
ศาลไฟเขียว “อ้วน” ลุยต่อ! สั่ง “ทวี” เลิกยุ่ง DSI พบอาจเข้าข่ายแทรกแซง “คดี สว.”
ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์ให้ “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” รมว.ยุติธรรม หยุดปฏิบัติหน้าที่ใน DSI ปมใช้อำนาจครอบงำกกต. รอชี้ขาดคุณสมบัติรัฐมนตรี ด้าน "ภูมิธรรม เวชยชัย" รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ยังไม่ปรากฎเข้าข่ายแทรกแซง “คดี สว.” และปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(14 พ.ค.2568) ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาหารือ กรณีประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ผู้ถูกร้องที่ 1 และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (8) และ (5) หรือไม่
จากกรณีสมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) โดยกล่าวอ้างว่า การที่ผู้ถูกร้องทั้งสองมีมติให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแชงกระบวนการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภา()ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรม จึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลง เฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสกสารหลักฐานตามประเด็นที่ ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับกรณีปรากฎข้อเท็จจริงตามคำร้องเพิ่มเพิ่มเติมของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 14 พ.ค.2568 พร้อมเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนุญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดนั้น ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ยังไม่ปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่
ส่วนผู้ถูกร้องที่ 2 ดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม มีหน้าที่และอำนาจ ในการสั่งและปฏิบัติราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงยุติธรรมอันรวมไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตามคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ปรากฎเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 มีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 2 หยุดปฏิบัติหน้าที่ รมว.ยุติธรรมเฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.2568 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย