โบรกชี้ TIDLOR กำไร Q4 หด! หวั่นตั้งสำรองหนี้-ค่าใช้จ่ายพุ่ง

“FSSIA” คาด TIDLOR กำไรสุทธิไตรมาส 4/66 แตะ 928 ล้านบาท ลดลง 14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รับปัจจัยกดดันจากผลขาดทุนทางเครดิตและค่าใช้จ่ายพุ่ง อย่างไรก็ตามยังแนะนำ “ซื้อ”ราคาพื้นฐาน 28 บาท


บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เอฟเอสเอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ FSSIA ระบุในบทวิเคราะห์วันที่ (18 ม.ค. 67) ถึงแนวโน้มการเติบโตของ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดยคาดการณ์ว่ากำไรสุทธิไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 928 ล้านบาท ลดลง 7.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 13.5% เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ซึ่งมีปัจจัยถ่วงสำคัญในส่วนของ Expected Credit Loss (ECL) และต้นทุนความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อที่สูงขึ้น

รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามฤดูกาลที่เพิ่มขึ้นซึ่งรวมถึงผลขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องจากการขายรถที่ยึดในประมาณการไตรมาส 4/66 กำไรก่อนหักสำรองอยู่ที่ 1.98 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 19% เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน

อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานได้ปัจจัยหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้น เพิ่มขึ้น 4.5% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 16.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงสินเชื่อน่าจะโตต่อเนื่องอีก 5.6% เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 19.6% จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้จากสินเชื่อทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์ตามปัจจัยด้านฤดูกาล (Spread) น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเป็นจำนวน 0.13% มาอยู่ที่ 14.95%

อีกทั้งพร้อมผลตอบแทนสินเชื่อที่ทรงตัวและต้นทุนในการระดมเงินกู้ที่ปรับขึ้น (อัตราการเพิ่มยังสอดคล้องกับเป้าประมาณการของบริษัทที่คาดการณ์ว่าต้นทุนในการระในช่วงครึ่งหลังปี 66 จะเพิ่มไม่เกิน 0.50% รายได้ค่านายหน้าจากการประกันภัยน่าจะโตต่อเนื่องตามเบี้ยประกันภัยรับรวมที่เพิ่มขึ้นโดยมีเป้าหมายในปี 66 อยู่ที่ 20 – 25% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ในไตรมาส 4/66 คุณภาพสินทรัพย์รวมยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ โดยคาดกาณ์ว่าสัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพจะค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ 1.53% (ต่ำกว่าเป้าประมาณการของ TIDLOR ที่ไม่เกิน 1.80% อยู่มาก) อย่างไรก็ดี ฝ่ายนักนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าต้นทุนความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญเป็น 3.52% (ประมาณการปี 66 ของนักนักวิเคราะห์ที่ 3.20% ยังสอดคล้องกับเป้าปี 66 ของบริษัทที่ 3.00 – 3.35%) เพื่อรับมือกับการก่อตัวของหนี้ด้อยคุณภาพ

ทั้งนี้ส่วนมากมาจากสินเชื่อในโครงการพักชำระหนี้ (พอร์ตรวม 400 -500 ล้านบาท) และหนี้ด้อยคูณภาพใหม่ในกลุ่มสินเชื่อทะเบียนยานยนต์ ในขณะที่หนี้ด้อยคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกมือสองเริ่มทรงตัวจากการควบคุมคุณภาพสินเชื่อและการบริหารเชิงรุก

โดยฝ่ายนักนักวิเคราะห์คงประมาณการปี 66 แต่ปรับสมมติฐานกำไรปี 67 – 68 เล็กน้อย รวมถึงการเติบโตที่ 21% ต่อปี อย่างไรก็ดีมีมุมมองที่ระมัดระวังมากยิ่งขึ้นต่อแนวโน้มปี 67 ทั้งนี้มาจากปัจจัยผลขาดทุนจากการขายรถที่ทำการยึดเพิ่มขึ้นจากอุปทานที่เกินดุลของรถมือสองซึ่งอาจเป็น Downside เชิงลบต่อประมาณการ

ดังนั้นคงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาปัจจุบันหุ้นมีการซื้อขายต่ำกว่า -1SD ของค่าอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี P/BV เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง ให้ราคาเป้าหมายปี 67 ที่ 28 บาท โดยคิดจากค่าอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี P/BV อยู่ที่ 2.39 เท่า (คาดการณ์ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหันระยะยาวอยู่ที่ 15.5% และ COE ที่ 10.2%)

Back to top button