จับตา ครม. เคาะแพ็กเกจกระตุ้น “อสังหาริมทรัพย์” ดันไทยสู่ฮับอุตสาหกรรมโลก

จับตาการประชุม ครม. มีประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยน์ต่อตลาดหุ้น โดยเฉพาะมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์และการเตรียมรองรับการดำเนินการยกระดับประเทศสู่ศูนย์กลางเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก ที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอให้พิจารณา


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 เม.ย. 67) การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันนี้ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานการประชุม มีหน่วยงานเสนอเรื่องและวาระน่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ที่กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเตรียมรองรับการดำเนินการยกระดับประเทศสู่ศูนย์กลางเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก (Thailand Vision)  โดยมาตรการดังกล่าวจะปรับปรุงมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียม และมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

1 การปรับปรุงมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2567 โดยให้ขยายเพดานมูลค่าที่อยู่อาศัยที่ได้รับค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ซื้อบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ต้องการที่อยู่อาศัย  และผู้ขายที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งอาคารที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์และห้องชุด ในราคาซื้อขายและค่าประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาท โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธ.ค.2567

2 มาตรการลดหย่อยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกบ้าน โดยรายงานข่าวระบุด้วยมาตราการนี้โดยกระทรวงการคลังยังได้เสนอมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลธรรมดาที่มีการสร้างบ้านในช่วงเวลาที่มีการดำเนินมาตรการ โดยมีการกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 มาตรการการสนับสนุนการมีบ้านของผู้มีรายได้น้อย ผ่านโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home ซึ่งโครงการนี้รัฐบาลร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)เพื่อสนุบสนุนให้ประชาชนที่ยังไม่มีบ้านมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท

4 การพิจารณามาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุน และกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีการหารือและนำเสนอโดยภาคเอกชนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น สมาคมการค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ฯ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งมีข้อเสนอมายังภาครัฐซึ่งได้มีการรวบรวมและนำไปศึกษาข้อดีข้อเสียต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง เสนอ กรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2568 เพิ่มขึ้นอีก 152,700 ล้านบาท เป็น 3.752 ล้านล้านบาท ตามมติของที่ประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

Back to top button