สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 1 ส.ค. 2565

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ ประจำวันที่ 1 ส.ค. 2565


ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (1 ส.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพลังงาน และข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 32,798.40 จุด ลดลง 46.73 จุด หรือ -0.14%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,118.63 จุด ลดลง 11.66 จุด หรือ -0.28% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 12,368.98 จุด ลดลง 21.71 จุด หรือ -0.18%

ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงในวันจันทร์ (1 ส.ค.) โดยถูกถ่วงลงโดยหุ้นกลุ่มพลังงานท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง และข้อมูลบ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตหดตัวลงในยูโรโซน

ทั้งนี้ ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ 437.46 จุด ลดลง 0.83 จุด หรือ -0.19%

ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,436.86 จุด ลดลง 11.64 จุด หรือ -0.18%, ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 13,479.63 จุด ลดลง 4.42 จุด หรือ -0.03% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,413.42 จุด ลดลง 10.01 จุด หรือ -0.13%

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดลบในวันจันทร์ (1 ส.ค.) เนื่องจากหุ้นกลุ่มน้ำมันร่วงลง และการทะยานขึ้นของค่าเงินปอนด์ถ่วงตลาดลงด้วย ขณะที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้ ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,413.42 จุด ลดลง 10.01 จุด หรือ -0.13%

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันจันทร์ (1 ส.ค.) หลังจากหลายประเทศซึ่งรวมถึงจีนและสหรัฐเปิดเผยข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกว่าการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ในวันพุธนี้

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 4.73 ดอลลาร์ หรือ 4.8% ปิดที่ 93.89 ดอลลาร์/บาร์เรล

ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค. ลดลง 3.94 ดอลลาร์ หรือ 3.8% ปิดที่ 100.03 ดอลลาร์/บาร์เรล

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ในวันจันทร์ (1 ส.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดดอลลาร์ และแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยหลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 5.9 ดอลลาร์ หรือ 0.33% ปิดที่ 1,787.7 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 16.5 เซนต์ หรือ 0.82% ปิดที่ 20.362 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 11.8 ดอลลาร์ หรือ 1.33% ปิดที่ 901.6 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. พุ่งขึ้น 69.70 ดอลลาร์ หรือ 3.1% ปิดที่ 2,99.40 ดอลลาร์/ออนซ์

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (1 ส.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้

ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.43% แตะที่ระดับ 105.4500

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 131.83 เยน จากระดับ 133.35 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9506 ฟรังก์ จากระดับ 0.9519 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2847 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2808 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0257 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0224 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.2255 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2176 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7022 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6996 ดอลลาร์สหรัฐ

Back to top button