AFIN จับมือ “มูนช็อต-ซันเทค” รุกแพลตฟอร์มเทรด Carbon Credit

AFIN จับมือ “มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล - ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน" ลุยพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขาย Carbon Credit ด้วยคริปโต


เซบาสเตียน โจแฮนส์สัน ผู้อำนวยการใหญ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ AFIN แพลตฟอร์มสะพานในการเชื่อมต่อโลกของคริปโตฯ และความยั่งยืนให้ก้าวไปด้วยกัน เผยมุมมอง “ปัญหาโลกร้อน” ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตคนทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นฤดูการที่แปรปรวน ฝนตกไม่ตามฤดู อากาศหนาวจัด หรือร้อนจัดในบางพื้นที่สิ่งเหล่านี้เป็นผลมาจากการที่เราดำเนินชีวิตและพัฒนาโลกโดยที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลานานไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินการขุดน้ำมันหรือการใช้รถซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ออกมาทำลายชั้นบรรยากาศ

นับวันผลกระทบเหล่านี้ยิ่งทวีความรุณแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้นำแต่ละชาติและบริษัทต่าง ๆ เริ่มเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีส่วนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดหรือชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติให้ได้มากที่สุด นำมาสู่แนวคิดของการเป็น Net Zero คือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยทั่วไปการเกิด Net Zero ด้วยตัวองค์กรเองทำได้ยากมาก เนื่องจากเป็นการยากที่จะผลิตพลังงานสะอาดใช้อย่างเพียงพอภายในองค์กรเอง การจะเป็น Net Zero ได้นั้นจำเป็นต้องซื้อ Carbon Credit ขององค์กรอื่นมา Offset หรือการหักลบกับส่วนขององค์กรตัวเองเพื่อจะได้หักลบกันพอดีเป็น Net Zero จึงเกิดตลาดการค้าขาย Carbon Credit”

ปัจจุบันโลกของ “คริปโตเคอเรนซี่” กำลังได้รับความสนใจและเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่ง AFIN ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะทำให้ตลาดการซื้อขาย Carbon Credit เข้าถึงองค์กรต่างๆ ได้มากขึ้นและง่ายขึ้นผ่านการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตฯเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแทน แพลตฟอร์มนี้จะมาช่วยเสริมให้เป้าหมายของ AFIN ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และทำให้การเข้าถึงกิจกรรมเพื่อช่วยโลกร้อนขององค์กรต่าง ๆ สามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ล่าสุดจึงได้จับมือกับ บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด และ บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของทุกคนบนโลกนี้

การจับมือระหว่าง AFIN กับ บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด และ บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน เป็นการร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขาย Carbon Credit โดยใช้คริปโตฯ เป็นสื่อกลางให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด สามารถขาย Carbon Credit ให้กับองค์กรทั่วไปได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากและไม่ต้องใช้มูลค่ามหาศาล ทำให้การซื้อขายเข้าถึงองค์กรจำนวนมากได้ นอกจากนี้ยังทำให้องค์กรหันมาสนใจในการลดการใช้ก๊าซเรือนกระจก ทำให้องค์กรของตนเองเป็น Net Zero มากยิ่งขึ้น

นายศุภมงคล มาโนช กรรมการบริหาร บริษัท ซันเทค รีไซเคิล แอนด์ ดีคาร์บอน บริษัทลูกของ บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ MILL ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นทำธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม-ลดโลกร้อนและรุกคืบธุรกิจรีไซเคิลอยู่แล้ว โดยโฟกัสเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และได้วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง carbon credit ของกลุ่ม MILL พร้อมเล็งหานวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อย CO2

การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อซื้อขาย Carbon credit โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลจะทำให้คนทั่วไปเข้ามาซื้อขายและเพิ่มสภาพคล่องในตลาด carbon credit มากยิ่งขึ้นนายศุภมงคล กล่าว

นายทวันทว์ บุณยะวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มูนช็อต เวนเจอร์ แคปปิตอล จำกัด กล่าวถึงการร่วมมือกันครั้งนี้ว่าจะทำให้คนเข้ามาในตลาดซื้อขาย Carbon credit มากขึ้น โดยมีคริปโตเคอเรนซี่เป็นหน่วยการแลกเปลี่ยน เนื่องจากที่ทางกองทุนให้ความสำคัญการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อน โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการลดการปล่อย CO2 ในโรงงานหรือที่เรียกว่า Decarbonization

Back to top button