BCPG ปลอดโปร่ง

ราคาหุ้น BCPG ที่ปรับตัวลงมาแรงในช่วงที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นเพิ่ม เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนภายในประเทศมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรายอื่นในประเทศไทย น่าจะทำให้บริษัทได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หากการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในประเทศจะถูกเลื่อนออกไปหรือไม่มีการเปิดประมูล


คุณค่าบริษัท

ราคาหุ้น BCPG หรือ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ที่ปรับตัวลงมาแรงในช่วงที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสในการเข้าสะสมหุ้นเพิ่ม เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนภายในประเทศมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรายอื่นในประเทศไทย น่าจะทำให้บริษัทได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หากการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในประเทศจะถูกเลื่อนออกไปหรือไม่มีการเปิดประมูล

นอกจากนี้ BCPG ยังเป็นหุ้นที่มีกำลังผลิตจาก PPA ในมือเติบโตดีที่สุดตัวหนึ่งในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า โดยจะเติบโตเฉลี่ยที่ 9.2% ต่อปี ระหว่างปี 2561-2565 (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ให้คำแนะนำอยู่ที่ 7.4%) นอกจากนี้ต้นทุนที่ต่ำลงและกำไรจากบริษัทร่วมที่สูงขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนให้กำไรหลักเติบโตขึ้น โดยประเมินที่ 16.4% ต่อปี ระหว่างปี 2561-2565

ส่วน  Adder จากโซลาร์ฟาร์มจะหมดอายุหลังจากโครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ได้ 10 ปี โดยฟาร์มแรกจะหมดอายุในปี 2564 ทั้งนี้ยังคงคาดกำไรหลักของบริษัทจะยังคงเติบโตได้ 4.5% ต่อปี ระหว่างปี 2560-2568 อย่างไรก็ตามมองว่าบริษัทยังมีโอกาสในการลงทุนอีกมาก ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนมากพอที่จะทดแทนรายได้จาก adder ที่หายไป

อีกทั้งประมาณการว่า หากบริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตใหม่เพียง 150 เมกะวัตต์จากโครงการพลังงานไฟฟ้าความร้อนใต้พิภพได้ (โดยที่ 120 เมกะวัตต์ เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2566 และอีก 30 เมกะวัตต์ เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2567) ก็มากพอที่จะชดเชยกำไรหลักที่หายไปจาก adder ที่หมดอายุลง

นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพกว่า 29 กิกะวัตต์ แต่มีการนำมาพัฒนาเพียง 6% ในปัจจุบัน โดยมีสัมปทานพลังงานใต้พิภพอีก 30 สัญญา (รวม 1,725 เมกะวัตต์) ที่จะเปิดประมูลในอนาคตอันใกล้ การที่ Star Energy Group Holdings (SEG; BCPG ถือหุ้น 33%) เป็นผู้นำในตลาดพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศอินโดนีเซียจะหนุนให้ BCPG มีศักยภาพสูงในการพัฒนาโครงการพลังงานความร้อนใต้พิภพในอนาคต แม้ตลาดผิดหวังจากค่าตัดจำหน่ายที่เกิดจากการลงทุน มองว่าได้ผ่านจุดแย่ที่สุดมาแล้วและค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีแต่จะลดลงในอนาคต

ที่สำคัญ BCPG เป็นผู้ทำธุรกิจจำหน่ายไฟฟ้าแบบ peer-to-peer เป็นรายแรกๆ ในประเทศไทย การร่วมมือกับแสนสิริจะสร้างเครือข่ายลูกค้าให้กับ BCPG นอกเหนือจากนี้บริษัทและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะร่วมลงทุนใน Smart Grid System ที่ Smart Park โดยเริ่มจากโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ กำลังผลิตขนาด 60-100 เมกะวัตต์ โครงการเหล่านี้จะเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาโครงการอื่นๆ ในอนาคต หากโครงการมีความชัดเจนมากขึ้นจะถือเป็นอัพไซด์ต่อมูลค่าพื้นฐานของ BCPG

ดังนั้นนักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง ยังแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเปาหมายสิ้นปี 2561 ที่ 22.50 บาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 1,399,999,994 หุ้น 70.20%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด      22,313,273 หุ้น   1.12%
  3. นายภมร พลเทพ      14,000,000 หุ้น   0.70%
  4. สำนักงานประกันสังคม      12,354,234 หุ้น   0.62%
  5. น.ส.พิสชา เหมวชิรวรากร 12,000,000 หุ้น   0.60%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการ
  2. พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ รองประธานกรรมการ
  3. พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ กรรมการอิสระ
  4. นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช รองประธานกรรมการ
  5. นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่

Back to top button