ศาลยุติธรรม เปิดแผนกคดี “อาชญากรรมเทคโนโลยี-ฟอกเงิน” เร่งขั้นตอนคดี “ไซเบอร์” เริ่มวันนี้

ศาลยุติธรรม เปิดแผนกคดีอาชญากรรมเทคโนโลยีและคดีฟอกเงินในศาลแพ่ง พร้อมผู้เชี่ยวชาญประจำแผนก มุ่งจัดการคดีเฉพาะทางสร้างความเที่ยงธรรมรวดเร็วเริ่มทำการ 2 เม.ย.67


ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (2 เม.ย.67) นายสรวิศ ลิมปรังษี โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา พร้อมด้วย นายธานี สิงหนาท เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม, นายยอดชาย วีระพงศ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา, นายอมรรัตน์ กริยาผล

อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สำนักงานศาลยุติธรรม, ศาลอาญา, ศาลแพ่ง ร่วมพิธีเปิดแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา รวมถึงแผนกคดีฟอกเงินและมาตรการทางแพ่งในศาลแพ่ง

โดยแนวทางการจัดตั้งแผนกคดีใหม่ทั้งสองถือเป็นนโยบายสำคัญของประธานศาลฎีกา ในเรื่องความ “เที่ยงธรรม” (Fairness) มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการคดีเพื่อสร้างความยุติธรรมที่รวดเร็ว ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษในกฎหมายแต่ละประเภทคดีปฏิบัติหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชน ด้วยความโปร่งใส ไร้อคติ อันเป็นหลักประกันแห่งสิทธิและเสรีภาพแก่คู่ความและประชาชนทั้งทางแพ่งและอาญา

ทั้งนี้การจัดตั้งแผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในศาลอาญา สำนักงานศาลยุติธรรม จะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีที่

มีลักษณะเป็นอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นไปโดยรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงประชาชน จนต้องสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และผู้กระทำผิดนั้นใช้วิธีการที่ซับซ้อน

อีกทั้งยังมีผู้ร่วมกระทำผิดหลายรายเป็นเครือข่ายเพื่อให้ได้ทรัพย์สิน และปกปิดอำพรางการกระทำความผิด ดังนั้นการสืบสวนตลอดจนการนำพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดในชั้นศาลจึงต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นการเฉพาะด้วย ซึ่งประธานศาลฎีกาลงนามประกาศ ก.บ.ศ.จัดตั้งแผนกคดี ฯ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 67 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 67 ต่อมาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกประกาศให้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 67 เป็นต้นไป

สำหรับ “คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี” ที่จะเข้าสู่การพิจารณาคือ คดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คดีความผิดฉ้อโกง และกรรโชกหรือรีดเอาทรัพย์ ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมถึงความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยแผนกคดีนี้มีอำนาจพิจารณาพิพาษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจ และที่โอนมาตามกฎหมาย เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดียาเสพติดแผนกคดีค้ามนุษย์ ขณะที่ยังให้พิจารณาเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย

ส่วนการบริหารจัดการในแผนกคดีนั้นจะให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนก 1 คน ซึ่งเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นผู้พิพากษาประจำในแผนก พร้อมทำหน้าที่เป็นองค์คณะออกนั่งบัลลังก์พิจารณาพิพากษาคดี และช่วยเหลืองานผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกฯ ในการบริหารและดำเนินงานต่างๆ ของแผนกให้เป็นไปโดยเรียบร้อยด้วย

ด้าน “แผนกคดีฟอกเงินและมาตรการทางแพ่งในศาลแพ่ง” ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ได้ลงนามเมื่อเดือน ธ.ค.66 ให้จัดตั้งแผนกคดีฟอกเงินฯ ตามแนวทางที่ศาลแพ่งเสนอโครงการ เพื่อให้การบริหารจัดการคดีฟอกเงินและมาตรการทางแพ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านความรวดเร็ว ด้านการ

Back to top button