เคาะ 25 บจ.เด็ด เน้นเล่นสั้น-รออ่อนตัวซื้อSET พักฐาน จับตาแผนช่วยเหลือ SMEs

นักวิเคราะห์มองดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหรือเข้าสู่การพักฐานก่อนปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ การลงทุนเน้นเก็งกำไรระสั้นในกลุ่มที่มีเทคนิคเชิงบวก, รอซื้อเมื่ออ่อนตัวในกลุ่มที่ได้รับผลดีจากการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฯ หรือเลือกลงทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์รายงาน เช้านี้ ณ เวลา 9.12 น. ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องอยู่ที่ 36.17 บาทต่อเหรียญ ขณะที่วานนี้อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ด้านตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของตลาดหุ้นญี่ปุ่น ขณะที่นักลงทุนกำลังจับตาดูข้อมูลการค้าต่างประเทศเดือนส.ค.ของจีน ที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ส่วนปัจจัยในประเทศวันนี้ติดตามผลการประชุม ครม. เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ SMEs 

นักวิเคราะห์มองดัชนีหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหรือเข้าสู่การพักฐานก่อนปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ การลงทุนเน้นเก็งกำไรระสั้นในกลุ่มที่มีเทคนิคเชิงบวก, รอซื้อเมื่ออ่อนตัวในกลุ่มที่ได้รับผลดีจากการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฯ หรือเลือกลงทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว หุ้นเด่นเลือก BCP-BMCL-IFEC-WHA-CK-STEC-SEAFCO-SCC-KTB-CPALL-KTC-KCE-DELTA-SVI-SOLAR-TAKUNI-TRC-UNIQ-TASCO-VNG-CENTEL-AAV-BA-UPA และ NDR

 

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ (8 ก.ย.) คงมุมมองต่อการลงทุนเป็น “กลางถึงบวก” วันที่ 6 พร้อมประเมินกรอบแกว่งของ SET INDEX ระหว่าง 1,360-1,380 จุด แม้หุ้นหลักในกลุ่มธนาคารจะขึ้นเครื่องหมาย XD แต่มีผลกระทบเพียง 0.93 จุดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม มูลค่าการซื้อขายที่กลับมาเบาบางต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท/วันอีกครั้ง กลายเป็นจุดสะท้อนความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศอีกครั้ง ทั้งนี้ เชื่อว่านักลงทุนต่างรอดูผลการประชุมเฟดในปลายสัปดาห์หน้า (16-17 ก.ย) ว่าจะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามที่ตลาดประเมินไว้หรือไม่ ด้าน IMF เตือนเฟดเป็นครั้งที่ 2 ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นควรพิจารณาถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ เพื่อให้แน่ใจว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายที่เฟดประเมินไว้ สำหรับ IMF ประเมินว่าเฟดควรยืดเวลาการพิจารณาออกไปเป็นต้นปีหน้า

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปิดโอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนัดนี้ เพราะแรงกดดันด้านการเมืองน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ นอกเหนือจากความพร้อมของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากเฟดเลือกที่จะลดแรงกดดันทางการเมืองด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ น่าจะทำให้บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมามีความชัดเจน ทรงถึงฟื้นตัว หลังตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมาของเฟด เราเชื่อว่าเฟดจะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เพียงครั้งเดียว ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาแข็งค่าในอัตราเร่ง กดดันภาคการส่งออก การจ้างงาน ผลผลิตภาคอุตฯ จนกลายเป็นข้ออ้างให้เฟด ต้องกลับมาผ่อนคลายนโยบายการเงินอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ปัจจัยสำคัญวันนี้ ให้น้ำหนักกับผลการประชุมครม. เพื่อพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือ SMEs ที่รมว.คลัง และทีมเศรษฐกิจ เสนอต่อครม.พิจารณาและอนุมัติ โดยเชื่อว่ากลุ่มธนาคารจะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากนโยบายดังกล่าว ช่วยปิด downside risk ให้แก่ตลาดหุ้นไทยโดยรวม

อีกทั้งความตึงเครียดในซีเรีย จนทำให้ประชาชนต้องอพยพลี้ภัยสงครามเข้ามายังยุโรป มากขึ้นเป็นลำดับ เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะมีความเกี่ยวโยงกับซาอุดิอาราเบีย อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงนี้ แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบางอยู่มากก็ตาม   

กลยุทธ์การลงทุนแนะนำ “นักลงทุนที่ต้องการเก็งกำไรรอบสั้น ควรหาจังหวะซื้อเมื่ออ่อนตัว และอาจพิจารณาซื้อหุ้นเป้าหมายมากขึ้น บริเวณ 1,350 จุด +/-”

Top Pick in Q3/15: BCP/BMCL/IFEC/WHA

Accumulative Buy: KTB

 

บล.ธนชาต ระบุในบทวิเคราะห์ (8 ก.ย.) ว่า SET สร้างฐานเพื่อปรับสูงขึ้นต่อระยะสัปดาห์ ด้วยเป้าหมาย 1,380/1,408 จุดจาก 1) มาตรการกระตุ้นเศษฐกิจเพิ่มเติมในช่วง 1-2 เดือนนี้ โดยวันนี้จะมีการนำเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เข้า ครม. และ 2) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความต่อเนื่อง หลังเลือกตั้งล่าช้าไปเป็นปี 2017

ทั้งนี้ ให้น้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่ม Infrastructure และ Consumption Plays ที่ได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล และ “ซื้อ” กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับผลดีจากค่าเงินบาทอ่อน

1) Infrastructure Plays “ซื้อ” CK STEC (รับความเสี่ยงได้ แนะนำ STEC16C1604A ด้วยเป้าหมาย 0.98-1.00 บาท หรือมี Upside 15% อิงแนวต้าน STEC ที่ 26.75-27.0 บาท) SEAFCO, SCC และ KTB

2) Consumption Plays “ซื้อ” CPALL และ KTC

3) Electronic “ซื้อ” KCE, DELTA และ SVI (เงินบาทอ่อนมาที่ 36.1 แล้ว)

 

บล.แอพเพิล เวลธ์ ระบุในบทวิเคราะห์ (8 ก.ย.) ว่า วานนี้ตลาดได้รับแรงกดดันเล็กน้อยหลังจาก สปช. ไม่ผ่านร่าง รธน. ส่งผลให้การเลือกตั้งต้องล่าช้าไปถึงกลางปี 2560  ขณะที่ค่าเงินบาทเช้านี้ยังอ่อนค่าอยู่ที่ระดับ 36.15 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย และตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนปรับฐานลง

แนะนำให้ติดตามแผนช่วยเหลือ SME โดยเป็นมาตรการปล่อยกู้ Soft loan ผ่านธนาคารพาณิชย์ และมาตรการปรับภาษี จาก 15 % เหลือน 10 % รวมถึงยกเว้นภาษีสำหรับนิติบุคคล SME รายใหม่ 5 ปี ซึ่งจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากฟื้นตัว และเพิ่มกำลังซื้อผู้บริโภคในอนาคต ส่วนมาตรการปล่อยกู้กองทุนหมู่บ้านจะเร่งปล่อยกู้ให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำเทรดดิ้งระยะสั้นตามกรอบ 1,360-1,380 จุด แนะนำเก็งกำไรระยะสั้นหุ้นที่มีโมเมนตัมบวกทางเทคนิค เช่น SOLAR และ TAKUNI

 

บล.ไอร่า ระบุในบทวิเคราะห์ (8 ก.ย.) คาดทิศทางตลาดมีโอกาสปรับขึ้น ภายใต้ปัจจัยในประเทศโดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ซึ่งครั้งนี้เน้นกลุ่มธุรกิจ SME และจะนำเข้าครม. ในวันนี้ คาดเป็นSentiment บวกต่อภาพรวมตลาดฯ ในระยะสั้น-กลาง โดยมาตรการช่วงแรก เป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น และให้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อให้ SMEs มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอาจเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากยังมีปัจจัยลบจาก 1) Fund Flow ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง อีกเกือบ 2,000 ล้านบาท และทำให้ตั้งแต่ต้นปียอดขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นสูงกว่า 91,000 ล้านบาท 2) ประเด็นทางการเมือง หลัง สปช. มีมติไม่รับร่าง รธน. ทำให้ต้องมีการร่าง รธน. ใหม่ ในระยะเวลา 180 วัน (ประมาณ มีค.59) คาดส่งผลให้การเลือกตั้งที่คาดเกิดขึ้นในปี 59 (ตาม Road Map) ต้องเลื่อนออกไปคาดเป็นปี 60

และ 3) ความผันผวนของราคาน้ามัน ซึ่งมีผล +/- ต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ส่วนปัจจัยต่างประเทศ คาดอยู่ระหว่างรอการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า ว่าจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ หรือจะชะลอเวลาออกไป หลังตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ล่าสุด แสดงให้เห็นถึงภาพรวมที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงาน

นอกจากนี้ คาดภาพรวมยังมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ที่เป็นคู่ค้า อย่างไรก็ตาม จีนพยายามฟื้นฟูความเชื่อมั่น เพิ่มสภาพคล่อง รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการผ่อนคลาย ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ลดสัดส่วนการกันสารองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) และอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ

ขณะที่ยังแนะติดตาม 1) หุ้นกลุ่มโรงกลั่น เช่น IRPC, PTTGC, TOP และ BCP จะได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากสต็อกน้ามันในไตรมาส 3/58 แต่มองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นในช่วงที่ราคาอ่อนตัวสาหรับการลงทุนในระยะยาวกลาง-ยาว ขณะที่ในระยะสั้นคาดอาจมีแรงเก็งกำไรค่าการกลั่น ที่ล่าสุดอยู่ที่ ประมาณ 7-7.5 USD/Barrel หลังก่อนหน้าเคลื่อนไหว 5-6 USD/Barrel

2) กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่คาดยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการภาครัฐ เช่น CK, STEC, TRC และ UNIQ 3) ค่าเงินบาท ภาพรวมยังมีทิศทางอ่อนค่า โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 36.20-36.22 คาดเป็น Sentiment ที่ดีต่อกลุ่มส่งออก 4) กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น TASCO และ VNG เป็นต้น และ 5) กลุ่มโรงแรม (CENTEL) และหุ้นกลุ่มสายการบิน (เช่น AAV, BA) หลังสถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มทรงตัว และคาดดีขึ้นตามลาดับ

 

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (8 ก.ย.) คาดการณ์มุมมองทางเทคนิค SET เมื่อวันก่อนทรงตัวและดีดตัวใกล้ 1,360 จุดโดยไต่ระดับ MA10 ซึ่งยังแสดงภาพของการเป็นแนวโน้มขึ้นระยะสั้นได้อยู่ ขณะที่ MACD อยู่ที่ -8.25 ซึ่งลบลดลงและเหนือ signal line แสดงให้เห็นว่าภาพระยะสั้นยังแสดงภาพขาขึ้นต่อเนื่อง โดยรูป candlesticks ที่เกิดขึ้น 7 วันล่าสุด แสดงรูปแบบการมีโอกาสผ่าน 1,386 และ 1,390 จุดได้ไม่ยาก

แนวโน้มของตลาดจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 1,360-1,386

หุ้นที่เลือกวันนี้มีโอกาสปรับขึ้น แนะนำซื้อเก็งกำไร UPA และ NDR

Back to top button