BTG เดินหน้าธุรกิจ “โปรตีน-ฟู้ดส์” เสริมแกร่งรายได้อนาคต

BTG แผนการลงทุนในช่วง 3 ปี (ระหว่าง 2566-2568) อยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ลุยธุรกิจโปรตีน-ฟู้ดส์ เสริมแกร่งรายได้อนาคต เชื่อมั่นธุรกิจสุกร ไก่เนื้อ ครึ่งปีหลังแนวโน้มดีขึ้น พร้อมเดินหน้าขยายโรงงานเพื่อเพิ่มการผลิตเป็น 6 หมื่นตันต่อปี


นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าบริหารกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG  เปิดเผยข้อมูลถึงภาพรวมธุรกิจของบริษัทผ่านงาน Opportunity Day จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 66 กล่าวว่า สำหรับครึ่งหลังปี 2566 ราคาวัตถุดิบโดยรวมยังไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯเท่าไร เนื่องจากบริษัทยังสามารถจัดการวัตถุดิบให้เพียงพอกับการผลิต และต้นทุนบางกลุ่มมีแนวโน้มอ่อนตัวลง

ส่วนธุรกิจสัตว์เลี้ยงปัจจุบันบริษัทฯ มีแนวทางปรับสัดส่วนพอร์ตสู่สินค้าพรีเมี่ยมมากยิงขึ้น ซึ่งบริษัทฯอยู่ระหว่างขยายโรงงานเพื่อเพิ่มการผลิตเป็น 6 หมื่นตันต่อปี โดยคาดว่าจะเริ่มกำลังการผลิตได้ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 นอกจากนี้ประเมินว่ายอดส่งออกของผลิตกลุ่มพรีเมี่ยมดังกล่าวจะฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงครึ่งหลังปีนี้ จากความต้องการของลูกค้าในหลายประเทศ

ขณะที่แนวโน้มราคาสุกรทางบริษัทฯ มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่เบื้องต้นทางบริษัทฯยังยอมรับว่าในปัจจุบันยังได้รับแรงกดดันจาการลักลอบการนำเข้าของสุกรเถื่อนเพราะมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นความหวังหากสกัดการลับลอบนำเข้าสุกรเถื่อนได้เร็ว น่าจะเห็นราคาสุกรปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ซึ่งจะทำให้แรงกดดันดังกล่าวลดลง ขณะที่ราคาไก่เนื้อแม้ยังไม่สูงมากแต่ภาพรวมราคายังมีแนวโน้มดีขึ้นอีก จึงคาดว่ายอดการส่งออกจะดีขึ้น ซึ่งราคาชิ้นส่วนไก่ในประเทศค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ด้านราคาไข่ไก่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีจากปริมาณการผลิตคงที่

“ทั้งนี้แผนการลงทุนในช่วง 3 ปี (ระหว่าง 2566-2568) อยู่ที่ระดับ 5,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ลงทุนในสายธุรกิจโปรตีน และฟู้ดส์มีแผนการตลาดมากมายที่ยังต้องปรับปรุงเรื่องของสินค้า อาทิเช่นการปรับปรุงเรื่องของเช้วจัดจำหน่ายในห้างที่สำคัญที่ทางบริษัทฯยังมีความแข็งแกร่งอยู่ และมีการนำเสนอสินค้าใหม่แบบพรีเมี่ยมในรูปไส้กรอก และแฮมที่ยังมีการตอบรับได้ดีจากลูกค้า” นายวสิษฐ กล่าว

นายวสิษฐ กล่าวอีกว่าหากย้อนดูข้อมูลธุรกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 สำหรับวัตถุดิบอาหารสัตว์เลี้ยงอ่อนตัวลง เนื่องในเรื่องของการจัดการและส่วนของราคาสินค้าการเกษตรลักษณะอ่อนตัวลงบ้าง จึงทำให้ต้นทุนอาหารปรับตัวดีขึ้น

ขณะที่ธุรกิจสุกรมีชีวิตยังมีความน่าเป็นห่วงอยู่จากการรีพอร์ตของสมาคมจะเห็นว่าราคาสุกรยังได้รับผลกระทบจากภาวะที่มีการนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อนเข้ามาส่งผลให้กดดันราคาสุกรที่ยังมีชีวิตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และในช่วงปลายไตรมาส 2/2566 สำหรับธุรกิจไก่เนื้อ และลูกไก่มีการอ่อนตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากยอดการสั่งซื้อจากต่างประเทศปรับตัวลง แต่ในส่วนของไข่ไก่ยังอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจหลักๆ ของ BTG เรียนว่าในช่วงไตรมาส 2/2566 มีการเติบโต 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อพูดถึงช่วงครึ่งปีแรกมีการเติบโต 12.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เนื่องจากว่ามีการฟื้นตัวที่ดีจากภาวะการเลี้ยงปศุสัตว์สุกรที่มีปริมาณมากขึ้น ต่อมาลักษณะที่สองในส่วนของธุรกิจโรงเชือดสุกรมีการขยายตัวไปตามแผนขยายตัวของสุกรมีชีวิตอย่างต่อเนื่อง    

ในส่วนของไก่เนื้อมีการอ่อนตัวเล็กน้อยในเชิงของวอลุ่มเนื่องจากว่าครึ่งแรกปี 2566 ลดลง 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เหตุผลหลักมาจากในครึ่งแรกปี 2565 ต้องมีแครี่โอเวอร์สต็อกที่ต้องจัดจำหน่ายเนื่องจากเกิดภาวะโควิด-19 ในโรงงานไม่มีสต็อกสะสม และเกิดการหยุดคำสั่งซื้อในส่วนของลูกไก่เนื้อเข้ามาจึงทำให้ครึ่งปีอ่อนตัวลงเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับตามอุตสาหกรรมยังเติบโต 1.4%

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอินเตอร์เน็ตสเนลมีการเติบโตดีไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสุกร เนื้อสุกร โดยภายในครึ่งปีแรกเติบโต 143% และกลุ่มธุรกิจเนื้อไก่เติบโต 31% และเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเติบโต 80%

นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจเพรชในช่วงครึ่งปีแรก 2566 อ่อนตัวลงเล็กน้อยที่ระดับ 11% ซึ่งเป็นเรื่องของภาวะที่ตลาดมีการสั่งซื้อชะลอตัวลงเพราะปีที่ผ่านมาช่วงไตรมาส 3-4 มีการนำเข้าค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3-4

“สำหรับโรงงานอาหารสัตว์ปัจจุบันระบบทำงานได้เป็นอย่างดีได้รับเรตติ้งอุตสาหกรรม SIRI ที่ระดับ 4.3% และมีการเพิ่มการใช้อย่างต่อเนื่องที่ระดับ 85% ซึ่งที่สำคัญธุรกิจอาหารสัตว์มีการปรับพอร์ตสินค้าไปมีสัดส่วนมาร์จิ้นที่สูง โดยครึ่งปีแรกสัดส่วนอาหารสุกรมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 23% จากเดิม 19% จึงทำให้ความสามารถในการทำอัตรากำไรเฉลี่ยเป็น 22.8% จากเดิม 17%” นายวสิษฐ กล่าว

Back to top button