สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 พ.ค. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 31 พ.ค. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันอังคาร (31 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากความผันผวนของราคาน้ำมัน รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนจนกว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,990.12 จุด ลดลง 222.84 จุด หรือ -0.67%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,132.15 จุด ลดลง 26.09 จุด หรือ -0.63% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,081.39 จุด ลดลง 49.74 จุด หรือ -0.41%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงแตะระดับต่ำสุดของวันอังคาร (31 พ.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.นั้น กระตุ้นให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 443.35 จุด ลดลง 3.22 จุด หรือ -0.72%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,468.80 จุด ลดลง 93.59 จุด หรือ -1.43%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,388.35 จุด ลดลง 187.63 จุด หรือ -1.29% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,607.66 จุด เพิ่มขึ้น 7.60 จุด หรือ +0.10%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร (31 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกว่า ภาวะเงินเฟ้อที่ระดับสูงและวิกฤตค่าครองชีพที่ย่ำแย่ลง จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษ

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,607.66 จุด เพิ่มขึ้น 7.60 จุด หรือ +0.10% และปิดตลาดเดือนพ.ค.บวก 0.8% โดยได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มน้ำมันและก๊าซ และกลุ่มธนาคาร

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (31 พ.ค.) ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน หลังมีรายงานว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส อาจระงับการมีส่วนร่วมของรัสเซียในข้อตกลงด้านการผลิตของโอเปกพลัส

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 40 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 114.67 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.17 ดอลลาร์ หรือ 1% ปิดที่ 122.84 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (31 พ.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ลดลง 8.9 ดอลลาร์ หรือ 0.48% ปิดที่ 1,848.4 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค. ลดลง 40.8 เซนต์ หรือ 1.85% ปิดที่ 21.688 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 25.3 ดอลลาร์ หรือ 2.68% ปิดที่ 968.3 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 48.50 ดอลลาร์ หรือ 2.36% ปิดที่ 2,006.30 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (31 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ รวมทั้งการที่นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมทุกเดือนเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.08% สู่ระดับ 101.7510

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 128.65 เยน จากระดับ 127.53 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9587 ฟรังก์ จากระดับ 0.9578 ฟรังก์ อย่างไรก็ดี ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2644 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2657 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0740 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0785 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.2604 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2628 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 0.7177 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ  0.7163 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button