COCOCO ลุ้นกำไรปีนี้โต 59% “บล.ฟิลลิป” เคาะเป้าสูง 14.40 บ.

COCOCO ลุ้นกำไรปี 66 โต 59% แตะ 601 ล้านบาท หนุนจากปริมาณขายน้ำมะพร้าว มีมาร์จิ้นสูงเพิ่มขึ้น จากการขยายตลาดไปจีน ด้าน บล.ฟิลลิป เคาะราคาเป้าหมายสูงสุด 14.40 บาท


บริษัทหลักทรัพย์ 7 แห่ง ประกอบด้วย บล. ยูโอบีเคย์เฮียน (ประเทศไทย), บล.บียอน, บล.แลนด์แอนเฮ้าส์, บล.พาย, บล.ฟิลิป (ประเทศไทย), บล.บัวหลวง และ บล.ไอร่า ออกบทวิเคราะห์ประเมินเกี่ยวกับหุ้น บริษัท ไทย โคโคนัท จำกัด (มหาชน) หรือ COCOCO โดยให้ราคาเหมาะสมตั้งแต่ 10.80 บาท ถึงสูงสุด 14.40 บาท

ด้าน บล.ไอร่า ประเมินราคาเป้าหมายปี 67 ที่ 12.40 บาท อิงค่า P/E อยู่ที่ 24 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 23 เท่า จากศักยภาพการเติบโตหลังเข้าตลาดฯ คาดกำไรปกติปี 66 อยู่ที่ 562 ล้านบาท ถัดมาในปี 67 คาดกำไรอยู่ที่ , 754 ล้านบาท และในปี 68 คาดกำไรอยู่ที่ 911 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 43.8% หนุนจากปริมาณขายน้ำมะพร้าว ซึ่งมีมาร์จิ้นสูงเพิ่มขึ้น จากการขยายตลาดไปจีน ตั้งแต่ปลายปี 64

อีกทั้งกระแสการบริโภคน้ำมะพร้าวทั่วโลกเพิ่มขึ้น ชดเชยผลิตภัณฑ์กะทิที่อาจทรงตัวถึงย่อตัวเล็กน้อยจากเศรษฐกิจยุโรปและอเมริกาที่ชะลอตัว และธุรกิจใหม่ช่วงแรกยังขาดทุน ประเมินราคาเป้าหมายปี 67 ที่ 12.40 บาท อิงค่า P/E อยู่ที่ 24 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน ย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 23 เท่า จากศักยภาพการเติบโตหลังเข้าตลาดฯ

อย่างไรก็ตาม มองว่า COCOCO เป็นผู้นำอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวรายใหญ่ของไทย ภายใต้ตราสินค้าบริษัท และ OEM (รับจ้างผลิต) ที่มีศักยภาพสูง ใช้เครื่องจักรทันสมัย และวิจัยฯ เป็นของตนเอง สินค้าเป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า โดยเดือน ม.ค.-พ.ค. 66 ที่ผ่านมา เป็นผู้ส่งออกน้ำมะพร้าวไปตลาดโลกอันดับ 2 ของไทย และเป็นผู้ส่งออกน้ำมะพร้าวเบอร์ 1 ไปจีน สะท้อน จาก U-Rate น้ำมะพร้าวเดือน พ.ค. 66 ที่ขยับขึ้นอย่างมีนัยเป็น 73% จากไตรมาส 1/66 อยู่ที่ 43% โดยมีฐานลูกค้า 90 ประเทศทั่วโลก, ที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบมะพร้าว มีฐานลูกค้าต่างประเทศ 90 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกทวีป ไม่ต้องพึ่งพิงประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป

อีกทั้งโรงงานตั้งอยู่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวชั้นดีของไทย ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งด้านความสามารถในการจัดหามะพร้าว โดยเฉพาะน้ำมะพร้าว และเนื้อมะพร้าวขาว

ด้าน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ประเมินราคาเป้าหมายพื้นฐาน 12.50 บาท มองว่า COCOCO เป็นผู้นำผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าวครบวงจร โดยมีกลุ่มสินค้าหลัก กะทิ และน้ำมะพร้าว มีฐานลูกค้ากว่า 90 ประเทศทั่วโลก มีจุดเด่นด้านภูมิศาสตร์แหล่งวัตถุดิบมะพร้าว ประกอบกับการรุกตลาดน้ำมะพร้าวจีนในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเติบโตสูง

โดยประกอบกับการเข้าระดมทุน IPO ช่วยเสริมความสามารถเติบโต คาดกำไรปี 65-68 เติบโตสูง 38.9% ต่อปี ประเมินมูลค่าพื้นฐานที่ 12.50 บาท อิง Forward PE ปี 67 ที่ 26.4 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มค้าปลีก พร้อมประเมินกำไรปี 65-68 เติบโตสูง 38.9% ต่อปี หนุนจากยอดขายรวมที่คาดเติบโตสูง 26.3% ต่อปีในปี 65-68 ภายใต้สมมติฐานการขยายกำลังผลิตน้ำมะพร้าวเป็น 1.10 ในปี 66 และในปี 67 ขยายกำลังผลิตเป็น 2.18 ส่วนในปี 68 ขยายกำลังผลิตเป็น 2.18 แสนตันต่อปี จากปี 65 อยู่ที่ 0.33 แสนตันต่อปี และอัตราการใช้โรงงานน้ำมะพร้าวในปี 66 อยู่ที่ 75% ส่วนปี 67 อยู่ที่ 60% ถัดมาในปี 68 อยู่ที่ 65%

ทั้งนี้ ประกอบกับ GPM ที่จะยกระดับ ขึ้นมาอยู่ราว 25.3-25.5% ในปี 66-68 จากฐานยอดขายหนุน economy of scale ภาพรวมคาดหนุนการเติบโตกำไร 38.9% ต่อปี

ด้าน บล.บียอน ประเมินมูลค่าเหมาะสม จากการเติบโตและอัตรากำไรที่สูง ให้ราคาเป้าหมาย 13.20 บาท ให้ P/E ปี 67 ที่ 24 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของคู่แข่งในประเทศที่ 24 เท่า จากการเติบโตกำไรสุทธิที่แข็งแกร่ง เห็นได้ชัดของธุรกิจมะพร้าวผ่านอัตรากำไรที่ดีขึ้น จากกลยุทธ์การเติบโตของน้ำมะพร้าวและการขยายกำลังผลิตอย่างทันท่วงที

โดยมองว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ของ COCOCO จากการเติบโตจากกะทิเป็นน้ำมะพร้าว ทำให้การประเมินมูลค่าดีขึ้นเนื่องจากขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น และอัตรากำไรที่สูงขึ้น ของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เทียบกับอุตสาหกรรมวัตถุดิบ คาดว่า COCOCO จะมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิที่ 2.5 เท่า หรือในปี 66-68 เติบโตเฉลี่ย 36% ต่อปี โดยได้แรงหนุนจากการขยายกำลังการผลิตน้ำมะพร้าว การกระจายกลุ่มธุรกิจไปสู่ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์จากพืช และอัตรากำไรที่ดีขึ้นจากประโยชน์การลดต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย และการมีสินค้าที่หลากหลายขึ้น จากกะทิสู่น้ำมะพร้าวพร้อมดื่ม

ด้าน บล.บัวหลวง ประเมินมูลค่าพื้นฐานปี 67 ที่ 17,052 ล้านบาท หรือเทียบเป็นราคา 11.60 บาท/หุ้น อิงวิธีการประเมินมูลค่ากิจการแบบเป้าหมาย PER ที่ค่าเฉลี่ยระยะยาว (5 ปี) ของกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องดื่มในไทย (ที่มีสภาพคล่องการซื้อขาย) อยู่ที่ 24.7 เท่า และ EPS ปี 67 ที่ 0.47 บาท/หุ้น PER ที่ใช้ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ของกลุ่ม และผู้ประกอบการเครื่องดื่มระดับโลกที่นำมาใช้เปรียบเทียบเฉลี่ยที่ 28.7 เท่า อยู่ 14%

นอกจากนี้ บล.พาย ประเมินมูลค่าพื้นฐาน 11.50 บาท ด้วยวิธี PE multiple ใช้กำไรต่อหุ้นปี 67 ที่ 0.47 บาท กำหนดเป้าหมาย PE ปี 67 ที่ 24.6 เท่า อิงกับค่าเฉลี่ยการซื้อขายของบริษัทที่มีลักษณะธุรกิจใกล้เคียงกับบริษัทฯ โดยอิงกับประมาณการกำไรปี 67 ตามคาดการณ์ของ Bloomberg consensus ซึ่งต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยการซื้อขาย 5 ปีของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (SET FOOD ) ที่ 26 เท่า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิต่อปีที่ 28% ของบริษัทในปี 66-68 หรือ PEG ต่ำกว่า 1 เท่า

ขณะที่ บล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ประเมินราคาเป้าหมายปี 67 ที่ 10.80 บาท อิงค่า PER เฉลี่ยหุ้นกลุ่มเครื่องดื่มที่ 24 เท่า ทั้งนี้มองว่า ผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าว จะก้าวมาเป็นรายได้หลักแทนผลิตภัณฑ์กะทิ และมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มเครื่องดื่มที่เทรดในตลาดปัจจุบัน

ส่วน บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ให้ราคาพื้นฐานปี 67 ที่ 14.40 บาท/หุ้น โดยมองว่าการเพิ่มทุนขยายกำลังการผลิตน้ำมะพร้าวเป็นหลัก ทำให้รายได้หลักในอนาคตเปลี่ยนจากธุรกิจอาหาร เป็นธุรกิจเครื่องดื่ม สร้างรายได้และอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าเดิม วัตถุดิบหลักที่ทำจากมะพร้าว มีคู่แข่งน้อยราย หากเทียบกับความต้องการของโลกประมาณการกำไรปี 66 อยู่ที่ 601 ล้านบาท เติบโต 58.9% และในปี 67 คาดกำไรเติบโตอยู่ที่ 1,076 ล้านบาท เติบโต 79% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

X
Back to top button