EA ร่วม “กลุ่มช่วยกัน” เปิดตัวแอปฯ “หมอชนะ” ระดมพลังปกป้องบุคลากรแพทย์ ร่วมสู้ภัย “โควิด”

EA ร่วม “กลุ่มช่วยกัน” เปิดตัวแอปฯ “หมอชนะ” ระดมพลังปกป้องบุคลากรแพทย์ ร่วมสู้ภัย “โควิด”


“กลุ่มช่วยกัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจจำนวนมาก เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยบูรพา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) บมจ. กสท โทรคมนาคม บมจ. ทีโอที บจก. ไปรษณีย์ไทย โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลภูมิพล สภากาชาดไทย

ตลอดจนองค์กรเอกชนจากหลากอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ Dtac AIS และ True ด้านการเงินธนาคาร ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ บมจ. เอ็ม เอฟ อี ซี บจก. Blockfint บจก. Cleverse บจก.ทรูเวฟ (ประเทศไทย) บจก. Invitrace บจก. เอเทน เทคโนโลยีส์ (ไทยแลนด์) บจก. NODSTAR Longdo Map ด้านพลังงาน ได้แก่ บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ ด้านยานยนต์ โลจิสติกส์และก่อสร้าง ได้แก่ บจก. เจแปนคาร์ แอดแซสเซอรี่ แอนด์ พาร์ท บจก.ฮอนด้า ประเทศไทย บจก. เค.คอนเนค เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) บจก. โกลบเทค

ด้านบริการสื่อสารและบันเทิง ได้แก่ บมจ. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ Rabbit Digital Group Likehouse บจก. แมด อะไรดี ร่วมด้วยสื่อมวลชนและกลุ่มพลังอิสระเพื่อสังคม ได้แก่ บมจ. มติชน บมจ. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป สำนักข่าวอิศรา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และมูลนิธิสะพานบุญ เป็นต้น

โดยกลุ่มช่วยกันมีเจตนารมณ์ในการทำงานว่า เป็นกลุ่มอิสระที่เข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยไม่หวังผลประโยชน์ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่อิงการเมือง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร พร้อมเปิดรับแนวคิดที่เป็นประโยชน์ ไม่ทำงานซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ขณะเดียวกันก็พร้อมจะสนับสนุนและส่งเสริมโครงการดีๆ ที่มีผู้อื่นทำอยู่แล้ว เพื่อรวมพลังกันฝ่าวิกฤตครั้งนี้และสุดท้ายกลุ่มช่วยกันพร้อมจะสลายตัวเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น

สำหรับโครงการของกลุ่มช่วยกันมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีที่สามารถเร่งรัดหาได้มาใช้จัดการกับวิกฤตนี้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และงานที่ส่งผลในวงกว้างให้มากที่สุด สรุปได้ดังนี้

1.แอปพลิเคชั่น “หมอชนะ” พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มช่วยกัน และกลุ่ม “Code for Public” ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แอปจะเก็บข้อมูลการเดินทางและวิเคราะห์ข้อมูลจากการพบปะหรือเข้าใกล้กับคนอื่นโดยไม่ระบุตัวตนเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวไว้ มีการรายงานผลเป็นค่าสีต่าง ๆ ตามระดับความเสี่ยง แบ่งเป็น สีเขียว แปลว่าความเสี่ยงต่ำมาก ไม่มีอาการ ไม่มีประวัติเสี่ยง สีเหลือง แปลว่ามีความเสี่ยงน้อย สีส้ม แปลว่ามีความเสี่ยง หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยง คนกลุ่มนี้ต้องกักตัวอยู่บ้านจนครบ 14 วัน

พร้อมทั้งเฝ้าระวัง และสีแดง แปลว่ามีความเสี่ยงสูงมากและควรพบแพทย์โดยเร็ว แอปหมอชนะจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ได้ ทั้งนี้ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยและใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดการกับสถานการณ์โควิด 19 นี้เท่านั้น และจะทำลายทันทีที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว

2.ติดตั้งอุปกรณ์กำจัดเชื้อโรค ในโรงพยาบาล ห้องพักและสถานที่รองรับผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยได้รับการดูแลในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ได้แก่ ติดตั้งเครื่องกำจัดไวรัสในระบบปรับอากาศส่วนกลางของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ปรับปรุงห้องผู้ป่วยปกติให้สามารถรับผู้ป่วยติดเชื้อได้เพิ่มขึ้น ติดตั้งเครื่องมือและทำระบบกำจัดเชื้อโรคเพื่อปรับปรุงอาคารที่พักทั่วไปให้ใช้เป็นที่พักแบบปลอดเชื้อ สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ ปรับปรุงรถพยาบาลปัจจุบันให้สามารถรับส่งผู้ติดเชื้อได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น

กลุ่มช่วยกันและพันธมิตรได้เริ่มดำเนินโครงการต่างๆ มาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2563 ผู้ที่สนใจสามารถติดตามโครงการต่างๆ ของกลุ่มช่วยกันหรือเข้าร่วมโครงการได้ที่ www.chuaygun.com และสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ทั้งระบบ iOS และ Android ได้ทาง QR Code

Back to top button