ลุ้น SINGER โชว์กำไรปี 63 โตเกินเท่าตัว โบรกฯเชียร์ “ซื้อ” เป้า 30 บ.

ลุ้น SINGER โชว์กำไรปี 63 โตเกินเท่าตัว โบรกฯเชียร์ “ซื้อ” เป้า 30 บ.


บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” หุ้นบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ราคาเป้าหมาย 30 บาท/หุ้น โดยประเมินว่าสินเชื่อปี 2564-2565 จะขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นสูงปีละ 65%/51% หนุนโดย 1) การเร่งปล่อยสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) เชิงรุก คาดจะขยายตัวปีละ 114%/85% จากความเสี่ยงในการดำเนินงานที่ต่ำ ในด้าน NPLs ที่ต่ำกว่าสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเดิม และมีโอกาสในการขยายตัวที่สูง และ 2) บริษัทมีฐานเงินทุนที่สูงขึ้น เพื่อขยายสินเชื่อ จากการใช้สิทธิ SINGER W-1 และ SINGER W-2 ในปี 2563-2564 และได้รับการอนุมัติเพิ่มวงเงินการออกหุ้นกู้เป็น 8พันล้านบาท ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2563า

ขณะที่แนวโน้ม NPLs จะกลับมาอยู่ในระดับที่ต่ำ จากสินเชื่อ C4C โดยประเมินว่าปัญหา NPLs ที่สูง และกดดันต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงปี 2560-2561 นั้นคลี่คลาย และทำให้ NPLs จะลดลงสู่ระดับต่ำคาดปี 2563/2564 ที่ 3.1%/3.5% จาก 1) สัดส่วนสินเชื่อ C4C ที่มี NPLs ต่ำ (ไม่เกิน 1%) เพิ่มขึ้น โดยประเมินว่าสินเชื่อ C4C ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อ Fleet และสินเชื่อในธุรกิจ logistic ที่มีความต้องการสินเชื่อที่สูง และมีโอกาสเป็น NPLs ที่ต่ำ และ 2) ระบบการปล่อยสินเชื่อ และการติดตามลูกหนี้ของบริษัทที่บริษัทเริ่มนำมาใช้ในปี 2560 นั้นมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบริษัทได้ตัดจำหน่ายหนี้สูญในอดีตสูง

ส่วนกำไรสุทธิปี 2563/2564 จะกลับมาขยายตัวจากค่าใช้จ่ายสำรองฯที่ลดลง ประเมินกำไรสุทธิปี 2563 ที่ 438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 164%  และกำไรปี 2564 ที่ 581 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% โดยเป็นผลของ 1) สินเชื่อที่ขยายตัว 65%/+51% และ 2) ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯลดลงคิดเป็น credit cost ที่ 307/354 bps จากปี 2562 ที่ 1,088 bps โดยเชื่อว่าบริษัทได้ตัดจำหน่ายหนี้เสียของสินเชื่อเดิมที่ค้างในระบบส่วนใหญ่ในปี 2562 แล้ว สังเกตได้จากหนี้เสียที่ตัดจำหน่ายใน 9M20 ที่เพียง 303 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (ไตรมาส 3/63 = 18 ล้านบาท) จากที่ตัดจำหน่ายในปี 2562 ที่ 475 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามประเมินว่า loan spread ของบริษัทจะปรับตัวลงสู่ระดับ 14.8%/13.7% ในปี 2563/2564 จาก loan yield ที่ลดลงเป็น 20.6%/19.6% ตามสัดส่วนสินเชื่อ C4C ที่มี loan yield ต่ำ เพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นเป็น 5.8%/5.9% ตามหุ้นกู้ที่ออกในปี 2563 และมีต้นทุนทางการเงินที่ 5.75-5.90%

ทั้งนี้ประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 4/63 ที่ 119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 186% เมื่อเทียบจากปีก่อน และ 1% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน  โดยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากปีก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น 55% เมื่อเทียบจากปีก่อน ตามสินเชื่อที่ขยายตัว 65% เมื่อเทียบจากปีก่อน และค่าใช้จ่ายสำรองฯลดลง 73% เมื่อเทียบจากปีก่อน ตาม NPLs ที่ดีขึ้นเป็น 4.9% (ไตรมาส 4/62 = 9.3%) และการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่น้อยลงสู่ระดับต่ำคาดเพียง 29 ล้านบาท (ไตรมาส 4/63 = 232 ล้านบาท)

 

Back to top button