Data Center กับโอกาสของไทย (จบ)

Data Center ส่วนใหญ่ จะใช้ระบบน้ำหล่อเย็น (Chilled Water) ด้วยเครื่องปรับอากาศเพื่อดึงความร้อนออกจาก Server


Data Center ส่วนใหญ่ จะใช้ระบบน้ำหล่อเย็น (Chilled Water) ด้วยเครื่องปรับอากาศเพื่อดึงความร้อนออกจาก Server โดยการฉีดละอองน้ำเข้าไปในอากาศที่หมุนเวียนรอบเครื่องหรือปล่อยให้ละอองน้ำระเหยใกล้เครื่อง

ระบบนี้มักจะสูบน้ำมาจากแหล่งน้ำใต้ดิน, แหล่งน้ำข้างเคียง, หรือจากน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด

ขณะที่ Data Center ใต้ทะเล จะใช้วิธีสูบน้ำจากใต้ทะเลผ่านท่อ และยังหม้อน้ำ (Radiator) ที่ติดตั้งบนตู้ Server โดยตรงเพื่อระบายความร้อนออกไป

Hailanyun หรือ HiCloud ผู้ประกอบธุรกิจ Data Center ในเซี่ยงไฮ้ ร่วมมือกับ Chinese Academy of Information and Communications Technology เพื่อประเมินผลลัพธ์โครงการดังกล่าว

โดยพบว่า Data Center ใต้น้ำ ใช้ไฟฟ้าน้อยลงกว่า 30% เมื่อเทียบกับ Data Center บนบก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการระบายความร้อนตามธรรมชาติในใต้ท้องทะเล

นอกจากนี้ Li Langping โฆษกของ Hailanyun เสริมว่า Data Center ใต้น้ำของทางบริษัทนั้น จะใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จะจ่ายพลังงานถึง 97% ของความต้องการทั้งหมด

หัวใจสำคัญของนวัตกรรมนี้มีต้นแบบจาก Project Natick ของ Microsoft จากเมื่อราว 10 ปีก่อน เป็นการทดลองที่จะนำแคปซูลขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่อง Server 800 ตัวลงไปใต้ทะเลลึก 35 เมตร (117 ฟุต) นอกชายฝั่งสกอตแลนด์

ช่วง 2 ปีต่อมา Microsoft ได้นำแคปซูลกลับขึ้นมาและพบว่า Data Center ใต้น้ำ มีทั้งความเสถียรภาพ และการใช้พลังงานต่ำ..

นอกจากนี้เครื่อง Server ใน Data Center ใต้น้ำนั้นยังมีความเสียหายน้อยกว่าเครื่อง Server ใน Data Center บนบกเนื่องจากตัวแคปซูลถูกปิดผนึกอย่างแน่นหนา และบรรจุด้วยแก๊สไนโตรเจนซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนต่ำกว่าออกซิเจน

พร้อมกันนี้การที่เครื่อง Server ทำงานโดยที่ไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องยังช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเครื่อง Server ได้อีกด้วย

แม้ปัจจุบัน Microsoft จะพับเก็บ Project Natick ไปแล้วก็ตาม แต่บริษัทก็ไม่ได้ยืนยันว่าโครงการ ถูกยกเลิกไปแล้วโดยสิ้นเชิง โดย Microsoft กล่าวว่า Project Natick จะถูกใช้เป็นแพลตฟอร์มวิจัยเกี่ยวกับเสถียรภาพและความยั่งยืนของ Data Center ในอนาคต

หากประเทศไทย สามารถนำแนวคิด Data Center ใต้ทะเลมาใช้เพื่อบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาต้นทุนไฟฟ้าได้ นวัตกรรมนี้อาจกลายมาเป็นจุดขายใหม่ ที่จะทำให้ประเทศไทย เป็นที่น่าจับตามองสำหรับการลงทุนธุรกิจดิจิทัลกว่าคู่แข่งอื่น ๆ ในภูมิภาคได้เช่นกัน..!!!

Back to top button