จากตุรกี ถึงประเทศกูมี (ตอนจบ)

การที่ค่าเงินบาทมุ่งหน้าลงไปเฉียดกราย 40.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งที่สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยยามนี้ เริ่มออกอาการเสียศูนย์ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ


สำหรับประเทศกูมีนั้น จะเผชิญหน้ากับวิกฤตต้มยำกุ้งระลอกสองหรือไม่ และทางออกคืออย่างไร เพราะแค่ลำพัง นอกเหนือจากคำสั่งของพลเอกประวิตร ให้กระทรวงคลังกับธปท. ร่วมกันหาทางตรึงค่าเงินบาทเอาไว้ให้ต่ำที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์แล้ว ก็ไม่มีมาตรการอื่น ๆ ตามมา สะท้อนว่าโอกาสสำหรับความล้มเหลวมีมากกว่าความสำเร็จ

การที่ค่าเงินบาทมุ่งหน้าลงไปเฉียดกราย 40.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  ทั้งที่สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยยามนี้ เริ่มออกอาการเสียศูนย์ชัดเจนขึ้นเรื่อย ในขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือน มิ.ย. มีอยู่ราว 2.51 แสนล้านบาทถือว่าแข็งแกร่ง ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่างประเทศก็ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.2% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2564 นอกจากนี้ทางการได้เข้ามาดูแลการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะผ่านมาตรการ อาทิ การกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value-LTV)

ภาพเหล่านี้สะท้อนการเรียนรู้บทเรียนจากอดีตและการวางแนวทางเพื่อ ไม่ให้ซ้ำรอยเดิมในช่วงต้มยำกุ้งที่ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบยาวนานเรื้อรัง  ซึ่งปรากฏว่าน่าเป็นห่วง อย่างมีนัย เพราะล่าสุดดุลปัญชีเดินสะพัดของไทยในเดือน สิงหาคมล่าสุดติดลบมากถึง 1.25 แสนล้านบาทเป็นการขาดดุลบัญชีดังกล่าวเข้าข่ายเรื้อรังจากเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาเพราะดุลการค้าเริ่มติดลบต่อเนื่องมาเกือบ 2 ปีแล้ว

สถานการณ์ล่าสุดเงินเฟ้อของไทยในเดือน พฤษภาคม สูงถึง 7.10% สูงสุดในรอบ 13 ปี ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนอยู่ที่ 5.19% ซึ่งยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปีอยู่พอสมควร ทั้งนี้เป็นผลจากราคาพลังงาน ราคาอาหาร ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิต ต่างปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นตามตลาดโลก โดยเฉพาะราคาพลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตสินค้าและการขนส่งให้ปรับตัวสูงขึ้น จึงกดดันอัตราเงินเฟ้อให้ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

ล่าสุด แม้ว่า ธปท. ได้คาดการณ์ที่ทำให้ใจชื้นขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 และจะเริ่มลดลงในปี 2566 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 โดยปัจจัยกดดันเงินเฟ้อในไตรมาส 2 และ 3 ของปี 2565 มาจากราคาพลังงาน

เพียงแต่ ธปท.ก็เคยพลาดมาแล้วหลายครั้งโดยเฉพาะครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง ที่ร้ายแรงถึงขั้นต้องเศรษฐกิจพังพินาศรุนแรงมาแล้ว

ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 17 ปี จากการที่ยังขาดปัจจัยภายในประเทศในการชี้นำตลาด โดยเนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไร หลังจากเห็นตัวเลขน่าตกใจไม่น้อยที่ ล่าสุดในเดือน สิงหาคมตัวเลขทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศสุทธิลดฮวบต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทเป็นครั้งแรก   เหลือแค่บวก 9.98 หมื่นล้านบาท จากเมื่อเดือน มีนาคม ที่ผ่านมามีมากกว่า 2.5 แสนล้านบาท หากเกิดประเด็นทุนสำรองลดลงฮวบฮาบ ก็จะส่งผลต่อเนื่องให้ ค่าเงินบาททะลุไปที่ 40.00 บาท/ดอลลาร์ได้

ใครที่บอกว่าเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง กำลังโกหกคำโตอยู่นะครับ เพราะหากดูซ้ำจะเห็นอาการ “ปากกล้า ขาสั่น” ชัดเจน

ค่าเงินบาทที่เป็นขาลงค่อนข้างเร็วรอบนี้ ประมาทไม่ได้เลยครับ เพราะเฟดฯ ของสหรัฐฯ ส่งสัญญาณล่วงหน้าชัดเจนว่าต้องการให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้กลายเป็นเสมือนการราดน้ำมันเข้าในกองไฟมากขึ้น

โอกาสที่ไฟไหม้บ้านมีอยู่ทุกเมื่อ

เราอาจจะได้เห็นเทวดาตกสวรรค์อีกระลอก

Back to top button