ฝันร้าย ‘บริษัทจดทะเบียน’ หากแบงก์ตัดสัมพันธ์ อะไรจะเกิดขึ้น!?

ความน่ากลัว ของบริษัทเอกชน ที่จะถูกถอนวงเงินกู้ และพร้อมจะเรียกหนี้ที่ค้างชำระอยู่ คืนจากสถาบันการเงินที่เคยใช้บริการสินเชื่อกันมาอย่างยาวนาน ถือเป็นฝันร้ายที่สุดก็ว่าได้


ความน่ากลัว ของบริษัทเอกชน ที่จะถูกถอนวงเงินกู้ และพร้อมจะเรียกหนี้ที่ค้างชำระอยู่ คืนจากสถาบันการเงินที่เคยใช้บริการสินเชื่อกันมาอย่างยาวนาน ถือเป็นฝันร้ายที่สุดก็ว่าได้

ไม่เฉพาะแค่บริษัทเอกชนที่อยู่นอกตลาดหุ้นเท่านั้น แต่ความน่ากลัวยังครอบคลุมไปถึงบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหุ้น แม้จะมีตลาดรอง สามารถระดมทุน ผ่านมหาชนได้ก็ตาม

ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น!? 

เนื่องจาก สถานะที่ถูกเรียกวงเงินสินเชื่อคืน รวมถึงหนี้สินที่คงค้างอยู่กับสถาบันการเงิน จะเป็นตราประทับที่เสมือน แผลเป็นที่อาจถูกมอง จะว่าบริษัทนี้ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป

หนทางสำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ บริษัทจดทะเบียน ที่พอจะได้เปรียบบริษัทเอกชนที่อยู่นอกตลาดหุ้น คือการระดมทุน ซึ่งมีหลายรูปแบบ 

ทั้งการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP), การเพิ่มทุนแบบให้นักลงทุนทั่วไป (RO), การออกวอร์แรนต์ ฯลฯ 

แต่ความคิดจะระดมทุนจากการเพิ่มทุนในตลาดหุ้นอาจจะไม่ราบรื่นเสมอไป หากบริษัทจดทะเบียนรายนั้น สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนในตลาดหุ้น  

ถ้าหากเป็นไปในกรณีแบบนี้ ใครจะยอมใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามาช่วยเหลือ หากบริษัทนั้นต้องการเงินสด !?

ในเมื่อ ตราประทับที่เหมือนเป็นตราบาป จากสถาบันการเงินรายแรก ปรากฏออกมา แน่นอนเลยว่า ผู้ปล่อยกู้ รายอื่น ๆ นับตั้งแต่รายที่สอง หรือ second tire ลงไป คงต้องคิดหนักอยู่พอสมควร ว่าจะดำรงสถานะผู้ปล่อยกู้ให้กับกลุ่มดังกล่าวหรือไม่?

ประกอบกับ บริษัทจดทะเบียนเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีธุรกิจอื่นอยู่นอกตลาด และเชื่อว่า คงต้องรีบถอยฉากออกมาอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องการถูกตั้งคำถามจากบอร์ดบริหาร หรือ ผู้ถือหุ้นของแบงก์นั้น ๆ

อย่างไรก็ตาม ยังมีมุมมองที่มองต่างออกไปว่า การเปลี่ยน หรือย้ายแบงก์ อาจจะทำให้คู่แข่ง (แบงก์อื่น) สนใจเข้ามาแทน ในทำนองว่า ถ้า แบงก์ A-B ตัดสัมพันธ์ ก็สามารถไปหาแบงก์ C-D อื่น ๆ ได้ และถือเป็นเรื่องที่น่าจะทำให้ปัญหาจบได้อย่างรวดเร็ว

แต่มันอาจจะไม่ง่ายเสมอไป 

ถ้าหากบริษัทจดทะเบียนรายนั้น มีเรื่องราวฉาวโฉ่ ที่ “สร้างความเดือดร้อน” ให้กับ “คนหมู่มาก” การจะย้ายและหาแหล่งที่พึ่งพิงใหม่ทางกระแสเงินสด ที่อยู่ภายในประเทศ อาจจะเป็นเรื่องยากที่สุดก็เป็นได้

พฤติกรรมที่ไม่น่ารัก อาจจะทำให้ต้องหนีไปพึ่งสถาบันการเงินต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนเลยว่า ดอกเบี้ย และหลักประกัน จะต้องโหดและสูงอย่างแน่นอน

เหตุผลที่ต้องพึ่งพิงสถาบันการเงินต่อ คงต้องมาดูกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท หากยังแข็งแรงอยู่ ความน่ากังวลก็คงยังไม่มีในช่วงสั้น แต่ในระยะยาวอาจไม่แน่

การขยายกิจการในอนาคต อาจจะมีปัญหา หากการแข่งขันมีความรุนแรง หรือ ไม่มีใครพร้อมจะสนับสนุน เนื่องจากได้ไปสร้างวีรกรรมให้คนบาดเจ็บ ล้มละลายเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การเดินแบบลำพัง แบบไร้สถาบันการเงินพึ่งพิง

คงต้องมารอดูกันต่อไปว่า “ใครจะเป็น ผู้ตัดสัมพันธ์ และ ใครจะถูกตัดสัมพันธ์!?”

Back to top button