BANPU ไตรมาส 1 พลิกขาดทุน 483 ล้านบาท หลังธุรกิจถ่านหิน-ก๊าซกดดัน

BANPU ไตรมาส 1/68 พลิกขาดทุน 482.59 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 1,551.53 ล้านบาท จากยอดขายถ่านหินและปริมาณผลิตลดลง แต่ยังมีสัญญาณบวกแผนลงทุนระบบกักเก็บพลังงาน- EV


บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2568 พบว่าพลิกขาดทุนสุทธิ ดังนี้

บริษัทรายงานผลดำเนินการงวดไตรมาส 1/68 พลิกขาดทุนสุทธิ 482.59 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันมีกำไรสุทธิ 1,551.53 ล้านบาท โดยมีสาเหตุธุรกิจเหมืองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียรายงานปริมาณการขาย 5.90 ล้านตัน ลดลง 15% จากไตรมาสก่อน โดยมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 80.65 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สะท้อนการชะลอตัวของความต้องการถ่านหินในช่วงที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ ได้บริหารจัดการการขายให้สอดคล้องกับทิศทางของตลาด เพื่อให้เหมาะสมกับระดับราคาและการแข่งขันในช่วงเวลาดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ต้นทุนขายเฉลี่ยปรับลดลงมาอยู่ที่ 49.55 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง 2% จากไตรมาสก่อนหน้า จากการดำเนินมาตรการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ด าเนินงาน ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นยังคงอยู่ในระดับที่ดีที่ 40%

ขณะที่ ธุรกิจเหมืองถ่านหินในประเทศออสเตรเลีย รายงานปริมาณการขายที่ 1.24 ล้านตัน ลดลง 33% จากไตรมาสก่อนจากการย้ายเครื่องจักร Longwall ของเหมือง Springvale ตามแผน อีกทั้งเหมือง Mandalong อยู่ระหว่างการเตรียมติดตั้ง อุปกรณ์เสริม (bolt-up) สำหรับการย้ายเครื่องจักร Longwall ตามแผนในเดือนเมษายน

โดยปริมาณขายในการส่งออกอยู่ที่ 0.19 ล้านตัน ที่ราคาขายเฉลี่ยที่ 162.91 เหรียญออสเตรเลียต่อตัน ลดลง 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนอันเป็นผลจากราคาขายส่งออกเฉลี่ยที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 184.06 เหรียญออสเตรเลียต่อตัน หรือลดลง 13% เทียบกับไตรมาสก่อน ตามทิศทางราคาตลาดถ่านหินโลก ในขณะที่ปริมาณขายในประเทศมี 1.05 ล้านตัน และมีราคาขายในประเทศยังคงทรงตัวที่ 158.96 เหรียญออสเตรเลียต่อตันจากการเจรจาราคาซื้อขายถ่านหินกับโรงไฟฟ้าในประเทศล่วงหน้าตามรอบของสัญญา ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากราคาตลาดโลกที่มีความผันผวน

ทั้งนี้ แม้ปริมาณการผลิตจะลดลง แต่จากการควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่องและเข้มงวด ทำให้ต้นทุนขายเฉลี่ยปรับลดลงมาอยู่ที่ 175.08เหรียญออสเตรเลียต่อตัน ลดลง 2% จากไตรมาสก่อน

ส่วนธุรกิจเหมืองถ่านหินในประเทศจีน รายงานส่วนแบ่งกำไร 10.24 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 42% จากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนผลกระทบจากราคาขายถ่านหินในประเทศที่ปรับตัวลดลงตามความต้องการที่อ่อนตัวลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ

ธุรกิจก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา ธุรกิจก๊าซธรรมชาติรายงานปริมาณขายที่ 68.49 พันล้านลูกบาศก์ฟุต (Bcf) ลดลง 4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีราคาขายเฉลี่ยในท้องถิ่นอยู่ที่ 3.28 เหรียญสหรัฐต่อพันลูกบาศก์ฟุต (Mcf) เพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

การปรับตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาดที่ได้รับแรงหนุนจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศที่ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อันเป็นผลจากการลดกำลังการผลิตลงจากผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องประกอบกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา นอกจากนี้ บริษัทมีต้นทุนขายและการให้บริการอยู่ที่ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 898 ล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มีการขยายพอร์ตการลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เพื่อรองรับเป้าหมายการเป็นผู้ให้บริการพลังงานสะอาดแบบครบวงจร โดยในไตรมาสที่ผ่านมา มีพัฒนาการสำคัญหลายด้าน อาทิ การลงนามร่วมพัฒนาโครงการระบบกักเก็บพลังงาน Kamigumi-Tokyo BESS ขนาด 8 เมกะวัตต์ชั่วโมง ร่วมกับ Kamigumi Co., Ltd. มูลค่าโครงการรวม 623 ล้านเยน โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงโตเกียวจำนวน 290 ล้านเยน สำหรับธุรกิจซื้อขายไฟฟ้าบริษัทฯ มียอดขายไฟฟ้ารวม 2,020 กิกะวัตต์ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่บริการ 9 เขต สำหรับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (E-mobility) บริษัทฯ เดินหน้าขยายเครือข่ายสถานีชาร์จอย่างต่อเนื่อง รวม 21 แห่ง

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 1/68 กลุ่มบริษัทรายงานผลขาดทุนสุทธิจำนวน 14 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 57 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 133% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่กำไรขั้นต้นสูงกว่าไตร มาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจถ่านหินมีผลประกอบการลดลงเพียงเล็กน้อยแม้ว่าราคาตลาดของถ่านหิน ปรับตัวลงลง โดยเป็นผลจากปริมาณขายถ่านหินรวมเพิ่มขึ้นและมีต้นทุนขายเฉลี่ยต่อตันที่ลดลง รวมถึงผลประกอบการ ของธุรกิจก๊าซที่ดีเป็นผลจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทมีการรับรู้ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าของสกุลเงินบาทต่อสกุลเงินสหรัฐ และการอ่อนค่าของสกุลเงินอินโดนีเซียรูเปียห์ต่อสกุลเงินสหรัฐในระหว่างไตรมาส รวมถึงมีการรับรู้ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน โดยกลุ่มบริษัทยังคงดำเนินมาตรการในการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม
เพื่อให้บริษัทสามารถเผชิญความท้าทายจากความผันผวนของตลาดพลังงานได้อย่างมั่นคงและมุ่งเน้นการสร้างกระแสเงินสดได้อย่างต่อเนื่อง

Back to top button