GUNKUL คงเป้ารายได้ปีนี้โต 25% รับรายได้ รฟฟ.ญี่ปุ่น-รุกประมูลงานเพียบ!

GUNKUL คงเป้ารายได้ปีนี้โต 25% รับรายได้ รฟฟ.ญี่ปุ่น-รุกประมูลงานเพียบ!


นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยังคงเป้ารายได้ปี 63 เติบโตไม่ต่ำกว่า 25% จากปีก่อนอยู่ที่ 7.2 พันล้านบาท โดยหลักยังคงมากจากธุรกิจผลิต การจัดหาอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้า การจำหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม รวมถึงงานรับเหมาก่อสร้าง (EPC)

โดยธุรกิจโรงไฟฟ้าปีนี้จะรับรู้รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ประเทศญี่ปุ่นทั้ง 2 แห่ง ได้เต็ม 65 เมกะวัตต์ (MW) , รับรู้รายได้ต่อเนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานลม ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 170 เมกะวัตต์ และยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ในประเทศเวียดนามและมาเลเซียที่รอการ COD และ COD ไปแล้ว จากการเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Tri Viet 1 และ Bach Khoa A Chau 1 ประเทศวียดนาม กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ รวมถึงตั้งเป้ามีงานในมือ (Backlog) เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท ในงาน EPC และตั้งเป้ามี Private PPA ของพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) เพิ่มขึ้นเป็น 200-300 เมกะวัตต์ ใน 2-3 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้ามีกำลังการผลิตติดตั้ง (Total Equity) ภายในปี 65 แตะ 1,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ 638 เมกะวัตต์ มีการ COD ไปแล้ว 437 เมกะวัตต์ และมีอยู่ 201 เมกะวัตต์ที่ยังไม่ COD แบ่งเป็น ประเทศมาเลเซียราว 30 เมกะวัตต์ และในญี่ปุ่นอีก 170 เมกะวัตต์ ขณะที่บริษัทฯ ก็มองโอกาสการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลม ที่ประเทศเวียดนาม กำลังการผลิต 100-200 เมกะวัตต์ และยังมองโอกาสเข้าประมูลงานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพันธมิตร ในประเทศเมียนมา เนื่องด้วยทางการเมียนมาจะมีการเปิดให้ประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 30 โครงการ มูลค่ารวม 1,000 เมกะวัตต์ คาดจะเปิดให้ยื่นเสนอโครงการราว 300 เมกะวัตต์

ขณะที่โอกาสของงาน EPC ในปีนี้ ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้มีการอนุมัติแผนการลงทุนระบบงานสายส่งของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการก่อสร้างรวม 558,000 ล้านบาท ในระยะ 5-7 ปีข้างหน้า และงานการพัฒนาระบบสายส่ง คาดว่าจะมีวงเงินดังกล่าวราว 40,000 ล้านบาท รวมถึงบริษัทฯ ก็มีการขยายเข้าไปรับงานการนำสายไฟเบอร์ ออฟติก (Fiber Optic) ลงดิน คาดมีมูลค่างานทั้งระบบในส่วนนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการที่ GUNKUL จะสามารถเข้าไปรับงานได้ทั้งสิ้นกว่า 600,000 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ร่วมกับพันธมิตร (JV 50%) เข้าประมูลงาน Underground ของการไฟฟ้านครหลวง และชนะประมูลงานมาแล้ว ซึ่งเมื่อวานนี้ก็ได้มีการรับมอบพื้นที่ดำเนินงานบนถนนเจริญราษฎร์ เพื่อเข้าไปดำเนินการ มูลค่างานรวม 3,200 ล้านบาท และยังมีงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า วงเงินรวม 1,150 ล้านบาท, งานก่อสร้างสายส่งระบบ 115 KV Loopline มูลค่า 115 ล้านบาท รวมถึงยังมีงาน Underground Fiber Optic ที่ได้ทำร่วมกับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วงเงิน 4,100 ล้านบาท และงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop EPC) อีก 300 ล้านบาท

นอกจากนี้บริษัทฯ ก็เตรียมความพร้อมเข้าประมูลงาน 33 kv Submarine Cable เกาะเต่า มูลค่างานรวม 1,500 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างการอุทธรณ์งาน 115 Submarine Cable เกาะสมุย มูลค่า 1,800 ล้านบาท รวมถึงติดตามงานอื่นๆ อีก

 

 

Back to top button