“กสิกรไทย” ชี้เก็บภาษีขายหุ้น กระทบมูลค่าซื้อขาย-พีอีต่ำ ฉุดไอพีโอลดลง

“บล.กสิกรไทย” มองครม.ไฟเขียวเก็บภาษีขายหุ้น ปีแรกเก็บ 0.05% คาดว่ารัฐมีรายได้มากขึ้น 1-2 หมื่นลบ.ต่อปี แต่จะส่งผลเชิงลบต่อตลาด ทำให้มูลค่าซื้อขายของตลาดลดลง และค่า PE ของหุ้นและตลาดต่ำลง ต้นทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น จะลดแรงจูงใจในการเทรดของนักลงทุนนำบริษัทเข้าตลาด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยเกิดความผันผวนจากการแพนิก หลังแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้ดำเนินการจัดเก็บภาษีขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เรียบร้อยแล้ว โดยการจัดเก็บภาษีจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนที่ 4 นับจากกฎหมายเรื่องนี้มีผลบังคับใช้แล้ว หรือ มีระยะเวลาให้ปรับตัว 90 วัน

สำหรับภาษีนี้ต้องเก็บอัตรา 0.1% เพราะเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้โบรกเกอร์เป็นผู้จัดเก็บให้ เพราะต้องเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว ซึ่งการจัดเก็บจะมีทุกเดือนเช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างไรก็ดี ในปีแรกหลังกฎหมายบังคับใช้ จะให้เก็บในอัตราเพียง 0.055% โดยจะให้เวลาเตรียมตัว 3 เดือนก่อนเริ่มเก็บจริง จนถึงสิ้นปี 2566 ซึ่งหากกลับมาจัดเก็บ กระทรวงการคลังคาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หลังจาก ครม.รับหลักการแล้วจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบก่อน ยังไม่เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดเก็บในขณะนี้ ขณะที่กระทรวงการคลังได้แจ้งยกเลิกการแถลงข่าวของ รมว.คลัง ในช่วงบ่ายวันนี้โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล

สะท้อนจากนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KS ระบุว่าการเก็บภาษีขายหุ้น (FTT) ของภาครัฐ แม้จะทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น 1-2 หมื่นลบ. ต่อปี แต่จะส่งผลลบต่อตลาด โดยภาษี FTT จะทำให้ 1)มูลค่าการซื้อขายของตลาดลดลง เพราะ FTT จะลดแรงจูงใจในการเทรดของนักลงทุน โดยเฉพาะธุรกรรมในกลุ่ม high-frequency trading

2) ความนิยมในการซื้อขายหุ้นในตลาดที่ลดลง ส่งผลให้ค่า PE ของหุ้นและตลาดต่ำลง ต้นทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น

3) ลดแรงจูงใจในการนำบริษัทเข้าตลาดถ้า PE ไม่น่าจูงใจ

Back to top button