AU การขยายธุรกิจน่าสน

เป้าหมายใหม่ในส่วนของการขยายสาขาของ AU ช่วงปี 2561 มีเป้าประมาณ 10 สาขา ซึ่งมีการขยายสาขาของบริษัทล่าสุดยังคงเป็นไปตามแผน เพราะเพิ่งเปิดตัวสาขาใหม่ที่สนามบินดอนเมือง และกำลังจะเปิดอีกสาขาที่ Central World ในช่วงไตรมาส 1 นี้


คุณค่าบริษัท

เป้าหมายใหม่ในส่วนของการขยายสาขาของ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU ช่วงปี 2561 มีเป้าประมาณ 10 สาขา ซึ่งมีการขยายสาขาของบริษัทล่าสุดยังคงเป็นไปตามแผน เพราะเพิ่งเปิดตัวสาขาใหม่ที่สนามบินดอนเมือง และกำลังจะเปิดอีกสาขาที่ Central World ในช่วงไตรมาส 1 นี้

ส่วนในไตรมาส 2 ปี 2561 มีกำหนดเปิดให้บริการสาขาใหม่ 3 สาขา ได้แก่ อุดรธานี, เชียงใหม่ และเซ็นทรัลพระราม 2 ขณะที่ในไตรมาส 3 ปี 2561 มีกำหนดเปิดอีก 2 สาขา อยู่ที่ภูเก็ต และกรุงเทพฯ และช่วงไตรมาส 4 ปี 2561 มีกำหนดเปิดอีก 2 สาขา อยู่ที่พัทยา และสุขุมวิท เป็นต้น

นอกจากนี้ทางบริษัทมีสุดยอดเมนูสร้างสรรค์และพัฒนาร้านขนมหวาน โดยบริษัทเพิ่งเปิดตัวเมนูพิเศษประจำเดือน ก.พ. ได้แก่ Kiss Kiss Nom Yen Kakigori  และไอศครีมรส strawberry biscuit  เมนูยอดฮิตตามฤดูกาล Mango Sticky Rice Kakigori  และ Mayongchid Frappe  ก็จะกลับมาขายอีกครั้งในไตรมาส 2/2561

รวมถึงบริษัทได้มีการพัฒนาขนมแบบ Ready-to-bite (เช่น คุ้กกี้ และขนมอื่นๆ) และจะวางขายในร้านเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ AU กำลังจะเปิดร้านในรูปแบบ takeaway แห่งแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ในไตรมาส 1 ปี 2561 ซึ่งจะช่วยขยายรายได้ ในขณะที่มีต้นทุนจำพวกค่าเช่าที่และพนักงานค่อนข้างต่ำ และยังสามารถให้บริการได้เร็วขึ้น

ที่สำคัญบริษัทมีกระแสตอบรับเชิงบวกจากการ Co-brand กับ Starbucks  (ล่าสุด 2 สาขา) ส่งผลให้ AU จะขยายไปอีก 8 สาขาในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทก็กำลังอยู่ในระหว่างการทำ Co-branding กับอีกหนึ่งบริษัทซึ่งคาดว่าอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารเช่นกัน ทั้งนี้กลยุทธ์ Co-branding จะช่วยหนุนรายได้ของ AU โดยที่ไม่ต้องเพิ่มค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรซึ่งจะช่วยลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายลงได้ (คาดสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายของ AU ปี 2560 อยู่ที่ 43%)

นอกจากนี้บริษัทกำลังมองหาพาร์ตเนอร์ใหม่ในประเทศมาเลเซีย, ฮ่องกง และสิงคโปร์ เราเชื่อว่าด้วยสภาพตลาดที่เอื้ออำนวยน่าจะทำให้มาเลเซียเป็นเป้าหมายแรกสำหรับสาขา After You ในต่างประเทศ AU มีแนวโน้มว่าจะขยายสาขาด้วยการทำแฟรนไชส์มากกว่าการ Joint ventures (JV) เนื่องจากความเสี่ยงทางด้านการเงินต่ำกว่า และยังใช้เงินลงทุนค่อนข้างน้อย บริษัทวางเป้าหมายว่าจะเปิดสาขาในต่างประเทศแห่งแรกไม่เกินช่วงครึ่งแรกของปี 2562 แต่เชื่อว่าอาจจะเป็นในปลายปีนี้ ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่เราคาดก็จะถือเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรของเราสำหรับปีนี้อีกด้วย

ดังนั้นจากการขยายสาขาแบบเดิมและกลยุทธ์ใหม่ซึ่งจะเป็นอัพไซด์ต่อประมาณการกำไร ทำให้นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวงได้มีการปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้นสำหรับปี 2561 ทำให้ตัวกำไรหลักของบริษัทเติบโตก้าวกระโดด 35%

ประกอบกับปัจจุบัน AU ซื้อขายที่ PEG 1.7 เท่า สำหรับปี 2561 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 2 เท่า จึงปรับเพิ่มคำแนะนำ จาก “ถือ” เป็น “ซื้อเก็งกำไร” ด้วยราคาเป้าหมายใหม่ที่ 15 บาท (อ้างอิงจาก PEG ที่ 2 เท่า) เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ 12.5 บาท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  1. น.ส.กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ 253,750,000 หุ้น 35.00%
  2. นายแม่ทัพ ต.สุวรรณ 213,150,000 หุ้น 29.40%
  3. THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED 36,200,000 หุ้น 4.99%
  4. นายพฤษภ์ กนกวัฒนาวรรณ 17,568,800 หุ้น 2.42%
  5. น.ส.กนิษฐะ วิริยา ต.สุวรรณ 15,225,000 หุ้น 2.10%

รายชื่อกรรมการ

  1. นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ
  2. นายปรีย์มน ปิ่นสกุล กรรมการอิสระ
  3. นายปรีย์มน ปิ่นสกุล กรรมการตรวจสอบ
  4. นายวิวัฒน์ กนกวัฒนาวรรณ รองประธานกรรมการ
  5. นายแม่ทัพ ต.สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ

Back to top button