“กอนช.” เตือน 23 จว. เสี่ยงน้ำป่าไหลหลาก-ท่วมฉับพลัน 29 ส.ค.-3 ก.ย.66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเตือน 23 จังหวัด ให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในช่วง 29 ส.ค.-3 ก.ย.66


กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศเตือนให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก หลังจากติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณีแล้วพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังอุทกภัย ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย.66 ดังนี้

1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม บริเวณ

1.1 ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย)

จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย)

จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงาม พรานกระต่าย และลานกระบือ)

จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง)

จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกำ)

จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง)

จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร และบ้านแท่น)

จังหวัดขอนแก่น (อำเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ)

จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย)

จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกันทรวิชัย)

จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง)

จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด)

1.3 ภาคตะวันออก

จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง)

จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)

จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ)

1.4 ภาคใต้

จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ)

จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกระบุรี)

จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)

จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)

2.พื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ

แม่น้ำยัง บริเวณอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

แม่น้ำสงคราม บริเวณอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ถึงอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน

2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

Back to top button