สิงคโปร์กับ ‘คดีฟอกเงิน’ บันลือโลก.!

หลังจาก “ตำรวจสิงคโปร์” มีการจับกุมชาวต่างชาติ 10 ราย ที่มีส่วนพัวพันกับแก๊งฟอกเงิน พร้อมตั้งข้อหา “ฟอกเงินและปลอมแปลงเอกสาร”


หลังจาก “ตำรวจสิงคโปร์” มีการจับกุมชาวต่างชาติ 10 ราย ที่มีส่วนพัวพันกับแก๊งฟอกเงิน พร้อมตั้งข้อหา “ฟอกเงินและปลอมแปลงเอกสาร” และสามารถยึดทรัพย์หลายรายการ มูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 26,000 ล้านบาท ช่วงกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา

ทำให้ “ธนาคารท้องถิ่น” ใหญ่ที่สุด 2 แห่งของสิงคโปร์ ทำการฟ้องร้องบริษัทเงินทุนที่เป็นลูกหนี้ตนเอง เป็นผู้ต้องสงสัย “คดีอื้อฉาวเรื่องการฟอกเงิน” ดังกล่าว

เริ่มจาก DBS Group Holdings ธนาคารที่ใหญ่สุดของสิงคโปร์ ได้ยื่นฟ้องร้อง 4 ข้อหาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยหลักประกันในการชำระคืน เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 64 กับบริษัท Aiqinhai Investment Pte. หลังพบว่ากรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นเพียงคนเดียว “ซูไห่จิน” เป็นหนึ่งในบุคคล 10 คน ที่โดนฟ้องร้องในศาลสิงคโปร์ คดีฐานความผิดร่วมกันฟอกเงินและการปลอมแปลงเอกสาร

ขณะที่ธนาคารใหญ่อันดับ 2 อย่าง Bank of Singapore โดยฝ่ายธนาคารภาคเอกชนบริษัท Oversea-China Banking Corp (OCBC) ได้ทำการฟ้องร้องวันที่ 7 ม.ค. 65 กับบริษัท Xinbao Investment Holdings Pte. โดยหนึ่งในกรรมการสองคนของบริษัทคือ “ซู เป่าหลิน” กลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกกล่าวหาเช่นกัน…

ข้อมูลเอกสารอ้างอิงจาก Bloomberg ระบุว่า บริษัททั้ง 2 แห่ง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธนาคารต่าง ๆ ย้อนหลังไปประมาณ 1-2 ปี ก่อนการจับกุม โดย “ซู เป่าหลิน” ถูกตั้งข้อหาถึงความพยายามโกงบริษัท สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ด้วยการสร้างเอกสารปลอมขึ้น

โดยก่อนที่จะมาถึงคดีอื้อฉาวครั้งนี้ กลุ่มสถาบันการเงินสิงคโปร์ เคยถูกเชื่อมโยงไปยังคดีฉ้อฉลทางการเงินครั้งใหญ่ของกองทุน 1MDB ที่รัฐบาลมาเลเซีย เป็นเจ้าของ และคดีบริษัท Wirecard AG จากเยอรมัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ส่งผลให้ผู้จัดหาเงินทุนถูกแบน มีผู้คนต้องติดคุกและการปรับเงินธนาคารสำหรับมาตรการการควบคุมที่หละหลวม

“ธนาคารท้องถิ่นสิงค์โปร์” ที่หมายรวมถึง CIMB Bank Bhd ของมาเลเซีย บริษัทในเครือของ Citigroup และ Deutsche Bank AG ต่างมีส่วนเชื่อมโยงกับผู้ต้องสงสัยในขบวนการฟอกเงินดังกล่าว

แม้แต่ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ค้าโลหะมีค่า และชมรมกอล์ฟในเมือง ต่างมีส่วนร่วมเรื่องอื้อฉาวนี้ด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับมาตรการป้องกันเงินผิดกฎหมายที่ไหลเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเงินแห่งภูมิภาคเหล่านี้

โดยบริษัทการลงทุนทั้ง 2 แห่ง จดทะเบียนที่ตั้งสำนักงานในย่านธุรกิจของสิงคโปร์ โดยทั้ง 2 คน มีที่อยู่อาศัยที่หรูหรา จากเอกสารระบุว่า เงินทั้งหมดของบริษัทมีหน่วยงานของธนาคารเป็นหลักประกันและไม่มีการระบุขนาดของความเสี่ยง แต่อย่างใด

โดยทาง DBS ยืนยันว่า บริษัทจะยังคงดำเนินการทำงานต่อไป “เพื่อไม่ให้อาชญากรเข้ามาเทียบท่าที่สิงคโปร์ได้อีก” โดยไม่มีการระบุชื่อใด ๆ เป็นพิเศษ ส่วนทาง OCBC นั้น ปฏิเสธจะแสดงความคิดเห็น ด้าน “ซู ไห่จินและ ซู เป่าหลิน” ต่างถูกควบคุมตัว โดยอัยการกำลังขอเอกสารจากสถาบันการเงินที่ไม่ได้ระบุชื่ออย่างน้อย 10 แห่งที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ 

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) ระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลกำลังดำเนินการกับบริษัททางการเงิน ที่มีการระบุกองทุนที่อาจปนเปื้อนกับเรื่องอื้อฉาวดังกล่าวและจะดำเนินการกับผู้ที่พบว่า “ฝ่าฝืนข้อกำหนดในการต่อต้านการฟอกเงิน” และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับเครือข่ายทุจริต 1MDB ถือเป็น “คดีฟอกเงินใหญ่ที่สุด” เท่าที่หน่วยสืบสวนอาชญากรรมทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์เคยตรวจสอบมา ขณะที่สหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ ได้ร่วมมือกันแกะรอยเงินที่สูญหายไปจากกองทุน 1MDB เช่นกัน แต่จนถึงวันนี้มีเพียงสิงคโปร์เท่านั้นที่ได้ “พิพากษาลงโทษบุคคล” ผู้ที่กระทำผิดบ้างแล้ว

น่าสนใจว่า..การฟ้องร้องลูกหนี้ของ 2 ธนาคารใหญ่สิงคโปร์ จะเรียกความเชื่อมั่นให้ภาคอุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนที่ถูกลดทอนจากเครือข่ายทุจริต 1MDB กลับคืนได้มากน้อยเพียงใด..!!??

Back to top button