“กพท.” เตรียมเปิดบินเข้า-ออก 29 จังหวัดแดงเข้ม! เริ่ม 1 ก.ย.นี้

“กพท.” เตรียมเปิดบินเข้า-ออก 29 จังหวัดแดงเข้ม! เริ่ม 1 ก.ย.นี้ เน้นย้ำปฏิบัติตามมาตรการคุมโรคปลายทางเคร่งครัด


การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท. เตรียมออกประกาศ 1 ก.ย. 64 เป็นต้นไปจะอนุญาตให้สายการบินทำการบินรับส่งผู้โดยสารเข้าหรือออกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้ หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค.64 ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ชุดใหญ่ มีมติเห็นชอบให้คลายล็อกพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด

โดยให้สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ แต่ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคของจังหวัดจุดหมายปลายทาง ที่ต้องการเดินทางไปอย่างเคร่งครัด ดังนี้

1.พิษณุโลก และ ชุมพร ต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว และต้องทำการกักตัวที่ปลายทาง เป็นเวลา 14 วัน ทุกกรณี

2.ภูเก็ต และกระบี่ ต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว และต้องแสดงใบรับรอบการปลอดเชื้อโควิด- 19 ในรูปแบบของ RT-PCR หรือ ATK ที่ตรวจคัดกรองโดยแพทย์เท่านั้น และใบรับรองการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือ เคยติดเชื้อไม่เกิน 90 วัน

3.หัวหิน และ ตรัง ต้องดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นติดตามตัว และแสดงใบรับรองการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม หรือเคยติดเชื้อไม่เกิน 90 วัน

4.แพร่ น่าน สกลนคร อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ โหลดแอพพิเคชั่นติดตามตัว และแสดงใบรับรองฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และอาจจะมีการถูกตรวจการติดเชื้อที่ปลายทาง

5.ขอนแก่น อุบลราชธานี และลำปาง โหลดแอพพิเคชั่นติดตามตัว แสดงใบรับรองฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และแสดงใบรับรอบการปลอดเชื้อโควิด-19 จากการตรวจแบบ RT-PCR

6.เชียงราย หาดใหญ่ นครพนม และนครศรีธรรมราชโหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว แสดงใบรับรองฉีดวัคซีนครบ 2เข็ม และแสดงใบรับรอบการปลอดเชื้อโควิด-19 ในรูปแบบของ RT-PCR หรือ ATK ที่ตรวจคัดกรองโดยแพทย์เท่านั้น

7.ระนอง โหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว แสดงใบรับรองฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และแสดงใบรับรอบการปลอดเชื้อโควิด-19 ในรูปแบบของ RT-PCR หรือATK ที่ตรวจคัดกรองโดยแพทย์เท่านั้น

8.สุราษฎร์ธานี โหลดแอพพลิเคชั่นติดตามตัว

9.กรุงเทพ (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ) เลย นราธิวาส และสนามอู่ตะเภา ไม่มีมาตรการคัดกรอง

นอกจากนี้ ศบค.ยังผ่อนปรน ให้สายการบินมีการปรับเพิ่มอัตราการบรรทุกผู้โดยสารต่อเที่ยวบินจาก 50% เป็น 70% เพื่อลดภาระต้นทุนตั๋วโดยสารมีราคาแพงส่วนบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องยังคงงดให้บริการ

Back to top button