12 คำตอบจาก ก.ล.ต.ที่ชวนอึ้ง!

12 คำตอบจาก ก.ล.ต.ที่ชวนอึ้ง!


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออก พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ได้เกิดคำถามคาใจขึ้นจำนวนมาก โดยทาง ก.ล.ต.ได้สรุปรายละเอียดการปรับปรุงที่เกี่ยวข้องกับนักวิเคราะห์เพื่อไขข้อข้องใจดังนี้

1.) การเปิดเผยข้อมูล

-ข้อมูลที่ประชาชนได้รับต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง

โดยนักวิเคราะห์ห้ามให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือ ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด อาทิเช่น ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ซึ่งนักวิเคราะห์ต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำมาเผยแพร่

เช่น บริษัท A มีกำไรปี 58 จำนวน 20,000 ล้านบาท  ได้ข้อมูลมาแต่ไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลหากใส่ในบทวิเคราะห์ถือว่าผิดซึ่งข้อนี้ครอบคลุมนักเลงคีย์บอร์ด และ คอลลัมนิส ทั้งในหนังสือพิมพ์และวิทยุ

 

2.) การซื้อขาย

ใครครอบครองข้อมูลภายในและนำไปซื้อขาย หรือบอกกล่าวอย่างไรก็ตาม การตรวจสอบทำได้ยาก กฏหมายจึงสมมุติว่า insider ทุกคนมีข้อมูลภายในหากคนกลุ่มนี้ซื้อขายผิดปกติในช่วงที่มีข้อมูลภายในถือว่าผิด ซึ่งพรบ.รอบนี้มีการเพิ่มบุพการี พี่น้อง และบุตร เข้ามาในกลุ่มผู้ใกล้ชิด insider

Q : พวกที่ไม่ได้เป็นนักวิเคราะห์แต่ทำตัวเปนกูรูหุ้นออกทีวี วิทยุ เฟสบุ๊ค จะมีโทษหรืออะไรหรือไม่?

A : ทั้งหมดใช้กฎหมายเดียวกัน

 

Q : ใครเป็นผู้กล่าวโทษนักวิเคราะห์หากได้รับความเสียหายจากบทวิเคราะห์?

A : ปกติ ก.ล.ต.จะเป็นผู้รับผิดชอบด้านนี้ โดยหากมีการแจ้งก.ล.ต. หรือ สามารถตรวจสอบได้จากระบบ

 

Q : head of research หรือ ตัว บล. ผิดมั้ย หากนักวิเคราะห์ผิด (fail to supervise?)

A : ไม่ได้ครอบคลุมใน พรบ. ฉบับนี้ แต่อยู่ใน พรบ. อีกฉบับนึง

 

Q : ละเลยการพิจารณาความถูกต้อง ครอบคลุมอะไรบ้าง ใช้ข้อมูลในหนังสือพิมพ์ได้หรือไม่?

A : นักกฏหมายไม่สามารถขีดเส้นได้ อาจต้องกลับไปหามาตรฐานที่สมาคมนักวิเคราะห์ หรือ ก.ล.ต กำหนด หากคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าการกระทำผิดมีความผิดทางอาญาจะไม่สามารถยอมความได้ ต้องติดคุกสถานเดียว

 

Q : กรณีบริษัท B เป็นอย่างไรบ้าง ทั้งเรื่องความถูกต้องและความครบถ้วน ตามหลักกฏหมาย ถ้ามาวิเคราะห์ช่วงนี้ซึ่งข้อมูลไม่ครบถ้วน ควรทำอย่างไร?

A : อาจจะต้องชะลอการให้ความเห็น หรือ ให้ความเห็นบนข้อมูลที่มี

 

Q : การใส่ disclaimer ว่าไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดต่อข้อมูลจะมีความผิดหรือไม่?

A : ถือว่ามีความผิด ต้องใช้ข้อมูลอย่างระมัดระวัง

 

Q : การทำ preview งบของนักวิเคราะห์ เพื่อจัดทำบทวิเคราะห์ สามารถทำได้หรือไม่?

A : ไม่สามารถทำได้ต้องให้บริษัทส่งข้อมูลผ่านตลาด ให้นักลงทุนได้รับข้อมูลพร้อมกันก่อน

ซึ่งแนวทางปฏิบัติใหม่สำหรับบริษัทจดทะเบียนคือ การห้ามเปิดเผยข้อมูลภายใน หากพลาดพลั้งเปิดเผยข้อมูลภายใน ต้องเรียบเปิดเผยผ่านระบบ ตลท. การเปิดเผย preview ผลประกอบการ เข้าข่าวการเผยแพร่ ข้อมูลภายใน ซึ่งไม่สามารถทำได้

 

Q : หากบริษัทหลักทรัพย์ขอให้พาไป 1-on-1 กับผู้บริหารแล้วบริษัทหลักทรัพย์ถูกจำกัดในการเผยแพร่ข้อมูล แต่บริษัทหลักทรัพย์นำไป take action บริษัทหลักทรัพย์จะผิดหรือไม่?

A : ถือว่าบริษัทหลักทรัพย์มีความผิด

 

Q : บริษัทหลักทรัพย์กำลังจะ initiate paper ซึ่งในตลาดยังไม่มีใคร cover จะเข้าข่าย inside information หรือไม่?

A : หากการเข้าพบผู้บริหารไม่ได้นำ inside information มาใช้ถือว่าทำได้

 

Q : สรุปว่าเราทำอะไรได้บ้าง?

A : ต้องวิเคราะห์จากข้อมูลที่บริษัทแจ้งต่อ ตลท. หรือ ข้อมูลที่บริษัท publish หน้าเว็บ (ห้ามใช้ข้อมูลใน analyst meeting หากบริษัทไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนั้น)

 

Q : หากไป visit แล้วทราบว่าบริษัทกำลังจะขยายกำลังการผลิต หาก initiate paper จะผิดหรือไม่?

A : หากบริษัทขนาดเล็ก และมี effect ต่อราคา ถือว่าไม่สามารถใส่ assumption การเพิ่มกำลังการผลิตได้

 

Q : ข้อมูลอะไรถือเป็น public information

A : ข้อมูลที่เรียกว่า public ต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านระบบของ ตลท. เท่านั้น

Back to top button