เปิด 3 หุ้นเด่นโบรกฯ แนะลงทุน-มีประเด็นหนุนรับมือตลาดหุ้นผันผวน

เปิด 3 หุ้นเด่นโบรกฯ แนะลงทุน-มีประเด็นหนุนรับมือตลาดหุ้นผันผวน


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจรวบรวมบทวิเคราะห์ที่แนะนำการลงทุนในภาวะดัชนีผันผวน โดยแนะนำเล่นหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและมีปัจจัยหนุน อาทิ หุ้นที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

โดย บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ (20 ส.ค.62) การประกาศตัวเลข GDP Growth งวด ไตรมาส 2/62 ที่ 2.3% น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้ภาครัฐต้องเร่งระดมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติม และเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลงมาอีกรอบหนึ่ง ส่วนประมาณการกำไรของบริษัทจดทะเบียนปี 2562 อาจมี Downside ราว 2-3% จากตัวเลข EPS เดิมที่ 103.3 บาท/หุ้น Top Picks วันนี้เลือก TASCO ([email protected]), FPT ([email protected]) และเพิ่ม BCH (FV@B21)

เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอ หนุนให้จีนและเยอรมันเดินหน้ากระตุ้น

สำหรับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่ยังคงมีอยู่ ทั้ง 2 ฝั่งขึ้นภาษีนำเข้า 3 รอบ  และประเด็น Tech war ระหว่างสหรัฐกับจีน  แม้ช่วงสั้นจะผ่อนคลายคือ วานนี้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ต่อใบอนุญาตออกไปอีก 90 วัน ให้บริษัท Huawei (ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมอันดับ 1 ของโลกสัญชาติจีน) ส่งผลให้ Huawei ยังสมารถทำธุรกิจกับบริษัทสหรัญต่อไปได้จนถึงประมาณวันที่ 18 พ.ย. 2562) หลังจากก่อนหน้านี้ Huawei ถูกขึ้นบัญชีดำ (Entity List) ที่ห้ามทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม แต่สหรัฐได้เพิ่มรายชื่อบริษัทย่อยของ Huawei จำนวน 46 บริษัท เข้าไปใน Entity List ซึ่งยังถือเป็นความเสี่ยงต่อบริษัทเทคโนโลยีในจีน โดยรวมส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลง และหนุนให้และประเทศต่างๆทั่วโลก หันมาเร่งออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการเงินและการคลัง

 

GDP Growth ไทยไตรมาส 2/62 ต่ำคาดและต่ำสุดในรอบ 5 ปี

สภาพัฒน์ฯรายงาน GDP Growth งวดไตรมาส 2/62  ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่2.3%yoy ต่ำสุดในรอบ 4 ปี 9 เดือน และต่ำกว่า  ASPS คาดที่ 2.7%   สาเหตุที่ GDP งวดนี้ต่ำกว่าคาดเนื่องจากเกือบทุกตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะลอตัวลง (รายละเอียดดังรูป)  แต่หลักๆ คือ ภาคส่งออก (ราว 68%ของ GDP) ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรง เห็นได้จากส่งออกงวดไตรมาส 2/62 (หน่วยดอลลาร์) หดตัวเฉลี่ย 3.8% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนและในหน่วยบาทสูงถึงหดตัว 6.1% จากเงินบาทต่อดอลลาร์ที่แข็งค่าเฉลี่ยราว 1.2% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนในงวดไตรมาส 2/62 และจากการใช้จ่ายภาครัฐ(G) ขยายตัว 1.1% ลดลงจากไตรมาส 1/62 ที่ 3.4% จากการเบิกจ่ายที่ลดลงเนื่องจากเป็นไตรมาสที่การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า

ยกเว้นเพียงลงทุนภาครัฐที่พลิกกลับมาขยายตัว 1.4% หลังจากหดตัว 0.1% ในงวดก่อนจากการเร่งเบิกจ่ายเพื่อการก่อสร้าง อาทิ รถไฟสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, รถไฟทางคู่ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น  โดยรวมทำให้ GDP Growth ไทยเฉลี่ย 1H62 ขยายตัวเฉลี่ย  2.6%

โดย ASPS ประเมินว่า GDP Growth ปี 2562 มีความท้าทายอย่างมากหากจะให้ขยายตัวเกิน 3% (โดยฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการณ์ GDP ที่  2.7%ที่เดิม และคาดงวดไตรมาส 3-4/2562 จะต้องขยายตัวเฉลี่ยอย่างต่ำราว  2.7-2.8%)

สำหรับปัจจัยที่ท้าทายในช่วงครึ่งปีหลังของปี 62 ยังคงให้น้ำหนัก คือ  ภาคส่งออกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง โดยเฉพาะจีน  เนื่องจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีนที่ยังยืดเยื้อและ มีโอกาสที่จีนจะถูกสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้ารอบที่ 4 วงเงิน  1.1 แสนล้านเหรียญฯในวันที่ 1 ก.ย. และเงินบาทที่แข็งค่า และงวดไตรมาส 4/62 ปีนี้จะได้รับผลกระทบจาก  งบประมาณภาครัฐล่าช้า   โดยเฉพาะงบลงทุนที่ยังไม่มีการก่อนหนี้ผูกผัน  (สศค. ประเมิน เม็ดเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจราว 7-8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.56% ของ GDP ปี 2561)

รัฐบาลและ ธปท. เชื่อว่าจะเร่งออกมาตรการกระตุ้นทั้งการคลังและการเงิน

ทั้งนี้ปัจจัยท้าท้ายต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 62 ดังกล่าวข้างต้น  ทำให้เชื่อว่ารัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องเร่งเดินหน้าออกมาตรการทั้งการเงินและการคลังเพิ่มเติมที่มากกว่าปัจจุบันที่ทำอยู่เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอลง  ดังนี้

สำหรับมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ  ดังที่นำเสนอใน market talk เมื่อวานนี้ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติมาตรการวงเงิน 3.16 แสนล้านบาท  ซึ่งจะเสนอให้ ครม. อนุมัติวันนี้ คือมุ่งไปที่ 3 กลุ่มคือ การบริโภคครัวเรือน  ท่องเที่ยว และ การลงทุนเอกชน ดังรูป

อย่างไรก็ตามเม็ดเงินจากมาตรการดังกล่าว ที่คาดว่าจะอัดฉีดเข้าไประบบเศรษฐกิจได้ทันทีจากวงเงินทั้งหมด  3.1 แสนล้านบาท เชื่อว่าจะมีเพียงราว 3-4 หมื่นล้านบาท (หรือ  0.25% ของ GDP ไทย ปี 2561ที่อยู่ราว  16.3 ล้านล้านบาท) อาทิ  มาตรการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 1,000 บาท จาก 500 บาท,  อัดฉีดเงิน 1,000 บาทท่องเที่ยวที่มิใช่ภูมิลำเนา เป็นต้น  ซึ่งไม่น่าเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 62  โดย ASPS คาดว่ารัฐบาลจะต้องเร่งออกมาตรการอื่น อาทิ ช็อปช่วยชาติ, การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง 10% (กำลังพิจารณา) เป็นต้น

โดยเชื่อว่ามีโอกาสที่ กนง. อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ราว 25 bps   (หลังจาก ต้นเดือน ส.ค. ลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี 5 เดือน จาก 1.75% เป็น 1.5%) ทำให้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และ ธนาคารของรัฐทยอยปรับลดลง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้  MOR และ MRR  ดังที่นำเสนอใน market talk 15 ส.ค.

ตลาดหุ้นอยู่ในโหมดผันผวน ชอบหุ้นมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว BCH, TASCO, FPT

ตลาดหุ้นโลกเริ่มฟื้นตัวจากการปรับฐานแรง เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ที่เดือน ส.ค. 62 ปรับฐานลงมาทำจดต่ำสุด ณ 15 ส.ค. 62 ลดลงถึง 121 จุด หรือ 7.1% ก่อนจะฟื้นกลับมา 46 จุด เหลือลบ 74 จุด หรือ 4.4% (mtd) อยู่ที่ 1637.26 จุด เป็นปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับตลาดหุ้นสำคัญๆของโลก ยกเว้นตลาดหุ้นเซียงไฮ้ของจีนเพียงแห่งเดียวที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเล็กน้อย 0.04%(mtd)

ในช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยยังขาดแรงขับเคลื่อนจาก Fund Flow ที่ไหลออกในเดือน ส.ค. กว่า 4.4 หมื่นล้านบาท (เป็นเดือนที่ขายสุทธิมากสุดในปี 2562) และต่อจากนี้ต้องเผชิญกับอีกหลายบททดสอบ ทั้งตัวเลข GDP ไทย งวด 2Q62 ที่ออกมาต่ำกว่าคาด อยู่ที่ 2.3% และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐน่าจะเข้ามาช่วยหนุนเร็วสุดได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้ GDP ไทยมีโอกาสชะลอลงใน ไตรมาสถัดไป รวมถึงความกังวลเศรษฐกิจโลกมีโอกาสชะลอตัวลง สังเกตได้จากหลายๆ ประเทศเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทั้งจีนและเยอรมนี

สภาวะความไม่แน่นอนดังกล่าว กลยุทธ์ในการลงทุนเน้นหุ้น Domestic ที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว ชอบ BCH, TASCO และ FPT มีปัจจัยสนับสนุนทางพื้นฐานดังนี้

BCH (ราคาเป้าหมาย 21.00 บาท) จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวกต่อธุรกิจของ BCH มากขึ้น โดยเชื่อว่า World Medical Hospital (WMC) จะกลับมามีกำไรโดนเด่นอีกครั้ง เพราะเข้าสู่ช่วง High Season รวมทั้งปัจจุบันขยายศูนย์แผลเบาหวาน OPD ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว รวมถึงหมอแม่เหล็กจะให้เวลาทำงานร่วมกับ WMC เพิ่มขึ้น จึงช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของ WMC ได้ ขณะที่กลุ่มประกันสังคมก็เริ่มเห็นสัญญาณบวกชัดเจนขึ้น

โดยไตรมาส 3/62 มีโอกาสรับเงินเพิ่ม จากที่บันทึกบัญชีน้อยกว่าที่ได้รับจริงอีกราว 50-60 ล้านบาท รวมถึงยังมีโอกาสที่สำนักงานประกันสังคมปรับเพิ่มงบประมาณค่าบริการในปี 2563 อีก 10 – 15% ตามข้อเสนอของสมาคมฯ หนุนกำไรเพิ่มขึ้นได้ราว 20%  ภาพรวมจากสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside สูงถึง 34% จากมูลค่าพื้นฐานที่ 21 บาท จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน

TASCO (ราคาเป้าหมาย 22.50 บาท) แม้แนวโน้มกำไรครึ่งปีหลังของปี 62 จะอ่อนตัวลงเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 62 จากตลาดในประเทศที่ได้รับผลจากการจัดทำงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2563 ที่ล่าช้า แต่ทิศทางราคายางมะตอยที่เริ่มขยับขึ้นอีกครั้งในเดือน ก.ค. ประกอบกับเงินสินไหมประกันภัยที่คาดว่าจะได้รับเข้ามาอีกก้อนหนึ่งในไตรมาส 4/62 ทำให้ฐานกำไรครึ่งปีหลังยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  ขณะที่มุมมองธุรกิจยางมะตอยในระยะยาวเป็นบวก จากมาตรฐานสิ่งแวดล้อมขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO2020) ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 63 ทำให้เกิดการ Upgrade โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้มีปริมาณยางมะตอยออกสู่ตลาดน้อยลง ถือเป็นอีกปัจจัยบวกสำคัญที่ช่วยหนุนราคายางมะตอย เชื่อราคาหุ้น TASCO เพิ่งเริ่มฟื้นตัว (หลังสะท้อนมุมมองเชิงลบต่อผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังไปแล้ว) โดยมี Upside เปิดกว้างถึง 22.3% จาก Fair value ที่ 22.50 บาท ยังจูงใจให้น่าลงทุน

และยังชื่นชอบ  FPT (ราคาเป้าหมาย 20.30 บาท) จากภาพธุรกิจที่ชัดเจนขึ้นหลังการซื้อ GOLD สำร็จ บวกกับธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้น

Back to top button