หุ้นรับผลบวก-ลบ ดอกเบี้ยขึ้น

เมื่อวานนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50% ตามคาด


เมื่อวานนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 1.50% ตามคาด

และเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61

แต่สิ่งที่อาจจะดูเหนือคาด และเป็นสัญญาณที่ไม่ดีนัก

เมื่อแบงก์ชาติส่งสัญญาณว่า อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป

หรือปรับขึ้นไปเรื่อย ๆ นั่นแหละ

เป้าหมายเพื่อคุมเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ในกรอบ 1-3% ให้ได้

และคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปีนี้

ก่อนหน้านี้บรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินไปอีกอย่างกับที่แบงก์ชาติส่งสัญญาณ

ตลาดคาดการณ์กันว่า แบงก์ชาติน่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดนี้

ต่อจากนั้นจะหยุดพักเพื่อรอดูสถานการณ์ต่าง ๆ

แล้วอาจจะไปปรับขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงปลายปี 2566

เมื่อแบงก์ชาติส่งซิกออกมาแบบนี้

ทำให้ตลาดหุ้นไม่ค่อยตอบรับมากนัก เพราะดอกเบี้ยขาขึ้น กับตลาดหุ้นมักไม่ค่อยถูกกันสักเท่าไหร่

หุ้นกลุ่มธนาคาร แม้ว่าจะรับผลบวกจากเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้น

จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่จะกว้างได้อีก

แต่ยังมีจุดที่ต้องระวังจากภาระการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ในช่วงที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น และอาจจะทำให้เผชิญกับหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอลตามมา

ถามว่านายแบงก์ต่างทราบปัญหาไหม

คำตอบคือ “ทราบ”

ดังนั้น ในระยะสั้น อาจจะยังไม่เห็นแบงก์ต่าง ๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามแบงก์ชาติได้เร็วนัก

เพราะอีกด้านยังต้องระวังเรื่องของหนี้เสียด้วย

หรือหากจะปรับขึ้นจริง

เข้าใจว่า แบงก์ต่าง ๆ อาจจะยังไม่ได้ดึงดอกเบี้ยขึ้นมาสูงมากนัก

กลุ่มไฟแนนซ์ เมื่อวานนี้ราคาลงทันทีหลังแบงก์ชาติส่งข่าวร้ายออกมา

เพราะไฟแนนซ์กับดอกเบี้ยขาขึ้น อาจจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของบรรดาไฟแนนซ์ให้สูงขึ้นได้อีก

ขณะที่ดอกเบี้ยกลับถูกคุมจากหน่วยงานกำกับเช่น แบงก์ชาติ และรวมถึง สคบ.

ในระยะสั้น นักวิเคราะห์แนะนำรอราคาย่อตัว แล้วให้ทยอยสะสม เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยลบเข้ามา

ส่วนอีกด้านยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว การขายหนี้ของลูกหนี้ (ไฟแนนซ์) น่าจะดีขึ้น รวมถึงการนำทะเบียนรถมาจำนำเพื่อไปทำธุรกิจค้าขาย

อีกกลุ่มที่ต้องระวัง คือ หุ้นที่มี D/E สูง ๆ หรือหนี้เยอะ

เพราะหากดอกเบี้ยขึ้น จะทำให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก และไปกดกำไรให้ลดลง

สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นวันที่ 29 มี.ค. 66

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินว่า กนง.น่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกแน่ ๆ ในการประชุมครั้งต่อไป

ก่อนจะตรึงไว้ที่ระดับดังกล่าว

Back to top button