BCP รายได้ลด-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม กดกำไรปี 62 หดตัว 30% มาที่ 1.73 พันลบ.

BCP รายได้ลด-ค่าใช้จ่ายเพิ่ม กดกำไรปี 62 หดตัว 30% มาที่ 1.73 พันลบ. จากปีก่อนกำไร 2.46 พันลบ.


ริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562 มีกำไรสุทธิ ดังนี้

โดยผลการดำเนินงานประจำปี 2562 มีกำไรลดลง เนื่องจากบริษัทและบริษัทย่อยยังคงได้รับผลกระทบจากความผันผวนของสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ธุรกิจน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย ปี 2562 อยู่ที่ 63.51 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ปรับลดลง 6.14 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล หรือลดลง 10% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้ผลประกอบการในปี 2561 ต่อเนื่องมาถึงปี 2562 ของทั้งอุคสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงของบริษัทฯปรับตัวลดลง โดยในปี 2562 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายและให้บริการ 190,489 ล้านบาท (ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) และมีกำไรสุทธิ 2,488 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ่ 1,732 ล้านบาท (ลดลง 30% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) คิดเป็นกำไรต่อหุ้ร 1.18 บาท

อนึ่ง รายได้จากการขายและให้บริการรวม 190,489 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย เป็นผลมาจากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมันเป็นหลัก โดยในส่วนของบริษัทฯนั้น ได้รับผลกระทบจากราคาขายเฉลี่ยที่ปรับลดลงอย่างมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ในขณะที่ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์รวมของบริษัทเพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน อีกทั้งบริษัท BCP Trading Pte. Ltd. (BCPT) ยังคงมีธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นกว่า 71% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน

อีกทั้งกำไรขั้นต้น 10,232 ล้านบาท ลดลง 10% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน โดยหลักมาจากธุรกิจโรงกลั่นที่มีค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ 4.55 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ปี 2561 อยู่ที่ 5.61 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

รวมถึงรายได้อื่น 337 ล้านบาท ลดลง 73% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน เป็นผลมาจากการที่ปี 2561 บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG มีกำไรจากการขายสินทรัพย์โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศญี่ปุ่น 793 ล้านบาท และรายได้เงินชดเชยความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นที่ประเทศญี่ปุ่นจำนวน 104 ล้านบาท

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 7,614 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายพนักงานของกลุ่มบริษัทฯและการบันทึกประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่ได้ถูกปรับปรุงเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2562 ที่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน จากเดิม 300 วัน หากลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้ ขาดทุนจากการด้อยต่าสินทรัพย์ 34 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการด้อยค่า Material Supply และสินทรัพย์ถาวรในส่วนของบริษัทฯ ในขณะที่ปี 2561 ส่วนใหญ่เกิดจากการด้อยค่าสินทรัพย์เพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งน้ำมัน Galoc

รวมถึงต้นทุนทางการเงิน 1,701 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนทางการเงินในส่วนของบริษัทฯจากการออกหุ้นกู้ มูลค่า 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.13-3.42% อายุหุ้นกู้ 2-7 ปี และออกหุ้นกู้มูลค่า 7,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4.04% อายุหุ้นกู้ 10 ปี เมื่อเดือนส.ค.และธ.ค. 2561 ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ เมื่อเดือนเม.ย. 2562 มีหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน มูลค่า 4,000 ล้านบาท

Back to top button