พาราสาวะถี

ลุ้นกันนานกว่าปกติสำหรับผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในรอบนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากจำนวนผู้ลงคะแนนผ่านไปรษณีย์ที่มีมากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จึงต้องรอกันต่อไป สุดท้ายผู้ที่กำชัยก็ไม่มีพลิกโผเป็น โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นอดีตประธานาธิบดี แต่ประสาของคนอย่างทรัมป์แล้ว คงไม่ปล่อยให้คู่แข่งได้ก้าวไปสู่ทำเนียบขาวอย่างราบรื่นแน่นอน


อรชุน

ลุ้นกันนานกว่าปกติสำหรับผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในรอบนี้ ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากจำนวนผู้ลงคะแนนผ่านไปรษณีย์ที่มีมากกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้จึงต้องรอกันต่อไป สุดท้ายผู้ที่กำชัยก็ไม่มีพลิกโผเป็น โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นอดีตประธานาธิบดี แต่ประสาของคนอย่างทรัมป์แล้ว คงไม่ปล่อยให้คู่แข่งได้ก้าวไปสู่ทำเนียบขาวอย่างราบรื่นแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การที่ไบเดนจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐฯ ผลที่มีต่อประเทศไทย มุมมองจาก สุรชาติ บำรุงสุข น่าสนใจอยู่ไม่น้อย พรรคเดโมแครตให้ความสนใจกับเรื่องของการสร้างประชาธิปไตย ทิศทางอย่างนี้ จะมีผลอย่างไรกับประเทศไทยหรือไม่ โดยสุรชาติชวนย้อนกลับไปในสมัยที่ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ขึ้นเป็นผู้นำทำเนียบขาว แล้วประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนออกมา ปี 1976 ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ปี 2519 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยถูกขึ้นบัญชีในฐานะประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลไทยในขณะนั้นก็หงุดหงิดว่า ทั้ง ๆ ที่เราเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงที่ใกล้ชิดกัน ทำไมทำเนียบขาวขึ้นบัญชีไทยในฐานะประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า วันนั้นสหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นบัญชีแค่กับไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาติพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในลาตินอเมริกาที่เคยมีส่วนร่วมต่อต้านสงครามคอมมิวนิสต์ด้วยกันมาด้วย หากไบเดนให้ความสำคัญกับคุณค่าบางอย่าง เช่น เรื่องประชาธิปไตย เรื่องสิทธิมนุษยน จะมีส่วนต่อการเมืองไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

ไม่ใช่แค่การเมืองไทยอย่างเดียว จะกลายเป็นว่า สหรัฐฯ จะเข้ามาบีบไทยเหมือนอย่างที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมไทยปัจจุบันกล่าวหาว่า อเมริกันกำลังแทรกแซงบีบไทยให้ทำตามสหรัฐฯ แต่สุรชาติก็ออกตัวไว้ก่อนว่า ต้องทำความเข้าใจกันก่อนต่อความเห็นนี้ นั่นก็คือนี่เป็นการวิเคราะห์บนทิศทางของนโยบายชุดใหญ่ แต่ทั้งหมดทั้งมวล เราจะได้เห็นภาพชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงกลางเดือนมกราคมปีหน้า

ความจริงแล้วผลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ไม่ว่าใครชนะย่อมมีผลต่อประเทศไทยทั้งสิ้น  โดยที่ผลกระทบยังต้องคิดต่อว่าจะกระทบต่อทั้งโลก ทั้งไทยอย่างไร อย่างที่รู้กันเป็นอย่างดีว่า การเลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้งผู้นำทำเนียบขาวของสังคมอเมริกันเท่านั้น แต่มันคือการตัดสินใจเลือกผู้นำการเมืองโลกด้วย เพราะสิ่งที่จะตามมาคือผลกระทบที่จะมีต่อทั้งทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของโลก อยู่ที่ว่าจะเดินเกมกันแบบเหยี่ยวหรือพิราบเท่านั้น

ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ว่าด้วยม็อบแบบเบิ้ม ๆ ของคณะราษฎรที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยวันวาน เมื่อผ่านพ้นกันไป ก็ต้องติดตามกันช็อตต่อไปในวันที่ 2 ธันวาคมที่จะถึงนี้ กับการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดชี้ชะตา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อกรณีถูกร้องว่ายังคงอาศัยอยู่ในบ้านพักทหารแม้ว่าจะเกษียณอายุราชการมานานแล้วกว่า 6 ปี แน่นอนว่า หากดูแนวโน้มจากที่ผ่าน คนส่วนใหญ่แทงหวยไปในทาง รอด” มากกว่า ไม่รอด”

ยิ่งได้ฟังคำสัมภาษณ์ของ วิษณุ เครืองาม ที่อ้างว่าไม่ขอวิจารณ์ในเวลานี้เพราะจะเข้าข่ายชี้นำศาลได้ แต่จะมาอธิบายให้ความรู้ในวันที่ 3 ธันวาคม 1 วันหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ยิ่งทำให้คนส่วนมากเชื่อกันทันทีว่ารอดล้านเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังมีอีกมุมของคนช่างคิดว่า ถ้าสถานการณ์การกดดันของฝ่ายตรงข้ามยังคงต่อเนื่องและดูแนวโน้มว่าจะหนักหน่วงขึ้นเช่นนี้ บางทีผลจากคำวินิจฉัยอาจจะเป็นการทำให้ผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจที่ประกาศไม่ยอมลาออกได้มีทางลงแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่นก็เป็นได้

นี่คือสัจธรรมอย่างหนึ่งของการเมืองไทยที่ไม่มีอะไรแน่นอน โดยเฉพาะในยามวิกฤติที่ประเทศไม่มีทางออก ดังนั้น แม้ความเป็นไปได้จะน้อยนิดแต่ก็ไม่สามารถมองข้ามได้ อาจจะเทียบเคียงไม่ได้กับกรณีเปิดพจนานุกรมปลด สมัคร สุนทรเวช พ้นเก้าอี้หรือเขี่ย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่ง ตามที่อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญยอมรับในภายหลังว่า เป็นการตัดสินตามกระแส” แต่ในสถานการณ์ของบ้านเมืองที่เป็นอยู่ในเวลานี้ บางทีการยืมมือบางองค์การมาทำให้บ้านเมืองสงบก็อาจจะจบได้เหมือนกัน

เพราะถ้าจะมองไปยังความหวังที่ว่า รอให้คณะกรรมการสมานฉันท์ที่ ชวน หลีกภัย กำลังขมีขมันทาบทามบุคคลสำคัญมาร่วมคณะจะเป็นตัวช่วยหาทางออกให้บ้านเมือง น่าจะเป็นไปได้ยากกว่ากรณีนี้เสียอีก ในเมื่อมาถึงนาทีนี้ยังคงมีการกล่าวหา พาดพิงแสดงความไม่จริงใจของส.ส.ในพรรคแกนนำรัฐบาล โดยไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่ของพรรคออกมาปรามมาห้ามแต่อย่างใด นั่นหมายความว่า การเดินเกมสมานฉันท์ก็จะเป็นไปอย่างที่คณะราษฎรว่าแค่ละครการเมืองฉากหนึ่งเท่านั้น

การเกิดวาทกรรม ดองเค็ม-แช่ฟอร์มาลีน” ถือเป็นสัญญาณของความไม่สมานฉันท์ในพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว มิหนำซ้ำ ยังเกิดการแท็กทีมของส.ส.คู่หู สิระ เจนจาคะ-ปารีณา ไกรคุปต์ ไล่กระแทกจอมหลักการไม่เลิก เส้นทางการเดินเพื่อนำไปสู่คณะกรรมการคลี่คลายวิกฤติยิ่งถูกมองในเชิงลบหนักข้อเข้าไปอีก สุดท้ายก็อย่างที่ ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ว่า ถ้าพรรคสืบทอดอำนาจยังให้คนเหล่านี้ออกมาทำตัวเพี้ยน ๆ บ้า ๆ บอ ๆ ความสมานฉันท์คงเกิดขึ้นยาก

ขณะเดียวกัน ภาวะสั่นคลอนเก้าอี้ของผู้นำเผด็จการสืบทอดอำนาจ ไม่ได้เกิดจากฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะแว่วมาว่า ความแน่นแฟ้นของพี่น้อง 3 ป.จากที่เคยปึ้กกันมาโดยตลอด ก็ทำท่าว่าจะมีปัญหา เมื่อน้องรักแอบไปนินทาพี่ใหญ่ลับหลัง จนทำให้ถูกมองว่าพฤติกรรมเช่นนี้เริ่มที่จะเข้าข่ายการเหลิงในอำนาจ มองไม่เห็นหัวคนที่เคยมีบุญคุณกันมา ด้วยเหตุนี้การขยับของเด็กในคาถาของพี่คนโตบางคนจึงเป็นเหมือนการส่งซิกบางอย่าง นี่แหละที่เนติบริกรเคยเตือนรัฐบาลเรือเหล็ก การพังของอำนาจทุกครั้งไม่ว่าจะสร้างกลไกให้แข็งแกร่งเพียงใด ท้ายที่สุดก็จะจบด้วยเรื่องเล็ก ๆ คนกันเองหรือสนิมแต่เนื้อในตนนั่นเอง

Back to top button