TU คว้าเงินกู้ Blue Loan “เอดีบี” 5 พันล้าน หนุนเพาะเลี้ยงกุ้งเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

TU คว้าเงินกู้ Blue Loan จาก ADB มูลค่า 5 พันล้าน หนุนเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนในประเทศ และยกระดับห่วงโซ่อาหารทะเลของไทยให้ได้มาตรฐานระดับสากล


นายยงยุทธ เสฏฐวิวรรธน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการบริหารการเงินกลุ่มและศูนย์บริการร่วมทางการเงิน, นายลูโดวิค การ์นิเยร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการเงิน, นายอดัม เบรนนั้น ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU พร้อมด้วย นายอานุช เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี), Martin Lemoine Principal Investment Specialist and Unit Head, Agribusiness ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจาก 6 ธนาคารพันธมิตร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศจีน, ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC), ธนาคารเอ็มยูเอฟจี จำกัด (MUFG), ธนาคาร OCBCBC, ธนาคารซูโดโม มิตซุย แบงทิ้ง คอร์ปอเรชั่น (SMBC) และธนาคารยูไนเด็ด โอเวอร์ซีส์ (UOB) เปิดตัวความร่วมมือทางการเงินครั้งประวัติศาสตร์ผ่านการออก Blue Loan” หรือเงินกู้สีน้ำเงินครั้งแรกในประเทศไทย วงเงินรวม 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 5,000 ล้านบาท ให้แก่ไทยยูเนี่ยน เพื่อส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนในประเทศ และยกระดับห่วงโซ่อาหารทะเลของไทยให้ได้มาตรฐานระดับสากล

สำหรับ Blue Loan ครั้งนี้ นับเป็นกลไกทางการเงินสำคัญที่ส่งเสริมการเงินที่คำนึงถึงธรรมชาติ (Nature-Related Financing) โดยเงินทุนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายของไทยยูเนี่ยนในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลกในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนเงินทุนเพื่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ Blue Finance จึงกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนระดับโลก และวงเงินกู้ในครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเครื่องมือทางการเงิน แต่ยังเป็นต้นแบบของการใช้ทุนขับเคลื่อนระบบอาหารทะเลอย่างยั่งยืน

ภายใต้โครงการนี้ ไทยยูเนี่ยนได้นำกรอบการดำเนินงาน Blue and Green Finance Framework ซึ่งอ้างอิง taxonomy ของไทยและอาเซียน มาใช้กำหนดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคธุรกิจ ภาคการเงิน และภาครัฐ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดัน Nature-Related Financing ให้เกิดเป็นแนวทางกระแสหลัก ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการอนุรักษ์ เช่น การปกป้องพื้นที่ธรรมชาติ 30% ของโลกภายในปี 2573

โดยประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการแปรรูปอาหารทะเลระดับโลก โดยมีอาหารทะเลคิดเป็น 20% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด การลงทุนครั้งนี้จึงถือเป็นการวางรากฐานทางการเงินเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืน 100% ภายในปี 2573 ซึ่งไทยยูเนี่ยนวางแผนขยายไปถึงห่วงโซ่อุปทาน เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพันธมิตรในการลดคาร์บอน และส่งเสริมการประมงที่ยั่งยืน

นายลูโดวิค การ์นิเย่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงินของไทยยูเนี่ยน ระบุว่า การร่วมมือกับ ADB ตอกย้ำบทบาทผู้นำของบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างยั่งยืน และสะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริม Blue Economy ของไทยให้เติบโตต่อเนื่อง พร้อมยกระดับมาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลของ GSSI เช่น ASC, BAP และ AIPs

ด้านนายอานุช เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทน ADB กล่าวว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ผลผลิตอาหารทะเลมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก โดยมีเอเชียเป็นแหล่งหลัก รวมถึงประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมศักยภาพการผลิตให้ตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ภายในงานเปิดตัวความร่วมมือครั้งนี้ ยังมีการจัดเสวนากับพันธมิตรทางการเงิน 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศจีน, HSBC, MUFG, OCBC, SMBC และ UOB เพื่อหารือแนวทางผลักดัน Blue Finance Solutions สู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง

นายอดัม เบรนนัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนและการสื่อสารของไทยยูเนี่ยน กล่าวเพิ่มเติมว่า วงเงินสนับสนุนครั้งนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ไทยยูเนี่ยนบรรลุกลยุทธ์ SeaChange® 2030 และก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการจากทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ทั้งด้านความโปร่งใส นวัตกรรม และความยั่งยืนในระยะยาว

Back to top button