TU ผนึก “บพข.” อัดงบ 12 ล้านบาท เปิดตัวโครงการ “ระบบบำบัดน้ำทิ้งเป็นศูนย์”

TU ผนึก “บพข.” ภายใต้อว. อัดงบลงทุน 12 ล้านบาท ร่วมตั้งโครงการ “ต้นแบบระบบบำบัดน้ำทิ้งเป็นศูนย์” ลดต้นทุนปีละ 27.80 ล้านบาท ปรับโฉมอุตสาหกรรมทะเลไทย มุ่งสู่กลยุทธ์ SeaChange 2030


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (28 มี.ค. 67) บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก ผนึกกำลัง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประกาศความสำเร็จนำร่องโครงการ “การพัฒนาต้นแบบระบบบำบัดน้ำทิ้งเป็นศูนย์” (Zero Wastewater Discharge) เกิดศูนย์การเรียนรู้ระบบการบำบัดน้ำเพื่อการหมุนเวียนน้ำทิ้งนำกลับมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารภายใต้กลยุทธ์ SeaChange 2030 มุ่งกระบวนการบำบัดลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยโครงการแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า โครงการ “Zero Wastewater Discharge” นี้ เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในลักษณะระบบต้นแบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นศูนย์ โดยการนำมาเข้าสู่กระบวนการหมุนเวียนและการจัดการ ซึ่งสามารถใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ที่ผู้ผลิตต้องการใช้ทรัพยากรน้ำเป็นจำนวนมาก และโครงการดังกล่าวยังสามารถเป็นศูนย์ความรู้ (Learning Center) ให้กับผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยต่อไปได้

ด้านรศ. ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการ บพข. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวเป็นความรู้มือภายใต้ภาครัฐและเอกชน ก่อให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ในวงกว้าง ซึ่งมีความยินดีที่ได้รับโอกาสจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นภาครัฐที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานในครั้งนี้ ช่วยกันจัดสรรน้ำทุกหยุดให้มีคุณค่า และเป็นความภาคภูมิใจในการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยยกระดับขีดความสามารถลการแข่งขันของเอกชนภาคใหญ่ ขณะเดียวกัน ธุรกิจรายย่อยหรือ SME ก็ยังสามารถเข้ามาเรียนรู้งานและนำไปต่อยอดในธุรกิจได้ นำไปสู่ความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อมและพาณิชย์ ด้วยพลังปัญญาชน สร้าง Soft power พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปพร้อมกับความยั่งยืน

“โครงการ Zero Wastewater Discharge ใช้เม็ดเงินลงทุนวิจัยและพัฒนารวม 12 ล้านบาท ซึ่งทางบพข. ได้วางเงินลงทุนตั้งต้นไว้จำนวน 3.6 ล้านบาทรวมกับของไทย ยูเนี่ยนอีกจำนวน 8.4 ล้านบาท โดยเป็นการผลักดันความร่วมมือในการเปลี่ยนโฉมทางสิ่งแวดล้อม และเป็นการลดต้นทุนของไทย ยูเนี่ยนเช่นกัน ซึ่งในปี 2567 บพข. ได้มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านความยั่งยืน ไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท รวมถึงส่งเสริมให้มีการพัฒนาพลังงานทดแทน การผลิตพลังงานสะอาด เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมภายในประเทศ” รศ. ดร.ธงชัย กล่าว

นายสุทธิเดช อมรเกษมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจปลา ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวอีกว่า โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนสู่ปลายน้ำ ซึ่งมีหัวใจหลักคือการทำงานเป็นทีมขององค์กร (TPM) ตั้งแต่ต้นกำเนิด กระบวนการผลิต ตลอดจนผลผลิตที่ได้มา สามารถสร้างความตระหนักของบุคลากร ร่วมกับการดึงเทคโนโลยีมาใช้ตรวจวัดปริมาณน้ำเพื่อติดตามการใช้น้ำในแต่ละวัน เป็นส่วนช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จมากขึ้น สอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ SeaChange 2030 โดยบริษัทวางบลงทุนจำนวน 8.4 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะดำเนินต่อยอดโรงงานหลักของไทยยูเนี่ยน 5 แห่ง ให้สำเร็จ 100% ภายในปี 2573 ลดการใช้ทรัพยากรให้ได้ 1/3 และสร้างประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมทางทะเลให้ได้มากที่สุด ซึ่งโครงการนี้ส่งผลให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึงปีละประมาณ 27.80 ล้านบาท

สำหรับแนวทางการดำเนินงานระบบบำบัดน้ำทิ้งให้เป็นศูนย์ของบริษัท คือการใช้ระบบบริหารจัดการที่ต้นทางทั้งในส่วนวิศวกรรมและกระบวนการผลิตพร้อมปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เทียบเท่าและใช้แทนน้ำประปาได้ โดยลดการใช้น้ำลงให้เหลือราว 4,000 คิวบิกเมตรซึ่งเป็นการนำน้ำเสีย (Waste Water) ที่ได้มาจากเลือดปลาและสิ่งสกปรกต่างๆที่มาทางทะเล นำมากรรมาวิธีใช้การกรองออกมาเป็น Raw Water ที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด นำไปสู่การใช้การกรองโดยระบบ Ultra Filtration (UF) เพื่อกรองเอาสารแผ่นลอยออกมาเป็นผลผลิตทั้งหมดราว จากนั้นนำไปผ่านระบบ Reverse Osmosis (RO) เป็นมาตรฐานน้ำดื่มโดยทั่วไป และคาดการณ์กระบวนการนี้จะสามารถกรองน้ำออกมาได้ทั้งหมดวันละ 1,000-1,200 คิวบิกเมตร ลดการใช้ต้นทุนจากการใช้น้ำประปาให้เหลือเพียง 14 บาท และเชื่อว่าบริษัทจะมีจำนวนน้ำเหลือทิ้งทั้งหมดราว 2,600-3,000 คิวบิกเมตร

ส่วนน้ำที่ถูกคัดแยกออกจากกระบวนการ UF และ RO ที่ยังมีคุณภาพน้ำที่ดีจะถูกนำไปล้างพื้น ทำความสะอาดรถบรรทุกหรือล้อรถบรรทุกโดยน้ำที่ถูกนำไปใช้ทำความสะอาดเสร็จแล้วจะถูกหมุนเวียนกลับเข้าระบบ UF และ RO ไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เหลือทิ้งออกสู่ภายนอก

“โครงการบำบัดน้ำเสียนี้ อยู่ภายใต้กลยุทธ์ SeaChange 2030 ที่บริษัทดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีกระแสด้านสิ่งแวดล้อม (ESG) โดยบริษัทยังคงมุ่งเน้นและให้ความสำคัญมากโดยตลอดจนถึงปัจจุบันในหลายๆมิติทั้งหมด 11 โครงการในการจัดการภาพรวมด้านสิ่งแวดล้อม และโครงการนี้ก็ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทจะมุ่งเน้นด้านการผลิตที่เป็นเลิศ ครอบคลุมทุกห่วงโซ่อุปทาน การประมงในไทยและแรงงาน ตลอดจนโภชนาที่มีประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาและบรรจุภัณฑ์ที่ดี” นายสุทธิเดช กล่าว

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการลดน้ำเสียอันมีก๊าซมีเทนที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลงได้ ถือว่าเป็นต้นแบบและเป็นจุดประกายที่สามารถต่อยอดเป้าหมายร่วมกับระดับประเทศในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปี 2593

ขณะที่นายอดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวอีกว่า บริษัทมุ่งปรับโฉมอุตสาหกรรมทางทะเลในหลายๆมิติ ผลักดันเปลี่ยนแปลงเชิงบวกใน 5 ด้าน 11 ประการ ผ่านกระบวนการในองค์กรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และตั้งเป้าหมายที่จะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 40% ในปี 2573 ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งคู่ค้าของบริษัท อาทิ ฟาร์ม, ประมง และบริษัทในเครือต่างๆ สะท้อนความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมทะเล และยังคาดการณ์ว่าจะมีโครงการนำร่องอื่นๆ ที่สามารถสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อีกหลายๆโครงการในปีนี้อีกแน่นอน

Back to top button