โผ 24 หุ้น รับเงินเฟ้อเม.ย.ต่ำสุดรอบ 16 เดือน CRC-CPALL-MAKRO-BJC นำทีม

คัด 24 หุ้น รับอานิสงส์เงินเฟ้อเดือนเม.ย.ชะลอตัวเหลือ 2.67% ต่ำสุดรอบ 16 เดือน เน้น “ค้าปลีก-ท่องเที่ยว-อสังหาฯ-เช่าซื้อ-ส่งออก-แบงก์” CRC-CPALL-MAKRO-BJC- HMPRO-SPVI-AOT-MINT-CENTEL-ERW-CPN-SPALI-LH-BRI-MTC-TIDLOR-SWAD นำทีม


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงทำการรวบรวมกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดัชนีเงินเฟ้อชะลอตัว จากกรณีกระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน เม.ย.66 เพิ่มขึ้น 2.67% จากตลาดคาดที่ 2.7% โดยชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือน 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงและราคาสินค้าหมวดอาหารบางตัวชะลอลง รวมทั้งฐานในเดือน เม.ย.65 อยู่ในระดับที่สูงแล้วจากช่วงก่อนหน้า โดยกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์มานำเสนอเพื่อพิจารณาลงทุนในช่วงนี้ดังนี้

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ว่ ปัจจัยดังกล่าวถือว่าเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทย อาทิ  1.กลุ่มค้าปลีก อาทิ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ CRC,บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7, บริษัท เอส พี วี ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SPVIและ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO

2.กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม อาทิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT, บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTELและ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ERW,

3.กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ CPN, SPALI, LH และ BRI,  4.กลุ่มเช่าซื้อ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)  หรือ MTC, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)  หรือ TIDLOR และ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD,

5.กลุ่มส่งออก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU, บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SAT บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH, และ บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE , 6.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB,บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK

ด้าน บล.กรุงศรี พัฒนสิน ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มเงินเฟ้อระยะถัดไปที่ชะลอตัวลง คาดเป็นบวกต่อกลุ่ม Consumer อาทิ CPALL,CRC, MAKRO, BJC โดยแนะนำ CPALL ราคาเป้าหมาย 70 บาท ภายใต้กิจกรรมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวฟื้นตัวแรง ช่วยหนุน SSSG ฟื้นตัวต่อเนื่อง และยังเน้นเปิดสาขา 700 แห่ง/ปี ควบคู่กับ การผลักดัน Margin เป้า 20 bps (กลุ่มอาหาร, Personal care) รวมถึง MAKRO คาดดีขึ้น ทั้งภาระดอกเบี้ยลด และ Synergy กับโลตัส หวังผลในครึ่งหลังปี 66

โดยรวมคาดกำไรปี 66 อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 47% และระยะสั้นไตรมาส 1/66 คาดกำไร 3.7 พันล้านบาท โต 6% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และ โต 27% เทียบไตรมาสก่อนหน้า จาก SSSG โต 8% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ดีทั้ง 7-11 และ MAKRO รวมถึง Gross margin ปรับเพิ่ม ช่วยลดผลกระทบค่าไฟ ราคาหุ้นซื้อขายบน PER23F 32 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยที่ 30-35x มองเป็นจุดทยอยสะสมได้ เนื่องจากกลุ่มค้าปลีก ยังมีโมเมนตัมบวก การเลือกตั้ง ส่วนใหญ่สนับสนุนการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน และงวดไตรมาส 2/66 ค่าไฟปรับลง ช่วยลดต้นทุน

ส่วน MAKRO แนะนำราคาเป้าหมาย 48.00 บาท คาดกำไรปี 66 โตแรง 1.1 หมื่นล้านบาท โต 47% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากฐานต่ำปีก่อน และการเปิดเมือง ท่องเที่ยว จะช่วยหนุนการบริโภคฟื้นแรง รวมถึงแผนบริษัทเชิงรุกทั้งค้าส่งและค้าปลีก เปิดสาขาใหม่เพิ่ม 18 แห่ง และ Format ใหญ่ 4 แห่ง

โดยระยะสั้น โมเมนตัมยังบวก SSSG ม.ค.-ก.พ. ปรับขึ้น 10-12% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดกำไรไตรมาส 1/66 จะปรับเพิ่ม เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนได้ ด้านราคาหุ้นหุ้นซื้อขายบน PER23F ที่ 37 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 32 เท่า โดยกลุ่มค้าปลีกยังมีโมเมนตัมบวกการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่สนับสนุนการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน และคาดหุ้นมีโอกาสเข้า MSCI รอบใหม่คาดประกาศต้น พ.ค. และมีผลปลาย พ.ค.

ด้านบล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ (3 พ.ค.66) ว่า อัตราาเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนเมษายนที่ 2.67% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 16 เดือน โดยลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.83% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 2.70% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาการโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ผักสด และเครื่องประกอบอาหารที่สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอลง

ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนเมษายนอยู่ที่ 1.66% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.75% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 1.70% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์คาดอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2566 จะชะลอลงมากจากฐานที่สูงในปีก่อน รวมถึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต่ำกว่าปีที่แล้ว และยังคงคาดการณเงินเฟ้อในปีปีนี้ที่ 1.7-2.7% (ค่ากลาง 2.2%)

โดยกสิกรไทยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยมีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องและอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. จากราคาต่างๆที่ขยายตัวชะลอลง และบางสินค้าราคาเริ่มทรงตัว รวมถึงฐานที่สูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังทยอยปรับเพิ่มขึ้นราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อหมวดพื้นฐานจะชะลอลง แต่ระดับราคาสินค้าในหมวดพื้นฐานยังคงทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากการบกรับต้นทุนของผู้ประกอบการในในช่วงที่ผ่านมา

สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งไปสู่ระดับ 2.00% ในกการประชุมเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องจากในกการประชุมรอบเดือนมีนาคมผ่านมากนง.ได้ส่งสัญญาณยังคงพร้อมที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง

โดยทางกนง. มีมุมมองห่วงปัญหาเงินเฟ้อ และมองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากภาการท่องเที่ยวและภาคการบริโภคเอกชน ขณะที่ปัญหำเสถียรภาพการการเงินของไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากหลังธนาคารบางแห่งในสหรัฐและยุโรปมีปัญหานอกจากนี้ผู้ว่าธปท. ได้แสดงความกังวลถึงความเสี่ยงสูงของเงินเฟ้อจากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ

Back to top button