PTTGC รายได้ลด กดกำไรไตรมาส 1/62 รูด 48% มาที่ 6.44 พันลบ.

PTTGC รายได้ลด กดกำไรไตรมาส 1/62 รูด 48% มาที่ 6.44 พันลบ. จากปีก่อนกำไร 1.24 หมื่นลบ.


บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/62 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 62 มีกำไรสุทธิดังนี้

โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าว มีผลกำไรลดลง เนื่องจากบริษัทฯมีรายได้จากการขาย 112,783 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 7% จากไตรมาส 1/61 โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาส 1/61 ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์โดยรวมปรับลดลงไปในทิศทางเดียวกัน

อีกทั้ง สถานการณ์ของตลาดโพลีเอทิลีนในไตรมาส 1/62 ราคาเม็ดพลาสติก HDPE เฉลี่ยอยู่ที่ 1,093 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 1/61 เท่ากับ 21% ขณะที่ราคาเม็ดพลาสติก LLDPE และ LDPE ก็มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน โดยได้รับแรงกดดันต่อเนื่องจากประเด็นทางด้านสงครามการค้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงและยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้ รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มีแรงกดดันทางด้านราคาผลิตภัณฑ์

ขณะที่สถานการณ์ราคา MEG (ACP) ในไตรมาส 1/62 ราคาผลิตภัณฑ์ได้ปรับตัวลดลง 27% จากไตรมาส 1/61 โดยแม้ความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ (Polyester) และอุตสาหกรรมขวดพลาสติกใส (PET) ที่ยังคงอยู่ในระดับที่ดีและมีการใช้อัตรากำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง แต่จากการคาดการณ์กำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาในปีนี้ ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังในประเทศจีนที่อยู่ในระดับสูง แต่จากการคาดการณ์กำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาในปีนี้ ประกอบกับระดับสินค้าคงคลังในประเทศจีนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงตลาดยังคงมีความกังวลจากปัจจัยสงครามการค้า ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์มีการอ่อนตัว

โดยในไตรมาส 1/62 โรงโอเลฟินส์มีอัตราการใช้กำลีงการผลิตรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 101% คงที่เทียบกับไตรมาส 1/61 ขณะที่ผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีน มีการใช้กำลังการผลิต 100% ลดลงจากไตรมาส 1/61 ที่ 105% ขณะที่ผลิตภัณฑ์ MEG มีการใช้กำลังการผลิตที่ 69% ลดลงจากไตรมาส 1/61 เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการปิดซ่อมบำรุงตามแผน

ขณะที่สถานการณ์ราคาของผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนมีการปรับตัวลดลงจสกผลกระทบจากสถานการณ์การเจรจาการค้าระหว่างประเทศสหรัฐฯและประเทศจีนที่ยังไม่มีข้อสรุปและส่งผลต่อความกังวลของสภาพเศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อการบริโภคในอนาคต ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนและ MEG ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 1/61

อย่างไรก็ดี ผลจากการที่ไม่มีการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงงานโพลีเอทิลีนในไตรมาสนี้และการรับรู้กำลังการผลิตเต็มไตรมาสของโรงงาน LLDPE แห่งที่ 2 ในปีนี้ ส่งผลให้การขายของผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนเพิ่มขึ้นและช่วยลดผลกระทบราคาผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ธุรกิจเอทิลีนออกไซด์มีผลประกอบการที่ปรับลดลงจากปริมาณการขายและส่วนต่างผลิตภัณฑ์โมโนเอทิลีนไกลคอล (MEG) ที่ปรับลดลง

ทั้งนี้ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง มี Adjusted EBITDA 5,389 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากไตรมาส 1/61 หรือ 49% คิดเป็น Adjusted EBITDA Margin อยู่ที่ 18% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ในไตรมาสนี้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบนำเข้าอยู่ที่ 86% และแนฟทา 14% โดยปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติที่ปรับลดลงในไตรมาสนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลกระทบในช่วงต้นปีที่มีการลดกำลังการผลิตก๊าซในอ่าวไทยเนื่องจากผลกระทบของพายุโซนร้อนปาบึกและการปิดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงแยกก๊าซ

 

Back to top button