CK-STEC จ่อชิงเค้ก! โครงการ “เมกะโปรเจกต์” ภาครัฐ 6.25 แสนล้านบาท

CK-STEC เตรียมชิงเค้ก! โครงการ “เมกะโปรเจ็กต์” การลงทุนของภาครัฐรอบใหม่กำลังจะมานับตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ซึ่งมีหลายโครงการมูลค่ารวม 6.25 แสนล้านบาท โดยงบลงทุนรวมของภาครัฐราว 3.32 แสนล้านบาท หลังได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดก่อนหน้าไปเรียบร้อย แต่รอความเห็นชอบจากรัฐบาลชุดใหม่เพื่อเริ่มดำเนินการ นอกจากนั้นยังมีโครงการใหม่ๆมูลค่ารวมอีกราว 2.93 แสนลบ.รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอยู่ ด้านบล.เมย์แบงก์ แนะนำ “ซื้อ” CK ขณะที่ บล.ฟินันเซีย ไซรัส แนะนำ “ถือ” STEC


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงทุนระบบการขนส่งของภาครัฐน่าจะกลับมาเติบโตได้นับตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป โดยอ้างอิงจากประมาณการของ KResearch ว่าการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสาธารณะทรงตัวอยู่ราว 1.60-1.65 แสนล้านบาท ต่อปีระหว่างปี 2563-2566

ขณะเดียวกัน KResearch คาดว่าการเติบโตขึ้นของงบในระดับเป็นเลขหลักเดียวปลายๆ หรือเลขสองหลักต้นๆ ต่อปีในอีก 4 ปีข้างหน้าเริ่มตั้งแต่ปี 2567 สำหรับปี 2566 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐคาดอยู่ที่ 1.64 แสนล้านบาท หรือสูงกว่าปี 2565 เพียง 1.0%  เท่านั้น

สำหรับ Mega project หลายโครงการมูลค่ารวม 6.25 แสนล้านบาทรอการเริ่มดำเนินการ ซึ่งงบลงทุนรวมของภาครัฐราว 3.32 แสนล้านบาท (มูลค่า 1.54 แสนล้านบาทเป็นการลงทุนระบบรถไฟใต้ดินในกรุงเทพมหานคร ระบบทางรถไฟ (railway) และรถไฟรางคู่ราว 9.6 หมื่นล้านบาท มอเตอร์เวย์มูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และท่าอากาศยานสนามบินอีก 4.7 หมื่นล้านบาท) ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดก่อนหน้าไปเรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากรัฐบาลชุดใหม่นี้เพื่อเริ่มดำเนินการ

นอกจากนั้นยังมีโครงการใหม่ๆมูลค่ารวมอีกราว 2.93 แสนล้านบาท รอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอยู่โดยที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงการมอเตอร์เวย์และทางด่วน (expressway) มูลค่ารวมอยู่ที่ 1.31 แสนล้านบาท และโครงการทางรถไฟ

กับรถไฟรางคู่มูลค่ารวมที่ 1.00 แสนล้านบาท หากเป็นไปตามช่วงเวลาปกติ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วน่าจะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือนเพื่อเริ่มดำเนินการโครงการต่าง ๆ

ทั้งนี้กล่าวคือโครงการต่าง ๆ มูลค่า 3.32 แสนล้านบาทที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ น่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้หรือต้นปี 2568 ขณะที่โครงการส่วนที่เหลือซึ่งตามกำหนดที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีภายในปีนี้ จะอาจเริ่มดำเนินการได้ในปลายปี 2568

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI ระบุว่า ดัชนีหมวดบริการรับเหมาก่อสร้างลดลงมา 2 ปีในช่วงปี 2565-2566 โดยที่ดัชนีในปีที่แล้วตกต่ำลง 29% ตามความล่าช้าจากการลงทุนของภาครัฐช่วงปรับเปลี่ยนจากรัฐบาลชุดก่อนหน้ามาเป็นรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ทั้งนี้รัฐบาลชุดปัจจุบันพยายามที่จะเร่งการลงทุนของภาครัฐ โดยทั้ง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มราคาหุ้นตกต่ำลงมากเมื่อปีที่แล้วราว 14% และ 38% ตามลำดับ น่าจะกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง โดยเฉพาะเมื่อ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ซึ่งเป็นผู้นำตลาดด้านบริการรับเหมาก่อสร้าง ประสบปัญหาทางการเงินและวิกฤตสภาพคล่อง

ส่วนราคาหุ้น STEC ซึ่งเน้นบริการรับเหมาก่อสร้างเป็นหลักตกต่ำมากที่สุดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเทียบกับราคาหุ้น CK ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรับเหมาก่อสร้างและมีธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำจากโรงไฟฟ้า (power plant) ธุรกิจระบบขนส่งมวลชนด้วย โดยที่ทั้ง STEC และ CK ซื้อขายอยู่ที่ -1SD ของค่าเฉลี่ย PE ระยะยาว ขณะที่ STEC ยังซื้อขายบน PBV ที่ 0.7-0.8 เท่า อยู่บน -1S.D. จากค่าเฉลี่ยระยะยาว

โดยสวนทางกลับ CK ที่ซื้อขายบน PBV ที่ 1.4 เท่า มี premium จากค่าเฉลี่ยระยาว เมื่ออิงตามประมาณการกำไรของ Bloomberg consensus กำไรปี 2566 ของ STEC น่าจะแย่ลง 32% ก่อนที่จะกลับมาเติบโตราว 19-20% ต่อปีในปี 2567-2568 ส่วนแนวโน้มกำไรของ CK นั้นดูดีกว่าโดยมี 3 ปี CAGR อยู่ที่ 24-25% (ปี 2566-2568) แต่อย่างไรก็ตาม STEC มีสถานะเงินสดในมือมั่นคงมาโดยตลอด ในขณะที่ CK มีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (net gearing) อยู่ในระดับสูง โดยหุ้นกู้ของกลุ่มได้รับการจัดอันดับเครดิตฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือที่ระดับ A จากการประเมินโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทริสเรทติ้ง (Tris Rating)

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ ยังคงแนะนำ “ซื้อ” CK ว่าแนวโน้มผลประกอบการปี 2566/67 คาดกำไรจะเติบโตสูง 81% และ 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก่อนหน้า แรงหนุนจากการเติบโตของบริษัทลูก และงานก่อสร้างโยธา โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำหลวงพระบาง 99,788 ล้านบาท ที่เร่งตัวมากขึ้น Backlog ปัจจุบันสูง 1.3 แสนล้านบาทแนวโน้มคาดจะได้งานเพิ่มจากโครงการของบริษัทลูก ทำให้ Backlog เข้าสู่ New S-Curve โดยมีการปรับประมาณการกำไรปี 2566 เล็กน้อยเท่ากับ ลดลง 3.5% แต่เพิ่มขึ้น 3% ในปี 2567 ทำให้ราคาเป้าหมายใหม่ 26 บาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 25.40 บาท

สำหรับ CK มี Backlog ณ สิ้นปี 2566 ที่สูง 1.3 แสนล้านบาท อนาคตมีแนวโน้มจะได้งานเพิ่มจากบริษัทลูก เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.27 แสนล้านบาท ซึ่ง BEM ชนะการประมูลแล้วรอรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติ โครงการทางด่วน 2 ชั้น งามวงศ์วาน – พระรามเก้า ดาเนินการลงทุนโดยBEM มูลค่าลงทุน 35,000 ล้านบาท ปัจจุบันก าลังทา EIA คาดได้ข้อสรุปและเสนอให้ ครม.ใหม่ได้ภายในปี 2567 นี้ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้งาน M&E 2.7 หมื่นล้านบาท มีแนวโน้มที่ BEM จะได้เดินรถต่อเนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือบางใหญ่–เตาปูน จะทำให้ Backlog เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 แสนล้านบาท เข้าสู่ New S-Curve

โดยปี 2566 มีการปรับประมาณการรายได้ขึ้นเล็กน้อย 1.8% สู่ระดับ 36,920 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 104% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน จากการรับรู้งานโรงไฟฟ้าหลวงพระบางที่เร่งตัวมากขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปรับลดกำไรลงเล็กน้อย 3.5% เหลือ 1,596 ล้านบาท แต่เติบโตสูง 81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ส่วนปี 2567 ปรับประมาณการรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2% สู่ระดับ 37,800 ล้านบาท เติบโต 2.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อนแรงหนุนโรงไฟฟ้าหลวงพระบางที่เร่งตัวมากขึ้น และปรับกำไรเพิ่ม 3% สู่ระดับ 2,077 ล้านบาท เติบโตสูง 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน แรงหนุนเพิ่มจากส่วนแบ่งกาไรของ BEM และ CKP ที่เติบโต

บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ถือ” STEC โดยประเมินราคาเหมาะสมปี 2567 ที่ 10 บาท เนื่องจากงานในมือ (Backlog) ณ สิ้นปี 2566 คาดที่ 9.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่บริษัทตั้งเป้าเข้าร่วมประมูลงานใหม่ มูลค่ารวม 3.35 แสนล้านบาท จากทั้งภาครัฐที่คาดผลักดันงานโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น อาทิ มอเตอร์เวย์, ทางด่วน, รถไฟฟ้า และรถไฟทางคู่ ซึ่งเราให้นํ้าหนักการเปิดประมูลในช่วงครึ่งหลังปี 2567 นอกจากนี้ มีงานประเภทที่บริษัทถนัดและเกี่ยวข้องกับการขยายไปธุรกิจใหม่ของบริษัทโฮลดิ้ง อาทิ งานอาคาร Data Center และโรงไฟฟ้า

ทั้งนี้ในปี 2567 คาดทยอยฟื้นตัว อยู่ที่ 605 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน หนุนจากธุรกิจก่อสร้างที่ดีขึ้น แต่ภาพรวมยังถูกกดดันจากการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนของสายสีชมพู-เหลืองที่รับรู้เต็มปี

Back to top button