NWR พุ่งแรง 12% นิวไฮรอบ 2 ปี โบรกฯคาดกำไร Q1 สดใส หลังคว้างานใหม่ต่อเนื่อง!

NWR พุ่งแรง 12% นิวไฮรอบ 2 ปี โบรกฯคาดกำไร Q1 สดใส หลังคว้างานใหม่ต่อเนื่อง!


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR ณ เวลา 12.15 น. อยู่ที่ระดับ 0.92 บาท บวก 0.10 บาท หรือ 12.20%  ด้วยมูลค่าซื้อขาย 218.27 ล้านบาท  ราคาหุ้นทำนิวไฮในรอบ 2 ปี  โดยเทียบตั้งแต่หุ้นยืนที่ระดับ 0.92 บาท เมื่อวันที่ 19 เม.ย.62

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ฯว่า ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อเก็งกำไร”หุ้น NWR เนื่องจากคาดว่าบริษัทจะมีการประกาศข่าวดีเรื่อง การได้รับงานก่อสร้างใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด NWR เช้านี้(10พ.ค.2564) กลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นดับเบิลยูอาร์-เอวีพี ซึ่งประกอบไปด้วย NWR  และ บริษัท แอดวานซ์ฟรีแฟบ จำกัด (AVP) ได้รับงานก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในโครงการก่อสร้างทางเชื่อมต่อทางเชื่อม Skywalk ระหว่างโรงพยาบาลจุฬาภรณ์กับสถานีหลักสี่ตามพระราชดำริ มูลค่าโครงการ 238.22 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) (สัดส่วน NWR 51% คิดเป็นมูลค่า 121,492,200 บาท

ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุว่า แม้ผลการดำเนินงาน NWR บางงวดจะสร้างความผิดหวังบ้างในเรื่องการตั้งสำรองค่าใช้จ่ายต่างๆ เหนือความคาดหมาย โดยเฉพาะในช่วงการประกาศงบปลายปี ด้านปัญหาเกี่ยวกับราคาเหล็กก่อสร้างที่ปรับขึ้น บริษัทก็มีการซื้อเหล็กมาสต็อกไว้ล่วงหน้า และในส่วนงานภาครัฐก็มีการชดเชยค่า K ส่วนปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างชาติในงานก่อสร้างภาคเอกชน ทางบริษัทก็พยายามเน้นไปงานภาครัฐบางส่วนเพื่อชดเชย

สำหรับราคาพื้นฐานใหม่ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 0.97 บาท ประเมินด้วย Forward P/BV ปี 64 ที่ 0.8 เท่า หรือเทียบเท่ากับ P/E ปี 64 ที่ 20.4 เท่า พร้อมคาดการณ์กำไรไตรมาส 1/64 สดใสเป็น 23 ลล้านบาท ดีกว่า เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ เทียบไตรมาสก่อนหน้า ที่ 10 และ -293 ล้านบาท ตามลำดับ แต่มีสมมุติฐานไม่มีรายการพิเศษ เทียบกับ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ เทียบไตรมาสก่อนหน้า หากไม่นับรายการพิเศษเป็น -18 และ -171 ล้านบาท (ฐานไตรมาส 4/63 มีการตั้งสำรองด้อยค่ามาก) ตามลำดับ ก็แสดงว่ากำไรจากการดำเนินงาน (Core Profit) ดีขึ้น

แรงผลักดันสำคัญมาจากรายได้ที่สูงเป็น 3.2 พันล้านบาท (+33 เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ +20% เทียบไตรมาสก่อนหน้า) ด้านอัตรากำไรขั้นอยู่ในเกณฑ์ดีเป็น 8.3% เทียบกับ เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ เทียบไตรมาสก่อนหน้า ที่ 9.2% และ 0.2% ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนค่าใช้จ่ายขาย-บริหารเทียบกับรายได้อยู่ในเกณฑ์ต่ำเป็น 6% ซึ่งฐานเปรียบเทียบรายได้ไตรมาสนี้อยู่ในเกณฑ์ที่สูง ภาพรวมคือ ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาฯไปได้ดี แต่ผลิตภัณฑ์คอนกรีต precast ชะลอลงบ้าง

บริษัทมี Backlog งานก่อสร้างสูง ในช่วงต้นปีสำหรับงานก่อสร้างมีงานในมือที่ 32 พันล้านบาท ซึ่งสามารถรับรู้รายได้ถึง 3 ปีทีเดียว ซึ่งรวมปีนี้ด้วย ขณะที่ในสัดส่วนราว 35% หรือ 11.2 พันล้านบาท จาก Backlog ทั้งหมด จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ทันในปีนี้ งานในมือ เช่น โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู, โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้ม, โครงการสะพานข้ามไฮเวย์ไปพัทยา, โครงการระบบป้องกันน้ำท่วมคลองโผงเผงเฟส 3 และโครงการทางเดินใต้ดินที่สนามหลวง

บริษัทมี Backlog ในส่วนอสังหาริมทรัพย์อยู่พอควร ในช่วงต้นปีสำหรับยอดขายรอโอนสำหรับบริษัทย่อยคือ มานะพัฒนาการ ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 99% อยู่ที่ราว 390 ล้านบาท โดยมีอยู่ 2 โครงการ  คือ บ้านแนวราบ บารานี พาร์ค ถ.ร่มเกล้า และ คอนโดแอสเพน ลาซาล เฟส C รายการรายได้และกำไรจะจัดทำเป็นงบรวม สำหรับโครงการร่วมทุนของ มานะพัฒนาการ (ถือหุ้น 40%) และ CI (ถือหุ้น 60%) เป็นโครงการ บ้านอิสสระ บางนา-ตราด กม. 8 ซึ่งเป็นบ้านระดับราคาสูง มียอดขายรอโอนอยู่ที่ประมาณ 182 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้จะรับรู้เป็นกำไรตามส่วนได้เสีย

Back to top button