ด้วยการคัดเลือกหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและมีศักยภาพเติบโตจากการบริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยไม่เน้นการลงทุนตามดัชนี ทำให้ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนโดดเด่นอย่างสม่ำเสมอ

ตัวอย่างบริษัทที่ลงทุนเช่น

1.) Sacombank (STB) ธนาคารเอกชนชั้นนำที่ให้บริการทางการเงินส่วนบุคคลและองค์กร รวมถึง

ให้บริการผลิตภัณฑ์ประกันภัยและการลงทุน

2.) FPT Corp. (FPT) บริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจหลักในด้านโทรคมนาคม , IT outsourcing และการศึกษา

3.) Techcombank (TCB) ธนาคารเอกชนชั้นนำในเวียดนาม ที่มีรากฐานทางการเงินที่ยั่งยืนและกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่น

4.) Quang Ngai Sugar (QNS) บริษัทที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมน้ำตาล การผลิตและการค้าเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร

5.) Mobile World (MWG) บริษัทค้าปลีกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน รวมถึงโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต แล็ปท็อป และอุปกรณ์เสริมต่างๆ

ทั้งนี้ ด้วยสไตล์การลงทุนที่เน้นเลือกหุ้นพื้นฐานแกร่ง และระดับราคาที่เหมาะสม ทำให้กองทุนหลัก KIM Vietnam Growth Fund ณ วันที่ 28 ก.พ. 2565 ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 1.4%  ย้อนหลัง 1 เดือนอยู่ที่ -0.6% ย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -0.7% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่  10.4%  ย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 50.3% ย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 109.5% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 73.8% เมื่อเทียบกับดัชนี VNIndex อยู่ที่ 7.2% ,0.2% , 5.6% , 9.2% , 32.7%, 73.0% และ 46.6% ต่อปี ตามลำดับ (แสดงผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ไม่ปรับเป็นอัตราต่อปี) (ที่มา: KIM Vietnam as of 28 Feb 2022)

“สกุลเงินเวียดนามที่มีเสถียรภาพดี เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามมีแนวโน้มที่จะเติบโตโดดเด่นควบคู่ไปกับการลงทุนในประเทศต่อไป ตลาดหุ้นเวียดนามจึงที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลกและกำลังจะถูกปรับสถานะจากการเป็นตลาดชายขอบ (Frontier Market) สู่การเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) กองทุนเปิด วี เวียดนาม โกรท (WE-VIETGROWTH) จึงเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่ บลจ.วี อยากแนะนำสำหรับการลงทุนในประเทศเวียดนามที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างชัดเจน” นายอิศรา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน), บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด, บล.โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน), บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บล.เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

รวมถึง บลน.เว็ลธ์เมจิก จำกัด, บล.เอเชียเวลท์ จำกัด, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด, บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน), บลน.ฐานเศรษฐกิจ แคปพิตอล จำกัด, บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บล.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน), บลน.ฟินโนมินา จำกัด, บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บลน.โรโบเวลธ์ จำกัด, บลน.เวลท์ รีพับบลิค จำกัด, บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด, บล.ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด, บล.สยามเวลธ์ จำกัด

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

โดยผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ขณะที่กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ทั้งนี้ เนื่องจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

Back to top button