ดร.นิเวศน์ กับหุ้น4Gลูบคมตลาดทุน

วานนี้ (16 พ.ย.) ผมอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับ “หุ้นมือถือ” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนสาย VI


ธนะชัย ณ นคร

 

วานนี้ (16 พ.ย.) ผมอ่านข้อเขียนเกี่ยวกับ “หุ้นมือถือ” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนสาย VI

เขาโพสต์ลงในเฟซบุ๊คของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

อ่านแล้วก็น่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อแบบย่อๆ ให้นักลงทุนอ่านกันอย่างทั่วถึง เป็นเรื่องหุ้นมือถือหลังการเข้าร่วมประมูล 4G นั่นแหละ

บทสรุปของดร.นิเวศ ในช่วงท้ายของบทความเขามองแบบนี้ครับ

เขาเชื่อว่า “ธุรกิจมือถือ น่าจะถดถอยลงมากกว่าที่จะขึ้นนับจากนี้ไป”

นี่คือมุมมองนักลงทุนสาย VI

ค่อนข้างที่จะสวนทางกับนักลงทุนอีกหลายคน หลายกลุ่ม และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์อีกหลายคนจากหลายโบรกเกอร์กันเลยล่ะ

เริ่มต้น ดร.นิเวศน์เล่าถึงวันแรกที่มีการแข่งขัน กระทั่งราคาขึ้นไประดับสูง และทำให้ราคาหุ้นของค่ายมือถือต่างๆ ที่เข้าร่วมประมูลทั้ง ADVANC TRUE JAS และ DTAC ต่างร่วงลงอย่างหนัก

การปรับพอร์ตของนักลงทุนที่ถือหุ้นมือถือ ก็เพราะเขามีความวิตกกังวลกัน

ค่าใบอนุญาตที่สูง จะเป็นตัวบอกว่าบริษัทนั้นกำไรมากหรือน้อยในอนาคต

ทว่าเมื่อ ADVANC และ TRUE เป็นผู้ชนะ

วันถัดมาราคาหุ้น 2 ตัวนี้ก็ปรับขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าราคาที่ปรับลงไปของวันก่อนหน้า

เหตุผลก็คือ กำไรของบริษัทอาจจะออกมาไม่ดีนัก เพราะต้นทุนในการให้บริการสูงขึ้น และราคาการให้บริการจะถูกควบคุมโดย กสทช.

ส่วนที่ราคาลงไปหนักขึ้นอีกคือ DTAC กับ JAS

กรณี DTAC  อาจถูกมองว่าเสียเปรียบคู่แข่งขัน ทำให้กำไรบริษัทอาจปรับลง

ส่วน JAS ก่อนหน้านี้ไม่ได้ทำมือถือเลย ก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบ แต่จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่ เพราะคนอาจไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายมากขึ้น

ดร.นิเวศน์ มีมุมมองว่า  เกี่ยวกับหุ้นที่ให้บริการมีลักษณะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ไว้น่าสนใจ

เขาบอกว่า มีความไม่แน่นอนสูง และหาผู้ชนะอย่างถาวรได้ยาก

ในช่วงที่อุปสงค์มีมาก และอุปทานมีค่อนข้างต่ำ จะทำให้ราคาของสินค้าหรือบริการสูงกว่าต้นทุนอย่างมาก

และทุกๆ บริษัท ก็จะทำกำไรได้สูงกว่าปกติ

และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมหุ้นมือถือทำกำไรได้ดีมาก และราคาหุ้นปรับขึ้นไปตามกัน

นั่นเพราะธุรกิจนี้มีผู้ให้บริการที่จำกัด

ในมุมกลับกัน ดร.นิเวศน์ บอกว่า หากผู้ให้บริการหรือผู้ขายมีมากพอ ราคาสินค้าและบริการก็จะลดลงทำให้กำไรลดลงจนเหลือกำไรปกติ และหุ้นจะกลับเข้าสู่ราคาเหมาะสมต่อไป

มีความคิดเห็นจากดร.นิเวศน์ที่น่าสนใจเพิ่มเติม

นั่นคือ เขามีความคิดว่า หุ้นที่ถูกควบคุมโดยรัฐและกฎเกณฑ์พิเศษมันมีความเสี่ยงครับ

เป็นความเสี่ยงด้านของกฎหมายและข้อบังคับที่บางครั้งก็คาดการณ์ได้ยาก เพราะกฎเกณฑ์เหล่านั้น ถูกปรับเปลี่ยนได้ในช่วงเวลาข้ามคืน และนั่นทำให้ราคาและต้นทุนไม่ได้สะท้อนกับความเป็นจริง

ซึ่งในหลักการหุ้นเหล่านี้จะถูกกำหนดโดยตลาดเสรี

ดร.นิเวศ มองไปถึงการประมูล 4G ในคลื่นความถี่ 900MHz ด้วยครับ

มีการตั้งข้อสมมุติฐานว่า หาก JAS เป็นผู้ชนะการประมูล ทำให้มีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก ก็อาจทำให้อุปทานเกิดการล้น เพราะผู้เล่นรายใหม่ต้องเข้ามาแย่งลูกค้าจากรายเก่า

กระทั่งทำให้เกิดสงครามราคาในที่สุด

นักลงทุนสาย VI ยังเปรียบเทียบกับธุรกิจทีวิดิจิตอลด้วยครับ

หลังการประมูลจบลง ทุกคนที่เป็นผู้ชนะต่างเริ่มทำธุรกิจ แต่ผลที่ออกมากลับไม่ได้สวยหรูอย่างที่คาดหมายกัน

ใครที่ลงทุนหุ้นเหล่านี้จึงต้องคิดใหม่

แต่ดร.นิเวศ ก็ยังตบท้ายไว้

“ผมก็ไม่มั่นใจเต็มร้อยว่า ธุรกิจมือถือจะเหมือนกับทีวีดิจิตอลหรือไม่ เพราะผู้เล่นในธุรกิจยังมีน้อยกว่า

และการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตก็ดูเหมือนยังอยู่ในช่วงขาขึ้น

ส่วนธุรกิจมือถือน่าจะถดถอยมากกว่าดีขึ้น

 

 

Back to top button