“บลจ.ดาโอ” ส่ง “กองทุน DAOL-FXALPHA-UI” รุกตลาดสกุลเงิน เปิดขาย 13-20 ธ.ค.นี้

“บลจ.ดาโอ” รุกตลาดสกุลเงิน ออก “กองทุน DAOL-FXALPHA-UI ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย” สร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากค่าเงินหลัก 14 สกุลเงินทั่วโลก ด้วยกลยุทธ์ Long-Short Strategy เปิดขาย 13-20 ธ.ค.นี้


นางสาวนิสารัตน์ ชมภูพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจัดการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ดาโอ จำกัด หรือ บลจ.ดาโอ (DAOL INVESTMENT MANAGEMENT) เปิดเผยว่า ตลาดสินทรัพย์ตั้งแต่ต้นปีมีความผันผวนสูง ภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูงกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนลดลง ส่งผลให้สินทรัพย์ต่างๆ (Asset Class) แบบดั้งเดิม ไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นการลงทุนที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลตอบแทนที่หลากหลาย จึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างความยืดหยุ่นกับพอร์ตลงทุน

โดยการกระจายลงทุนในสินทรัพย์ประเภทสกุลเงินเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในสภาพตลาดผันผวน และเมื่อพิจารณาสภาวะตลาดของแต่ละประเทศที่แตกต่างทางปัจจัยด้านทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลให้สกุลเงินของแต่ละประเทศอ่อนค่าและแข็งค่าต่างกันตามมูลค่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ กล่าวคือ นโยบายของธนาคารกลาง, อัตราดอกเบี้ย, การค้า, การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ, ความต้องการถือครองค่าเงิน, การเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงสถานการณ์และปัจจัยในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยเฉพาะที่ส่งผลต่อค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยน

ขณะเดียวกันจากข้อมูล (BIS Triennial Central Bank Survey 2019) พบว่า ปริมาณการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินทั่วโลกมีมูลค่าถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน สะท้อนสภาพคล่องที่มีสูงกว่าตลาดหุ้นถึง 25 เท่า และเป็นการซื้อขายรูปแบบสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งนักลงทุนสามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับ บลจ.ดาโอ มองเป็นโอกาสลงทุนในสกุลเงินทั่วโลก จึงเปิดเสนอขาย IPO “กองทุนเปิด ดาโอ เอฟเอ็กซ์ อัลฟ่า ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (DAOL-FXALPHA-UI )” มีความเสี่ยงระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญ (8+) จะเปิดเสนอขายระหว่างวันที่ 13-20 ธ.ค. 65 มีนโยบายลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงในสกุลเงินหลักต่างประเทศ โดยมีสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (USD) เป็นสกุลเงินอ้างอิงหลัก (Base Currency) เทียบกับอีก 14 สกุลเงินและทองคำ ผ่านกองทุนหลัก P/E FX Strategy FUND บริหารโดย P/E Investments ผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการสกุลเงิน เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนและช่วยกระจายความเสี่ยงกับพอร์ตลงทุนในระยะยาว ด้วย “กลยุทธ์ Long-Short Strategy”

ทั้งนี้ด้วย 3 ปัจจัยเศรษฐกิจหลักได้แก่ ผลตอบแทน (Yield) จากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวของแต่ละประเทศ, ความเสี่ยง (Risk) ของอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเคลื่อนไหวของเงินทุน (Capital Flow) เข้าออกของแต่ะประเทศ ซึ่งมีผลต่อค่าเงินจึงเป็นโอกาสให้สามารถบริหารความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทน โดยผู้จัดการกองทุนมีการติดตามผลการดำเนินงานเป็นรายวัน และปรับพอร์ต ตามสภาวะตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้กองทุนสามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนอย่างโดดเด่น โดยพบว่าย้อนหลัง 1 ปีกองทุนให้ตอบแทนอยู่ที่ 38.55% ย้อนหลัง 5 ปีอยู่ที่ 66.77% ย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 105.54% และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 376.71% (ที่มา: Expanded Introduction to the FX Strategy ข้อมูล ณ 31 ต.ค. 65)

นอกจากนี้ด้วยสภาพตลาดปัจจุบันกองทุนลงทุนถือสถานะ Long ในสกุลเงินที่มีแนวโน้มแข็งเมื่อเทียบกับ USD 5 อันดับแรกได้แก่ สกุลเงิน CDA, GLD, MXN, NZD, ZAR และถือสถานะ Short ในสกุลเงินที่มีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ USD 5 อันดับแรกได้แก่ JPY, EUR, AUD, SEK, NOK (ที่มา: P/E FX STRATEGY FUND ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 65)

โดย PE Investment เป็นบริษัทจัดการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตจาก กลต.สหรัฐฯ ก่อตั้งปี 1995 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้บริการทั้งลูกค้ารายบุคคล และนักลงทุนสถาบันทั่วโลก โดยมีออฟฟิศที่ประเทศสิงคโปร์ และเมลเบิร์น ออสเตรเลีย มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการ (Assets Under Management) อยู่ที่ 14.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 5.38 แสนล้านบาท) โดยกลยุทธ์การลงทุน FX Strategy ได้เป็นความเชี่ยวชาญหลักของทางบริษัท คิดเป็น 89% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการ (ที่มา: Expanded Introduction to the FX Strategy ข้อมูล ณ วันที่ 1ต.ค. 65)

“ด้วยความแตกต่างของค่าเงินแต่ละประเทศที่เคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ และด้วยสภาพคล่องที่สูง อีกทั้งมีความสัมพันธ์ต่ำ (Low Correlation) เมื่อเทียบกับหุ้นและตราสารหนี้ บลจ.ดาโอ จึงมองว่า การลงทุนในตลาดสกุลเงินทั่วโลก 14 สกุลเงินและทองคำ ผ่าน “DAOL-FXALPHA-UI เป็นทางเลือกเพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุนและสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่น่าสนใจในระยะยาว” นางสาวนิสารัตน์ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนดาโอ จำกัด (บลจ.ดาโอ) โทรศัพท์ 02-351-1800 กด 2 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.ดาโอ ได้แก่ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด, บล.โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน), บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บล.เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน), บลน.เว็ลธ์เมจิก จำกัด, บล.เอเชียเวลท์ จำกัด, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด, บล.คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน), บล. ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน), บลน.ฐานเศรษฐกิจ แคปพิตอล จำกัด, บล.เอเอสแอล จำกัด, บลน.เทรเชอริสต์ จำกัด, บล. ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด, บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน),

บล.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บล.กรุงศรี จำกัด (มหาชน), บลน.ฟินโนมินา จำกัด, บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บลจ. เอ็กซ์สปริง จำกัด, บล.เคเคพี ไดม์ จำกัด, บลน.โรโบเวลธ์ จำกัด, บลน.เวลท์ รีพับบลิค จำกัด, บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด, บล.ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด, บล.สยามเวลธ์ จำกัด

ส่วนความเสี่ยงที่สำคัญกองทุน DAOL-FXALPHA-UI

การลงทุนในสัญญาออปชั่นหรือสัญญาฟิวเจอร์สที่ซื้อขายในตลาด (Organized Exchange) ซึ่งกองทุนสามารถลงทุนได้โดยการวางเงินประกัน (Margin) เพื่อป้องกันการไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยการวางเงินประกันเพียงเล็กน้อยสามารถลงทุนในสัญญาที่มีมูลค่ามากได้ เช่น ตลาดอาจกำหนดให้วางเงินประกันเพียงแค่ 5% ของมูลค่าสัญญา ส่งผลให้อัตราผลตอบแทน (กำไร / ขาดทุน) เกิดขึ้นในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่ลงทุน ซึ่งในกรณีที่กองทุนคาดการณ์ถูกต้อง การวางเงินประกันเพียงเล็กน้อย กองทุนก็จะได้กำไรเป็นจำนวนมาก แต่ในทางตรงกันข้าม หากกองทุนคาดการณ์ผิดการวางเงินประกันเพียงเล็กน้อย กองทุนก็อาจขาดทุนเป็นจำนวนมากได้ ดังนั้นกองทุนจึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่มีฐานะการเงินที่สามารถรับความเสี่ยงจากผลขาดทุนได้

คำเตือน

1.ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

2.กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงและซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน

3.ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

4.เนื่องจากกองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน โดยป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

Back to top button