MEDEZE ฉลองครบรอบ 15 ปี เดินหน้า ATMPs Sandbox ดันไทยสู่ผู้นำ HEALTH Economy

MEDEZE ฉลองครบรอบ 15 ปี เดินหน้าโครงการ “ATMPs Sandbox” พัฒนานวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูง-เซลล์ต้นกำเนิด ยกระดับการรักษาแบบแม่นยำ หนุนไทยสู่ศูนย์กลาง HEALTH Economy อย่างยั่งยืน


นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE เปิดเผยว่า บริษัทฯ ฉลองครบรอบ 15 ปี “MEDEZE 15th Anniversary: Future of Thailand HEALTH Economy” นับเป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมด้านเซลล์ต้นกำเนิดอย่างต่อเนื่องตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญ ที่สามารถสะท้อนถึงความแข็งแกร่ง และความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมด้านเซลล์ต้นกำเนิดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการฝากเก็บอย่างต่อเนื่อง ด้วยการให้คำปรึกษา และการให้บริการที่มีมาตรฐานระดับสากล ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัย มีประสิทธิภาพสูง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า

ซึ่งในปีนี้บริษัทฯยังคงเดินหน้าในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพแห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความมุ่นมั่นของบริษัทฯที่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีการแพทย์ชั้นสูง ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างระบบการแพทย์ที่ล้ำสมัยด้วยมาตรฐานระดับสากล สนับสนุนเศรษฐกิจการแพทย์ของไทยที่ได้รับการยอมรับในความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ให้บริการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ควบคู่กับการเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายในการท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของโลก เพื่อเดินหน้าผลักดันให้เกิด HEALTH Economy ซึ่งจะเป็นเครื่องยนต์ใหม่ที่มีมูลค่า และศักยภาพสูง ในการขับเคลื่อน และปักธงอนาคตเศรษฐกิจการแพทย์ของประเทศไทย

โดยในปีนี้บริษัทฯได้มีพัฒนาการที่ถือว่าเป็นก้าวสำคัญ ด้วยความร่วมมือกับโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตและศูนย์การแพทย์บางรัก กรมควบคุมโรค ในการพัฒนาโครงการ Advanced Therapy Medicinal Products Sandbox (ATMPs Sandbox) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ภายหลังกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนกับผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) โดยให้บริษัทเข้ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงอาคารศูนย์การแพทย์บางรัก เพื่อจัดตั้งสำนักงานศูนย์กลางโครงการ รวมถึงห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินงานวิจัย และติดตามประสิทธิภาพของการทดลอง รวมถึงรายละเอียด และเกณฑ์สำหรับผู้ที่สามารถเข้าร่วมรักษา ซึ่งจะต้องผ่านมาตรฐานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสธ. อย่างเคร่งครัด และทำตามกฎ First Come, First Served ถ้าหากผ่านเกณฑ์

โดยกำหนดเป้างานวิจัยปีละ 2 โรค และขึ้นทะเบียนยาประมาณอย่างน้อย 2-3 โรคต่อปี โดยตอนนี้ก็ได้อยู่ระหว่างการยื่นพิจารณาการรักษาโรคผิวหนังและการชะลอวัย โรคไตวายอยู่ด้วย ส่วนในอนาคต ก็ได้มองถึงการวิจัยผลิตภัณฑ์สำหรับโรคภูมิตัวเอง (SLE) โรคสะเก็ดเงิน และโรคตับแข็ง โดยทุกโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพ อักเสบ และภูมิแพ้ สามารถใช้การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ได้ทั้งหมด

ทั้งนี้โครงการ Advanced Therapy Medicinal Products Sandbox (ATMPs Sandbox) เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง สำหรับการรักษาเชิงลึกแบบเฉพาะบุคคล (Precision Preventive Medicine) โดยเริ่มต้นจาก 5 กลุ่มโรคที่พบมากในประเทศไทย โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็น “สถานพยาบาลนำร่อง” ในการดำเนินการวิจัย ทดลอง และให้บริการทางการแพทย์ 3 โรค “โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม – กลุ่มโรคผิวหนังและการชะลอวัย – มะเร็งลำไส้ ” และศูนย์การแพทย์บางรักดำเนินการวิจัย ทดลอง และให้บริการทางการแพทย์ 2 โรค ”โรคข้อเข่าเสื่อม – โรคผิวหนังและการชะลอวัย” โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนที่มีความพร้อมสูง

โดยโครงการทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการแพทย์ และสุขภาพของประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร เพื่อเตรียมความพร้อมด้านระบบนิเวศ และพัฒนาผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์ล้ำสมัย รวมถึงส่งเสริมธุรกิจสุขภาพ และ Medical Tourism เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และพัฒนาบริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น HEALTH Economy ของภูมิภาค

“ปีนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญของ MEDEZE ซึ่งเราเองมีประสบการณ์และความชำนาญในเรื่องของเซลล์ต้นกำเนิด ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย รวมถึงมนุษย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ยังคงจะมีความต้องการในการรักษาความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่งเซลล์ต้นกำเนิดเองมีความศักยภาพในการตอบโจทย์เรื่องนี้ ซึ่งเราต้องการให้เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน และมีความปลอดภัยเป็นสำคัญ ผ่านการตรวจสอบจากสถาบันต่างๆที่ให้การกำกับดูแล โดยเชื่อว่าประเทศไทยจะมีการเติบโต และพัฒนาในด้านนี้อย่างแน่นอน ซึ่งในปัจจุบันก็มีสัญญานตอบรับในเชิงบวกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง” นายแพทย์วีรพลกล่าว

Back to top button