ครม. เคาะลดเงินสมทบ “ประกันสังคม” ช่วยค่าครองชีพ

คณะรัฐมนตรี เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างมีสภาพคล่องในช่วงที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขี้น โดยมีผลเป็นเวลา 3 เดือนช่วงพ.ค. – ก.ค. 65


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ลดอัตราเงินสบทบของผู้ประกันตน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 เป็นระยเวลา 3 เดือน

โดยนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ลดจ่ายเงินสมทบจากอัตราที่เท่ากัน 5% ต่อเดือน เหลือเป็น 1% ต่อเดือน เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป

ทั้งนี้ ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39  สำหรับผู้ที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชน และมีประกันสังคมมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงาน หรือออกจากมาตรา 33 จากนั้นสมัครใจส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมต่อ เพื่อรับสิทธิทดแทนและคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ โดยปกติผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน หรือ 9% ต่อเดือนเหลือ 1.9%

รวมทั้งลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 สัญชาติไทย อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นลูกจ้างบริษัท หรือมีนายจ้าง ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รวมถึงไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ

โดยอัตราการจ่ายเงินสมทบมาตรา 40 เข้ากองทุนประกันสังคมมี 3 อัตรา ได้แก่ อัตราเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน อัตราลดเป็น 42 บาทต่อเดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย

ขณะที่อัตราเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาทต่อเดือน อัตราลดเป็น 60 บาทต่อเดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ

ส่วนอัตราเดิมจ่ายสมทบ 300 บาทต่อเดือน อัตราลดเป็น 180 บาทต่อเดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

Back to top button