แบงก์ กับ Spin-Off 

สัปดาห์ก่อนได้คุยกับ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ KTB ทางเราชวนคุยเรื่องการปรับตัวของแบงก์ หลัง SCB จัดตั้ง SCBX พร้อมแยกธุรกิจต่าง ๆ


สัปดาห์ก่อนหน้านี้

มีโอกาสได้พูดคุยกับ “วรภัค ธันยาวงษ์  อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ KTB

ทางเราชวนคุณวรภัคคุยเรื่องการปรับตัวของแบงก์ หลังแบงก์ไทยพาณิชย์ (SCB) จัดตั้ง “ยานแม่” SCBX พร้อมแยกธุรกิจต่าง ๆ ออกมาจัดตั้งเป็นบริษัทต่าง ๆ (Spin-Off)

เขาเชื่อว่า ไม่น่าจะมีแบงก์ไหนเดินตาม SCB

หรือแม้แต่ “กสิกรไทย” (KBANK) เพราะจะกลายเป็นทำตามแบบเดียวกันไป

คุณวรภัคแสดงมุมมองน่าสนใจเกี่ยวกับการ Spin-Off

เขาบอกว่า Spin-Off “ไม่ใช่เรื่องง่าย”

เหตุผลเพราะหากทุกธุรกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในธนาคารเดียวกัน เมื่อเกิด “วิกฤต” กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง

ธุรกิจนั้น ๆ จะไม่กระทบมาก

ขณะเดียวกันยังสามารถประคับประคองธุรกิจนั้น ๆ ได้ เพราะจะมีการนำส่วนอื่น ๆ ของในเครือมาช่วยจุนเจือ

และเมื่อเทียบกับธุรกิจที่แยกตัวออกไป

เมื่อเกิดวิกฤตในธุรกิจนั้น ๆ จะมี “ความเหนื่อย” และ “ยากลำบาก” กว่าในการบริหารจัดการ

ความเห้ฯ ส่วนตัวจึงไม่คิดว่าจะมีธนาคารแห่งไหนที่จะประกาศปรับเปลี่ยนธุรกิจตาม SCB

คุณวรภัค บอกอีกว่า การ Spin-Off มีความเสี่ยงมากขึ้น ธุรกิจจะมี “อัพไซด์” ถ้าจัดการได้ดี

ทว่า หากจัดการไม่ได้

นั่นจะทำให้มี “ต้นทุนเพิ่มขึ้น” เพราะหลังจากธุรกิจต่าง ๆ แยกตัวออกไปแล้ว แต่ละบริษัทต้องมี HR ของตัวเอง ระบบการเงินของตัวเอง ฯลฯ

แบบนี้จะจัดการยากขึ้น เพราะต่างคนต่างมีเป้าหมายของตัวเอง อาจไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน

คุณวรภัค ยก กรณี “ปูนซิเมนต์ไทย” หรือ SCC มาเป็นกรณีศึกษา Spin-Off

SCC มีการ Spin-Off ธุรกิจในเครือ แต่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดี โดยเฉพาะ HR ที่มี “ศูนย์กลางเดียว”

ส่วนนโยบายธุรกิจในเครือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

และนั่นทำให้เกิด “ศักยภาพ” ที่ดีในหลายด้าน ทำให้ธุรกิจเกิด “อัพไซด์”

มีคำถามว่า หากแบงก์ต่าง ๆ ไม่เดินรอยตาม SCB ล่ะ?

คำตอบคือ หากแบงก์เหล่านั้นปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น สร้างอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ได้น่าพอใจ ปรับตัวได้ในระดับดีทุกอย่างจะออกมาดีเช่นกัน

SpinOff นั้น แบงก์อื่นเขาคงต้องดู เพราะอาจจะมีความกดดันจากผู้ถือหุ้น ว่าทำไมไม่ SpinOff แต่พอ SpinOff แล้วปัญหาหลัก คือ แบงก์จะอ่อนแอลง แบงก์จะเหลือธุรกิจที่กำไรต่ำอยู่ในแบงก์ เว้นแต่ว่าแบงก์เก่งจริง จะทำให้ดีขึ้นได้ การ SpinOff เป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าไม่ใช่เรื่องที่ง่าย”

คุณวรภัค บอกว่า Holding (โฮลดิ้ง) ของธุรกิจการเงินในขณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่

ก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินของไทยหลายแห่งได้จัดตั้งโฮลดิ้งมาแล้ว

เช่น กลุ่มทิสโก้ TISCO, “แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป” LHFG และแบงก์เกียรตินาคินภัทร KKP

ส่วนในมุมมองนักลงทุนเรื่อง Spin-Off นั้นดูดี เพราะบางธุรกิจพออยู่ภายใต้ธนาคารไม่ได้มีมูลค่า แต่เมื่อพอแยกตัวธุรกิจออกมาแล้วสามารถเติบโตได้ 3 เท่าบุ๊ก

แบบนี้นักลงทุนจะชอบ

คุณวรภัค บอกว่า การประกาศตัวเป็น Tech Event นั้นเป็นเรื่องยาก

หากประกาศไปแล้วหลังจาก 5 ปียังอยู่เหมือนเดิม จะทำให้ด้อยกว่าคู่แข่งที่ไม่มีการประกาศออกมาก็ได้

แต่หากแบงก์นั้น เน้นเทคโนโลยีในการผลักดันธุรกิจ แต่ยังเป็นแบงก์อยู่ อย่างเช่น JP Morgan เป็นแบงก์ใหญ่แต่ไม่ประกาศเป็น Tech Event

Back to top button